Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6646
Title: การศึกษาเปรียบเทียบสภาพและแนวโน้มการวิจัยทางการศึกษาในประเทศไทย และญี่ปุ่น
Authors: ทิศนา แขมมณี
สุวิมล ว่องวาณิช
สุวัฒนา อุทัยรัตน์
พิมพันธ์ เดชะคุปต์
เพิ่มเกียรติ ขมวัฒนา
สร้อยสน สกลรักษ์
Email: Tisana.K@chula.ac.th
wsuwimon@chula.ac.th
Suwattana.U@chula.ac.th
Pimpan.d@chula.ac.th
Permkiet.K@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การศึกษา -- วิจัย -- ญี่ปุ่น
การปฏิรูปการศึกษา -- ญี่ปุ่น
การปฏิรูปการศึกษา -- ไทย
การศึกษาเปรียบเทียบ -- วิจัย
การศึกษา -- วิจัย -- ไทย
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์สำคัญของการวิจัยครั้งนี้คือ 1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการวิจัยทางการศึกษาในประเทศไทยและญี่ปุ่นในช่วงปี พ.ศ. 2536-2541 2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแนวโน้มการวิจัยทางการศึกษาในประเทศไทยและญี่ปุ่นที่จะเกิดขึ้นในทศวรรษหน้า (ประมาณปี พ.ศ. 2550) การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย โดยการวิเคราะห์ ศึกษาจากเอกสาร จากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม และจากการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางการศึกษาในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น การดำเนินการเก็บข้อมูลแบ่งเป็น 2 ช่วยคือ ช่วงแรกเก็บข้อมูลในปี พ.ศ. 2536-2537 และช่วงที่ 2 เก็บข้อมูลในปี พ.ศ. 2540-2541 จากนั้นจึงนำข้อมูลของทั้ง 2 ประเทศมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกัน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ นักการศึกษา และนักวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทางการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนในประเทศไทยและญี่ปุ่น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาญี่ปุ่น สรุปผลการวิจัย 1. ประเภทญี่ปุ่น มีหน่วยงานระดับชาติที่มีเอกภาพในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษาโดยตรง ซึ่งไทยยังไม่มี ทำให้ประเทศญี่ปุ่นสามารถพัฒนางานวิจัยทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ ได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ ปริมาณงานวิจัยของญี่ปุ่นในช่วงปี พ.ศ. 2529-2533 มีมากกว่าของไทย 36-37 เท่า และลดลงเป็น 10-12 เท่า ในช่วงปี 2534-2539 ปริมาณงานวิจัยของไทยมีอัตราเพิ่มสูงมาก โดยในช่วงปี พ.ศ. 2529 สูงกว่าปี พ.ศ. 2529 ถึง 4 เท่า ในขณะที่ญี่ปุ่นมีอัตราการเพิ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากร้อยละ 2.4-23 แต่ทั้งนี้ งานวิจัยของญี่ปุ่นได้นับรวมงานที่เป็นการรวบรวมข้อมูลทางสถิติเอาไว้ด้วย และมหาวิทยาลัยและโรงเรียนในประเทศญี่ปุ่นมีจำนวนมากกว่าไทยมาก จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ญี่ปุ่นมีปริมาณงานวิจัยที่สูงกว่าไทย งานวิจัยของญี่ปุ่นมาจากภาคเอกชนมาก ในขณะที่งานวิจัยของไทยมาจากภาคเอกชนน้อยมาก ไทยทำวิจัยด้านการวัดและประเมินผลมาก ในขณะที่ญี่ปุ่นทำวิจัยทางนี้น้อยมาก นอกจากนั้นในทางกลับกัน ญี่ปุ่นทำวิจัยประวัติศาสตร์/พื้นฐานการศึกษา การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาปฐมวัยและการศึกษาพิเศษ จำนวนมาก แต่ไทยทำวิจัยทางด้านดังกล่าวน้อย และไทยทำวิจัยในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษามากที่สุด แต่ญี่ปุ่นทำในระดับอุดมศึกษามากที่สุด ทั้งไทยและญี่ปุ่นทำวิจัยเชิงสำรวจมากที่สุด โดยญี่ปุ่นทำวิจัยเชิงวิเคราะห์ และประวัติศาสตร์ รองลงมาและทำวิจัยเชิงทดลองน้อยมาก ในขณะที่ไทยทำวิจัยเชิงทดลอง เป็นอันดับรองจากวิจัยเชิงสำรวจ นักวิจัยไทยและญี่ปุ่น ทำวิจัยโดยพิจารณาจากนโยบายและแผนการศึกษาชาติ ความต้องการของหน่วยงานความถนัดและความสนใจของผู้วิจัยและความต้องการของแหล่งทุน นักวิจัยไทยประสบปัญหาการมีเวลาทำวิจัยน้อย และขาดแรงจูงใจจากผู้บริหาร ส่วนนักวิจัยญี่ปุ่น มีปัญหาในเรื่องการเก็บข้อมูล และการขาดผู้ช่วยวิจัย แต่มีระดับปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก ระบบข้อมูลสารสนเทศและแหล่งค้นคว้าน้อยกว่านักวิจัยไทย ทั้งประเทศไทยและญี่ปุ่นยังขาดระบบการประเมินคุณภาพงานวิจัยที่เหมาะสม รวมทั้งการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนำผลงานวิจัยไปใช้ ยังทำไม่ได้มากเท่าที่ควร 2. แนวโน้มการวิจัยในอนาคต ประมาณปี พ.ศ. 2550 ของไทยและญี่ปุ่น มีความคล้ายคลึงกันในด้านปริมาณงานวิจัยที่จะมีเพิ่มขึ้น โดยไทยจะมีอัตราการเพิ่มที่สูงกว่าของญี่ปุ่น และสัดส่วนระหว่างปริมาณงานวิจัยของไทยกับญี่ปุ่นจะลดลงจากปัจจุบัน ในอนาคตทั้งไทยและญี่ปุ่นจะเพิ่มงบประมาณการวิจัย ส่งเสริมการวิจัยขนาดใหญ่ การวิจัยสหวิทยาการและจะระดมทุนจากภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนการวิจัยมากขึ้น การส่งเสริมการวิจัยจะมีหลายรูปแบบขึ้น ปัญหาการทำวิจัยจะลดลง จะมีการสร้างเครือข่ายข้อมูลงานวิจัยทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ และเผยแพร่งานวิจัยผ่านระบบ internet และเครือข่ายข้อมูลอื่นๆ เพิ่มขึ้น ญี่ปุ่นจะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิจัย ศูนย์ประสานงานนักวิจัยนานาชาติ และศูนย์วิจัยระดับท้องถิ่นขึ้น ในขณะที่ไทยจะมุ่งจัดทำระบบเครือข่ายข้อมูลการวิจัยระดับประเทศ จัดระบบการประกันคุณภาพงานวิจัย และส่งเสริมการวิจัยด้วยรูปแบบและวิธีใหม่ๆเพิ่มขึ้น
