Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65668
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุมาพร ตรังคสมบัติ-
dc.contributor.authorมานิดา ธรรมตารีย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2020-05-03T18:30:20Z-
dc.date.available2020-05-03T18:30:20Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.issn9741710984-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65668-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมิวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติที่มิต่อเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสของนักเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การทำหน้าที่ของครอบครัว ระดับความนับถือตนเอง กับทัศนคติต่อเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษา 2544 ของโรงเรียนรัฐบาลสังกัดกรมสามัญศึกษากระทรวง ศึกษาธิการในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 1,825 คน โดยใช้แบบสอบถามดังต่อไปนี้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของนักเรียน, แบบประเมินการรับรู้เกี่ยวกับครอบครัว Chulalongkorn Family Inventory (CFI), แบบประเมินระดับความนับถือตนเองของคูเปอร์สมิธฉบับผู้ใหญ่ (Coopersmith Self- Esteem Inventory: Adult Form) และแบบประเมินทัศนคติต่อเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส สถิติที่ใช้คือ สถิติเชิงพรรณนา, t-test, f-test และ Pearson-Product Moment Coefficient Correlation วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จ รูป SPSS ผลการวิจัยเป็นดังนี้ นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 28.2) มีคะแนนทัศนคติต่อเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสอยู่ในระดับเสี่ยงมากที่สุด (คะแนนตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 0 ถึง 25) นักเรียนชายมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสต่ำกว่านักเรียนหญิง ซึ่งแสดงถึงทัศนคติที่เสี่ยงกว่า โดยคะแนนเฉลี่ยนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.01 นักเรียนที่มีระดับผลการเรียนตํ่ามีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติต่อเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสตํ่ากว่ากลุ่มที่มีระดับผลการเรียนสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.01 และการรับรู้การทำหน้าที่ของครอบครัวและระดับความนับถือตนเองมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับน้อยกว่า 0.01-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to survey the attitudes toward premarital sex of students and to investigate the relationship between the perception of family functioning, the level of self-esteem and the attitudes toward premarital sex of students. 1,825 high school students from government school had completed the questionnaires consisting of: The demographic data questionnaire, Chulalongkorn Family Inventory, Coopersmith Self-Esteem Inventory and The questionnaire about attitudes toward premarital sex. The results of the research were as follows. เท most students (28.2%) the scores of the attitudes toward premarital sex were within the highest risk level ( percentile 0 to 25). The mean score in male students was lower than in female, which reflected more risky attitudes. The difference was significant at p<0.01. Students with lower grades had lower mean score than those with higher grades (p<0.01). The perception of family functioning and the level of self-esteem were significantly correlated with the attitudes toward premarital sex (p<0.01).-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectวัยรุ่น -- พฤติกรรมทางเพศen_US
dc.subjectวัยรุ่น -- ทัศนคติen_US
dc.subjectความนับถือตนเองในวัยรุ่นen_US
dc.subjectเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสen_US
dc.subjectครอบครัวen_US
dc.subjectHigh school students -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectAdolescence -- Sexual behavioren_US
dc.subjectAdolescence -- Attitude (Psychology)en_US
dc.subjectSelf-esteem in adolescenceen_US
dc.subjectPremarital sexen_US
dc.subjectDomestic relationsen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับครอบครัว และระดับความนับถือตนเอง กับทัศนคติต่อเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe relationship between family perception, the level of self-esteem and attitudes toward premarital sex of high school students in Bangkok Metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorUmaporn.Tr@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manida_dh_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ799.98 kBAdobe PDFView/Open
Manida_dh_ch1_p.pdfบทที่ 1785.26 kBAdobe PDFView/Open
Manida_dh_ch2_p.pdfบทที่ 21.19 MBAdobe PDFView/Open
Manida_dh_ch3_p.pdfบทที่ 3807.79 kBAdobe PDFView/Open
Manida_dh_ch4_p.pdfบทที่ 4907.85 kBAdobe PDFView/Open
Manida_dh_ch5_p.pdfบทที่ 5849.8 kBAdobe PDFView/Open
Manida_dh_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก968.66 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.