Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66299
Title: การศึกษาวัฒนธรรมการถ่ายทอดดนตรีประจำชาติไทยและญี่ปุ่น
Other Titles: A study of the cultural transmission of Thai and Japanese classical music
Authors: สุวรรณา วังโสภณ
Advisors: กรรณิการ์ สัจกุล
ชนิตา รักษ์พลเมือง
ณรุทธ์ สุทธจิตต์
Advisor's Email: Kanniga.S@Chula.ac.th
Chanita.R@Chula.ac.th
Narutt.S@Chula.ac.th
Subjects: ดนตรี--ไทย
ดนตรีไทย
ดนตรี--ญี่ปุ่น
ดนตรี--การศึกษาและการสอน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Music--Thailand
Music--Japan
Music--Study and teaching
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพี่อวิเคราะห์ความหมายและคุณค่าของดนตรีประจำชาติไทยและญี่ปุ่น 2) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการถ่ายทอดดนตรีประจำชาติไทยและญี่ปุ่น 3) เพี่อเสนอแนวทางการถ่ายทอดดนตรีประจำชาติในโรงเรียนของประเทศไทย โดยมิวิธีการวิจัยประกอบด้วยการศึกษาเอกสารการสัมภาษณ์การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มนักวิชาการด้านดนตรีไทยและญี่ปุ่นจำนวน 2 กลุ่ม พื้นที่ในการศึกษาประเทศไทย 4 บ้าน คือ บ้านพาทยโกศล บ้านดุริยประณีต บ้านเสนาะดุริยางค์และบ้านประดิษฐ์ไพเราะ ประเทศญี่ปุ่น 4 บ้าน คือ บ้านเซหะ (Seihin) บ้านมิยากิ (Miyagi) บ้านโตมิยาม่า (Tomiyama) และบ้านโยนิกาว่า (Yonekawa) ผลการวิจัย พบว่า 1. ดนตรีประจำชาติในความหมายที่พบในการวิจัยคือมรดกทางวัฒนธรรมดนตรีที่ตกทอดจากบรรพบุรุษเกิดการยอมรับและสืบทอดกันมารวมถึงเป็นวิถีชีวิตของคนในชาติโดยมีดนตรีปิพาทย์เป็นตัวแทนหนึ่งของดนตรีประจำชาติไทยและดนตรีโชโกกุ (Soukyoku) เป็นตัวแทนหนึ่งของดนตรีประจำชาติญี่ปุ่น คุณค่าของดนตรีประจำชาติที่พบประกอบไปด้วยคุณค่าภายในตัวดนตรีคือคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ในการบรรเลงดนตรีและคุณค่าภายนอกตัวดนตรีประจำชาติที่พบคือ คุณค่าทางด้านจิตใจและจริยธรรม ด้านร่างกายและบุคลิกภาพ ด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม คุณค่าดนตรีประจำชาติมีผลทำให้ดนตรีประจำชาติดำรงอยู่ในสังคมด้วยความสำคัญในลักษณะการประสานคุณค่าทางภูมิรู้ และภูมิธรรม 2. วัฒนธรรมการถ่ายทอดดนตรีประจำชาติไทยและญี่ปุ่นนั้นมีความเหมือนโดยจุดมุ่งหมายในการถ่ายทอดเพื่อการดำรงรักษาวัฒนธรรมดนตรีประจำชาติและเพื่อการประกอบอาชีพ โดยมีรูปแบบการถ่ายทอดตามจารีตประเพณีโบราณคือการถ่ายทอดแบบตัวต่อตัวที่เรียกว่าการถ่ายทอดแบบไทยโบราณและญี่ปุ่นโบราณโดยเป็นการสอนทักษะการบรรเลงดนตรีร่วมกันการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและบุคลิกภาพของนักดนตรีไปพร้อมกัน 3. แนวทางการถ่ายทอดดนตรีประจำชาติในโรงเรียนในปัจจุบันพบว่า ประสบปัญหาในด้านการจัดการเรียนการสอนเรื่องรูปแบบและระยะ เวลาในการเรียน ด้านบุคลากรที่ขาดความรู้เชี่ยวชาญ ด้านวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ แนวทางการดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมนั้นต้องเป็นการจัดทำหลักสูตรที่มิความยืดหยุ่นในเรื่องเนื้อหาและวิธีการสอนโรงเรียนประสานงานกับชุมชนและผู้รู้ในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและภาครัฐให้การสนับสนุนในด้านการผลิตและพัฒนาบุคคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญรวมถึงจัดสรรงบประมาณด้านบุคลากรและการจัดหาเครื่องดนตรีให้เพียงพอ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนดนตรีประจำชาติไทยในโรงเรียนที่เหมาะสมนั้นต้องเป็นการผสมผสานแนวคิดเรื่องภูมิรู้และภูมิธรรมที่แฝงในคุณค่าวัฒนธรรมดนตรีประจำชาติเข้ากับจารีตการถ่ายทอดดนตรีประจำชาติในรูปแบบการถ่ายทอดของบ้านดนตรีโดยการเรียนการสอนนั้นต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความยืดหยุ่นเรื่องหลักสูตร การวัดผลและบูรณาการดนตรีประจำชาติเข้ากับรายวิชาต่าง ๆ โดยการดำเนินการจัดการเรียนการสอนดนตรีประจำชาติในรูปแบบการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในโรงเรียนเหมือนบ้านดนตรีและต้องนำเอาแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมกลุ่มในสังคมญี่ปุ่นในการดำเนินงานต่างๆ มาใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการเรียนการสอนในระบบโรงเรียนต่อไป