Other Abstract: Objectives The objectives of this research were as follows: 1) To study status of educational research in Thailand and Japan during the period of 1993-1998 and compare the findings of the two countries. 2) To study trends of educational research in Thailand and Japan in the next decade (around Year 2007) and compare the findings of the two countries. Procedures This descriptive research acquired data from 3 sources : documents, survey and interview. Data were collected in 2 periods. The first period was conducted during 1993-1994, and the second one was in 1997-1998. Samples of this study were educational administrators, professors/instructors/teachers or educators and researchers in both governmental and private educational institutions involving in educational research in Thailand and Japan. The research instruments used were questionnaire and interview form in Thai and Japanese versions. Research Findings 1) Japan unlike Thailand, has a national educational research institution which enabled the countryto efficiently promote educational research in both quantity and quality. During the years of 1986-1990, the number of research projects in Japan was 36-37 times higher than in Thailand, but it was reduced to 10-12 times higher during 1991-1996. The number of research in Thailand in 1996 increased 4 times higher from 1986. The increase was dramatic unlike Japan where the increase was rather gradual from 2.4-23 percent. However, it must be noted that the number of universities, colleges and schools in Japan were also higher than in Thailand, and Japan counted the collection of statistical data as research work whereas Thailand did not. Moreover, it was found that in Japan, private institutions made great contribution while in Thailand the contribution was least. In Thailand, during 1976-1980, most research works were done in the area of measurement and evaluation which it was least done in Japan. At the later period, during 1993-1996, most research works in Thailand were dealing with curriculum while Japan had very few research in this area, but instead, teaching method was found more popular. In general, most research works conducted in Japan were in the areas of history/fundamental education, non-frmal, early childhood and special education whereas in Thailand very few of these were found. Interestingly, most research in Thailand were done in the elementary and secondary education, and were least done in higher education, which was vice versa in Japan. Survery research was found most popular in both Thailand and Japan. Second to survey research, Thailand conducted experimental research while Japan conducted more of historical research. It was also found in both countries that policy and national education scheme, needs and interests of the institutions, researchers and funding agencies were necessary for research planning. Problems encountered by most Thai researchers were lack of sufficient time and moral support from the administrators while Japanese researchers need more research assistants and assistance for data collection. In general, problems concerning funding facilities, information services and resources are lower in Japan than in Thailand. In both countries, research evaluation system was found missing. The countries were still not satisfied with the level of research dissemination and application that they have done. 2) Trends of educational research in the next decade, around Year 2007 in Thailand and Japan were similar. The number of research projects will be increased in both countries, but in Thailand, it will be increased at a higher rate than in Japan. Both countries will increase their budgets for research activities. Macro and interdisciplinary projects will get more support. There will be a strong attempt to get funding assistance from private sectors and variety of ways to promote research activities will be made available. Research network will be set up at the national and international levels. Dissemination of research through internet and other network systems will be increased. In Japan, research universities, international center for research and local research centers will be set up whereas in Thailand, the attempt will be put on the set up of national research network, a system for research quality assurance and the promotion of new and creative ways to promote research.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6646
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tisana(Status).pdf33.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.