Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66017
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรัตน์ บัวเลิศ-
dc.contributor.advisorทรรศนีย์ เจตน์วิทยาชาญ-
dc.contributor.authorไพลิน ใบผกา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-05-25T08:24:20Z-
dc.date.available2020-05-25T08:24:20Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741734255-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66017-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en_US
dc.description.abstractการศึกษาปริมาณของสารประกอบพอลิไชคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่ดูดซับบนอนุภาคแขวนลอย (pPAHs) ได้ดำเนินการที่บริเวณอาคารใกล้สถานีรถไฟฟ้า BTS ระหว่างวันที่ 23 กันยายน ถึง 6 ตุลาคม 2545 และพื้นที่เปรียบเทียบ ระหว่างวันที่ 6-19 มกราคม 2546 โดยเครื่อง Realtime PAH Monitor (PAS2000CE) จุดที่สามารถตรวจพบความเข้มข้นของ pPAHs สูงสุดในบริเวณอาคารใกล้สถานีรถไฟฟ้า BTS และพื้นที่เปรียบเทียบ คือ ภายนอกอาคารระดับพื้น โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 717.66 และ 80.80 นาโนกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามลำดับ ความเข้มข้นของ pPAHs ที่ตรวจวัดได้บริเวณภายนอกและภายในของอาคารที่ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กันมากกว่าที่ตรวจวัดบริเวณอาคารไนพื้นที่เปรียบเทียบ ทั้งนี้เป็นผลมาจากลักษณะโครงสร้างของพื้นที่แตกต่างกัน คือ โครงสร้างของสถานีรถไฟฟ้าที่จุดตรวจวัดส่งผลให้การแพร่กระจายของมลสารเกิดขึ้นในขอบเขตที่จำกัดมากกว่าบริเวณพื้นที่เปรียบเทียบ การเคลื่อนที่ของ pPAHs บริเวณอาคารที่ตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า พบว่า ในแนวระดับเดียวกัน ที่ระดับพื้นและระดับอาคารชั้นสาม สาร pPAHs จากภายนอกอาคารเคลื่อนที่และสะสมสู่ภายในอาคารใช้เวลาประมาณ 30 และ 20 นาที ตามลำดับ สำหรับการเคลื่อนที่ตามระดับความสูง พบว่า สาร pPAHs จากภายนอกอาคารระดับพื้นเคลื่อนที่และสะสมสู่ภายในอาคารชั้น 3 ใช้เวลาประมาณ 18 นาที ลักษณะการเคลื่อนที่ของ pPAHs ที่จุดตรวจวัดใต้สถานีรถไฟฟ้าจะปรากฎในทิศทางที่มาจากถนนเป็นหลัก เนื่องจากการเคลื่อนที่ของสารได้รับอิทธิพลจากการเคลื่อนตัวของยานพาหนะ จากการวิเคราะห์สมการถดถอยเพื่อคาดคะเนค่าความเข้มข้นเฉลี่ยหนึ่งชั่วโมงของ pPAHs ที่บริเวณอาคารใกล้สถานีรถไฟฟ้า พบว่า ปริมาณและความหนาแน่นของรถประเภทบรรทุกขนาดใหญ่และรถบรรทุกขนาดเล็ก 4 ล้อ เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยสาร และปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ความชื้นสัมพัทธ์ temperature gradient ความเร็วและทิศทางลม และความเข้มแสง เมื่อทดสอบค่าความเข้มข้นของ pPAHs ที่คาดคะเนได้จากแบบจำลองเปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จริง พบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเข้มข้นของ pPAHs ที่ได้จากข้อมูลทั้งสองชุด และสามารถประยุกต์ใช้แบบจำลองดังกล่าวในการลดปริมาณความเข้มข้น pPAHs โดยการควบคุมที่ปริมาณการจราจรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถบรรทุกขนาดใหญ่และรถบรรทุกขนาดเล็ก 4 ล้อ-
dc.description.abstractalternativeThe study of particle-bound polycyclic aromatic hydrocarbons (pPAHs) at the BTS station during 23 September - 6 October 2002 and at the reference site during 6-19 January 2003 were carried out by using Realtime PAH Monitor (PAS2000CE). The highest average pPAHs concentrations measured at either the building nearby the BTS station or the reference site were found at the outdoor ground level with the values of 717.66 and 80.80 ng/m3, respectively. The outdoor and indoor pPAHs concentrations surround the building near the BTS station showed higher relationship than those at the reference site. This might be caused by the structure of BTS station, which affected less distribution of the pollutant within the two study areas. Inside the building near the BTS station, the movement of pPAHs from outdoor to indoor area at the same receptor level, at ground floor and 3rd floor, showed the corresponding time delay of 30 and 20 minutes, respectively. For the vertical transportations, the pPAHs transported from outdoor at the ground level to indoor 3rd floor area with the delay time of 18 minutes. The transportation patterns of pPAHs at the site under the BTS station were mainly found from the road due to vehicular movement. From the regression analysis for predicting the hourly average pPAHs concentrations at the building near the BTS station, volume and density of bus and truck and of pickup and van, were dominant factors in relation to emission source. In addition, relative humidity, temperature gradient, wind speed and wind direction, and solar radiation, were important meteorological factors for temporal variation of the pPAHs concentrations. The predicted pPAHs concentrations from the regression model were compared with the observed values. The results showed a satisfactory correlation between the predicted and the observed pPAHs concentrations. Moreover, the model was considered to be useful for estimating the reduction of the pPAHs concentrations by control the traffic volume of bus and truck and pickup and van.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโพลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนen_US
dc.subjectมลพิษทางอากาศen_US
dc.subjectPolycyclic aromatic hydrocarbonsen_US
dc.subjectAir -- Pollutionen_US
dc.titleการเคลื่อนที่และการกระจายตัวของสารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ที่ดูดซับบนอนุภาคแขวนลอยภายในอาคารพาณิชย์บริเวณสถานีรถไฟฟ้าพระโขนงen_US
dc.title.alternativeMovement and distribution of particle-bound polycyclic aromatic hydrocarbons (pPAHs) inside commercial buildings near the Bangkok Transit System (BTS) Phra Khanong Stationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorbsurat@pioneer.netsever.chula.ac.th, S.bualert@chula.ac.th-
dc.email.advisorctassane@pioneer.netserv.chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pailin_ba_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ820.74 kBAdobe PDFView/Open
Pailin_ba_ch1_p.pdfบทที่ 1664.69 kBAdobe PDFView/Open
Pailin_ba_ch2_p.pdfบทที่ 21.04 MBAdobe PDFView/Open
Pailin_ba_ch3_p.pdfบทที่ 3927.91 kBAdobe PDFView/Open
Pailin_ba_ch4_p.pdfบทที่ 43.11 MBAdobe PDFView/Open
Pailin_ba_ch5_p.pdfบทที่ 5658.67 kBAdobe PDFView/Open
Pailin_ba_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.