Other Abstract: The objectives of this study is threefold: 1) to analyze the meanings and values of Thai and Japanese classical music; 2) to study cultural transmission of Thai and Japanese classical music; 3) to introduce approaches of transmitting classical music through formal schooling systems. Different research methodologies were obtained, including documentary research, interviews, observations, focus groups of authorities in Thai and Japanese music. The sampling area under study in Thailand specifically included Baan Phathayakosol, Baan Duriyapraneet, Baan Sanoh Duriyang, and Baan Praditphairoh, and the area in Japan exclusively brought in Baan Miyagi, Baan Tomiyama, Baan Yonekawa, and Baan Seihin). The research findings are as follows: 1. The classical music has been defined as the music created to serve the society in different ways and it exists in all walks of life. In fact, Soukyoku is considered Japanese classical music, and Dontree Pee Paat Thai classical music. The internal value of the classical music is actually the esthetic worth of musical performance while its external values are, in fact, the intellectual, moral, physical and characteristic, economic, and social principles. All these values have allowed the classical music to exert its sustained impacts on the society through incorporating the principles of knowledge, and righteousness. 2. Thai and Japanese classical music transmitting cultures are aimed at sustaining the classical music existence as a national musical art heritage and profession through their traditional transmittable format “a one-on-one oral transmission basis, called ancient Thai and Japannese Transmission.” Musical performing skill teaching is earned out, together with the integration of preferable morality, ethics, and musician’ s personality. 3. The approaches in classical music transmission in modem formal schooling systems have encountered such different problems as instructional processes, instructional formats, instructional length of time, incompetent teaching staff members, and insufficient teaching materials. Appropriate approaches to instructional processes and more flexible curriculum with proper contents and instructional methodologies are needed. With the incorporation of the communities and the local focus groups of authorities in the relevant field, schools will be able to organize the right educational process. The government sectors are to give their supports in the production of relatively competent human resources, as well as allocating ample fiscal budgeting for necessary personnel and musical instruments. For cultural values of classical music, appropriate classical music instructional formats in modem Thai school should incorporate the knowledge and righteousness with the traditional classical music transmission through learner-centered instructional processes similar to that available at Baan Dontri or music house. The curriculum should be flexible enough to allow classical music to be evaluated and integrated along the line with other subject matters. This can be done by organizing the formal instructional processes in such a way that classical music would be transmitted within the more relaxed learning atmosphere, and apply the concept of the Japanese society’ s group culture at work as aguideline for instructional process administration informal schooling systems. In other words, classical music should become a common aspect of the learners’ everyday life.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66299
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.764
ISBN: 9745321761
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.764
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwanna_wa_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ921.03 kBAdobe PDFView/Open
Suwanna_wa_ch1_p.pdfบทที่ 11.06 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_wa_ch2_p.pdfบทที่ 24.67 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_wa_ch3_p.pdfบทที่ 31.64 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_wa_ch4_p.pdfบทที่ 44.2 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_wa_ch5_p.pdfบทที่ 53.41 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_wa_ch6_p.pdfบทที่ 63.09 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_wa_ch7_p.pdfบทที่ 74.19 MBAdobe PDFView/Open
Suwanna_wa_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.