Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65658
Title: การนำเสนอระบบการจัดการความรู้สำหรับองค์กรภาคเอกชน
Other Titles: A proposed knowledge management systems for private sector
Authors: กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Subjects: การบริหารองค์ความรู้
การเรียนรู้องค์การ
บริษัทเอกชน
Knowledge management
Organizational learning
Private companies
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการขององค์กรเอกชนเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์กรเอกชน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ การกำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การเก็บและสืบค้นความรู้ การถ่ายโอนและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรเอกชน และ 3) เพื่อนำเสนอระบบการจัดการความรู้สำหรับองค์กรเอกชน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย นักพัฒนาทรัพยากรบุคคล และนักพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 60 คน และผู้บริหารงานทรัพยากรบุคคล และงานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 21 ผลการวิจัยพบว่า 1. ระบบการจัดการความรู้สำหรับองค์กรภาคเอกชนประกอบด้วย 8องค์ประกอบคือ 1) ผู้นำ/ผู้บริหาร องค์กร 2) วิสัยทัศน์การจัดการความรู้ 3) พันธกิจการจัดการความรู้ 4) นโยบายการจัดการความรู้ 5) เป้าหมายการจัดการ ความรู้ 6) เทคโนโลยี 7) บุคลากรที่ใช้ความรู้ และ8) ทีมผู้ชำนาญการ 2. ระบบการจัดการความรู้สำหรับองค์กรเอกชนมี 5 ขั้นตอน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย ดังนี้ ขั้นที่ 1 การกำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้มี 5 ขั้นตอนย่อย: กำหนดนโยบายในสิ่งที่องค์กรต้องเรียนรู้, ประกาศนโยบายและประชาสัมพันธ์, หาความต้องการในเรื่องที่จะเรียนรู้รองพนักงาน, ทีมผู้ชำนาญการและนักวิเคราะห์ความรู้ พิจารณาความเหมาะสม และประกาศและประชาสัมพันธ์ความรู้ที่ต้องเรียนรู้ ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้มี 7 ขั้นตอนย่อย: กำหนดนโยบายในการแสวงหาความรู้, ประกาศนโยบาย, กำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้, เตรียมทีมผู้ชำนาญการและบุคลากร, เตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศ/สื่อโสตทัศน์ ประเมินความพร้อม และแสวงหาความรู้จากช่องทางต่าง ๆ เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ขั้นที่ 3 การสร้างความรู้ในองค์กรมี 7 ขั้นตอนย่อย: กำหนดนโยบายในการสร้างความรู้และนวัตกรรมใหม่, ประกาศนโยบายและประชาสัมพันธ์, จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานใหม่, รวบรวมความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ทั่วทั้งองค์กร วิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้เดิมเข้ากับความรู้ใหม่, ทดลองใช้ความรู้ที่องค์กรสร้างขึ้น และประกาศองค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ ขั้นที่ 4 การจัดเก็บและสืบค้นความรู้ในองค์กรมี 9 ขั้นตอนย่อย: กำหนดนโยบายในการจัดเก็บและสืบค้นความรู้ในองค์กร. ประกาศนโยบายและประชาสัมพันธ์. กำหนดองค์ความรู้ที่จะนำมาจัดเก็บ, ทีมผู้ชำนาญการและนัก วิเคราะห์ความรู้ประเมินความรู้เดิมที่องค์กรมีอยู่, บูรณาการความรู้เดิมเข้ากับความรู้ใหม่, ทีมผู้ชำนาญการและนักวิเคราะห์ความรู้กลั่นกรอง ตรวจสอบ คัดเลือก ความรู้, เตรียมบุคลากรและเทคโนโลยีสารสนเทศ, จัดเก็บความรู้และ ปรับปรุง และพัฒนาองค์ความรู้ให้ใหม่อยู่เสมอ ขั้นที่ 5 การถ่ายโอน และการนำความรู้ไปใช้ มี 8 ขั้นตอนย่อย: กำหนดนโยบาย, ประกาศนโยบายและประชาสัมพันธ์, เตรียมทีมผู้ชำนาญการและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง, เตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อ โสตทัศน์, เลือกวิธีการที่จะถ่ายโอนความรู้, เปิดโอกาสให้พนักงานมีการถ่ายโอนและนำความรู้ไปใช้. ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานตามวาระ และเปิดโอกาสให้พนักงานถ่ายโอนและนำความรู้ไปใช้เพื่อประโยชน์ขององค์กร
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study the state, problems and needs of private sectors on knowledge management 2) to study the specialists's opinions on knowledge identification, knowledge acquisition, knowledge creation, knowledge storage and retrieval, knowledge transfer and utilization in private sectors, and 3) to propose the knowledge management systems for private sectors. The samples were sixty human resource developers and information technology systems personnel and twenty-one executives from human resource and information technology systems department. The research findings were as follows: 1. The knowledge management for private sectors consists of eight components: 1) administrators/executives, 2) knowledge management visions, 3) knowledge management missions, 4) knowledge management policies, 5) knowledge management goals, 6) technology, 7) knowledge workers, and 8) expert panel. 2. The knowledge management systems for private sectors consists of five main steps and substeps as follows: Step 1 : Knowledge Identification with five substeps: determine policies to manage organization’s knowledge, announce policies, assess what personnel need to learn, expert team and knowledge analyst consider the appropriateness of what need to be learned, and announce what organization needs to learn. Step 2: Knowledge Acquisition with seven substeps: determine policies to acquire knowledge, announce policies, identify learning outputs, prepare expert panel and related personnel, provide information technology/audio-visual media, assess readiness, and acquire knowledge from various resources. Step 3: Knowledge Creation with seven substeps: determine policies to create knowledge and innovation, announce policies, conduct activities for turning knowledge into creative product, collect knowledge within organization, analyse and synthesize old and new knowledge, try out new knowledge that organization creates, and announce new knowledge and innovation. Step 4: Knowledge storage and Retrieval with nine substeps: determine policies to store and retrieve organization's knowledge, announce policies, identify knowledge to be stored, expert panel and knowledge analyst assess old knowledge, integrate new knowledge with old knowledge, expert panel and knowledge analyst audit, check and select knowledge, provide personnel and information technology, store and update knowledge, and develop new knowledge. Step 5: Knowledge Transfer and utilization with eight substeps: determine policies, announce policies, provide expert panel and specialists, provide information technology and audio-visual media, select methods for knowledge transfer, provide opportunities for personnel to transfer and utilize knowledge into their work, assess performance according to schedule, and provide opportunities for prosorvnel to transfer and utilize knowledge for organization.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65658
ISSN: 9741754906
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kansuda_ma_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ813.98 kBAdobe PDFView/Open
Kansuda_ma_ch1_p.pdfบทที่ 1995.82 kBAdobe PDFView/Open
Kansuda_ma_ch2_p.pdfบทที่ 22.57 MBAdobe PDFView/Open
Kansuda_ma_ch3_p.pdfบทที่ 3862.24 kBAdobe PDFView/Open
Kansuda_ma_ch4_p.pdfบทที่ 41.5 MBAdobe PDFView/Open
Kansuda_ma_ch5_p.pdfบทที่ 51.53 MBAdobe PDFView/Open
Kansuda_ma_ch6_p.pdfบทที่ 6930.75 kBAdobe PDFView/Open
Kansuda_ma_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.