Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65301
Title: การประเมินความคิดรวบยอดวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้แผนผังมโนทัศน์
Other Titles: An assessment of conceptual knowledge in sciences by using concept mapping
Authors: วิยะดา ระวังสุข
Advisors: ศิริเดช สุชีวะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Siridej.S@Chula.ac.th
Subjects: ความคิดรวบยอด
แผนผังมโนทัศน์
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Concepts
Concept mapping
Science -- Study and teaching
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบประเมินความคิดรวบยอดวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้แผนผังมโนทัศน์ 2) ศึกษาคุณภาพของแบบประเมินความคิดรวบยอดวิชาวิทยาศาสตร์ ดังนี้ 2.1) ศึกษาคุณภาพของแผนผังมโนทัศน์แบบเติมคำลงในผัง ด้านความเที่ยงแบบสดอคล้องภายใน โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 2.2) เปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงของคะแนนแผนผังมโนทัศน์แบบสร้างผังจากคำ เมื่อตรวจให้คะแนนต่างประเภทกัน 2.3) ศึกษาความตรงตามสภาพโดยพิจารณาจากความสอดคล้องระหว่างผลการประเมินโดยใช้แผนผังมโนทัศน์กับผลการวินิจฉัยนักเรียนเป็นรายบุคคลโดยครูผู้สอน 3) ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำแผนผังมโนทัศน์ไปใช้ในการประเมิน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดลำนาว จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2545 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนผังมโนทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการห่าค่าสถิติพื้นฐาน ประมาณค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป GENOVA และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบประเมินความคิดรวบยอดที่พัฒนาขึ้น เป็นแผนผังมโนทัศน์แบบเติมคำลงในผังและแผนผังมโนทัศแบบสร้างผังจากคำ โดยมีเนื้อหาวิทยาศาสตร์ 2 สาระ คือสาระที่ 1 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก และสาระที่ 2 ดาราศาสตร์และอวกาศ 2. คุณภาพของแผนผังมโนทัศน์ที่พัฒนาขึ้น พบว่า 2.1 แผนผังมโนทัศน์แบบเติมคำลงในผังในสาระที่ 1 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก และสารที่ 2 ดาราศาสตร์และอวกาศ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .46 และ .76 ตามลำดับ 2.2 เมื่อเปรียบเทียบประเภทของการให้คะแนน 3 แบบ พบว่ากตรวจให้คะแนนแบบ convergence score มีค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสูงสุด 2.3 ความตรงตามสภาพของผลที่ได้จาแผนผังมโนทัศน์กับผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนโดยครูผู้สอน พบว่าแผนผังมโนทัศน์แบบสร้างผังจากคำ มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .72-.92 ส่วนแผนผังมโนทัศน์แบบเติมคำลงในผัง มีค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .40-.68 3. จากการสัมภาษณ์ครูและนักเรียน พบว่าแผนผังมโนทัศน์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประเมินในชั้นเรียน
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to develop concept mapping assessment in sciences 2) to study the quality of concept mapping assessment: 2.1) to check reliability of the fill-in-the-map thru internal consistency by alpha coefficient 2.2) to compare generalizability coefficient from 3 types of scoring in the construct-a-map 2.3) to study concurrent validity with teacher’s diagnosis. 3) to study practicality applied to classroom assessment. The sample were 38 of pratom suksa four students of Watlumnow school at Nakorn Si Thammarat province in academic year 2002. The research instruments were concept mappings. The data were analyzed by basic statistics, generalizability coefficient using GENOVA program and content analysis. The major findings of this research were as follows 1. An assessment was developed into two concept mappings: “fill-in-the-map” and “construct-a-map” for the content of “Earth Changing Process” and “Astronomy and Space.” 2. The quality of concept mappings were as follows 2.1 The alpha for the fill-in-the-map for the content of “Earth Changing Process” and “Astronomy and Space” was .46 and .76 respectively. 2.2 The highest generalizability coefficient was found for the convergence score. 2.3 The concurrent validity of concept mapping assessment considering with teacher’s diagnosis, the construct-a-map were ranged from .72 to .92 and the fill-in-the-map were ranged from .40 to .68. 3. From interviewing with teacher and students, it was found concept mappings were practicable in classroom assessment.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65301
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.725
ISSN: 9741728018
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.725
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wiyada_ra_front.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ311.46 kBAdobe PDFView/Open
Wiyada_ra_ch1.pdfบทที่ 1346 kBAdobe PDFView/Open
Wiyada_ra_ch2.pdfบทที่ 21.47 MBAdobe PDFView/Open
Wiyada_ra_ch3.pdfบทที่ 3858.43 kBAdobe PDFView/Open
Wiyada_ra_ch4.pdfบทที่ 41.05 MBAdobe PDFView/Open
Wiyada_ra_ch5.pdfบทที่ 5502.88 kBAdobe PDFView/Open
Wiyada_ra_back.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก3.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.