Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65517
Title: ข้อตกลงในสัญญาจำนอง : พิจารณาตามกฎหมายว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
Other Titles: Contract terms in mortgage agreement : some consideration under unfair contract law
Authors: ดุษฎี จันทรปรีดา
Advisors: ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
จรัญ ภักดีธนากุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Paitoonlaw@hotmail.com
ไม่มีข้อมูล
Subjects: กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- จำนอง
พระราชบัญญัติข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540
จำนอง
Civil and commercial law -- Mortgages
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาถึงข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่มีการจัดทำในปัจจุบันที่มักจะอยู่ในรูปแบบของสัญญาสำเร็จรูปหรือสัญญามาตรฐาน โดยเจ้าหนี้ผู้รับจำนองเป็นฝ่ายที่มีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจมากกว่าอาศัยหลักเสรีภาพในการทำสัญญาหรือหลักความศักดิ์สิทธิแห่งการแสดงเจตนากำหนดข้อตกลงไว้ล่วงหน้าเพื่อใช้บังคับกับลูกหนี้หรือผู้รับจำนองเป็นฝ่ายที่มีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจน้อยกว่า ในลักษณะเอาเปรียบหรือเอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายเจ้าหนี้ผู้รับจำนอง จากผลการศึกษาพบว่ามีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองหลายประการเป็นปัญหาควรพิจารณาว่าข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นข้อตกลงที่ไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ได้แก่ ข้อตกลงใน สัญญาจะจำนอง ข้อตกลงที่ผู้จำนองโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองเพื่อการชำระหนี้ ข้อตกลงห้ามชำระหนี้ล้างจำนองเป็นงวดๆ ข้อตกลงเกี่ยวกับการคิดดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยและการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกรณีลูกหนี้ผิดนัด รวมทั้ง กระบวนการบอกกล่าวเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยและหนี้ที่ต้องชำระ และข้อตกลงยกเว้นบทบัญญัติของกฎหมายมาตรา 733 แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2541 และขณะนี้ยังไม่มีประเด็นแห่งคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาที่พอจะนำมาศึกษาเทียบเคียงได้ ผู้เขียนจึงได้ศึกษาเปรยบเทียบกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะว่า ในกรณีที่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นภาระเกินกว่าที่ลูกหนี้คาดหมายได้ตามปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องข้อตกลงที่ผู้จำนองโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองเพื่อชำระหนี้เมื่อถึงกำหนดชำระ อันเป็นข้อตกลงที่ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์'มาตรา 711 ประเด็นการคิดราคาของทรัพย์จำนองว่าควรมีราคามากน้อยเท่าใด แม้จะนำบทบัญญัติมาตรา 655 วรรคสอง มาเทียบเคียงก็ตามแต่ผู้เขียนมีความเห็นว่าหากมีกรณีพิพาทขึ้นสู่ศาล ศาลควรที่จะต้องนำพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาใช้บังคับอย่างเคร่งครัดเพื่อให้บังเกิดผลสมดังเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว
Other Abstract: This purpose of this thesis is to study contract terms in a mortgage agreement, which nowadays are readymade, or in a standard form, where the bargaining power economically lies solely on the mortgagee creditors more than the freedom of contract principle. The mortgagor has less economic bargaining power, hence is taken advantage. The study found that many contract terms of said mortgage agreement should be considered whether they are unfair contract terms under the Unfair Contract Terms Act B.E. 2540. Some of those terms are terms in agreement to mortgage, terms that the mortgagor transfers the mortgaged assets to settle debts, terms not allowing for installation of repayment, terms on interest computation, rates, and default interest, including procedure to notice interest rate and debts payable, and terms exemption of Section 733. Since the Unfair Contract Terms Act B.E. 2540 is effective on November 14, 2541. Hence, there is no supreme court decision for this study. This study therefore comparatively studies foreign laws such as laws of England, United States of America, and France. The study suggests that where there are terms in burden to the debtors more than it can be normally expected, specifically terms allowing the mortgagor to transfer the mortgaged assets to settle the debts when due, the terms of which is not prohibited under Section 711 of the Civil and Commercial Code, what should be the value of the mortgaged assets, even with the analogy of second paragraph of Section 655, the court, when there is case, should bring the Unfair Contract Terms Act B.E. 2540 to strictly enforce with those terms to suit the purpose of the said Act.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65517
ISBN: 9741751125
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Dusadee_ju_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ792.09 kBAdobe PDFView/Open
Dusadee_ju_ch1_p.pdfบทที่ 1759.87 kBAdobe PDFView/Open
Dusadee_ju_ch2_p.pdfบทที่ 22.66 MBAdobe PDFView/Open
Dusadee_ju_ch3_p.pdfบทที่ 31.72 MBAdobe PDFView/Open
Dusadee_ju_ch4_p.pdfบทที่ 42.24 MBAdobe PDFView/Open
Dusadee_ju_ch5_p.pdfบทที่ 52.14 MBAdobe PDFView/Open
Dusadee_ju_ch6_p.pdfบทที่ 6896.33 kBAdobe PDFView/Open
Dusadee_ju_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.