Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66750
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรัตน์ บัวเลิศ | - |
dc.contributor.advisor | บุญเลิศ อาชีวระงับโรค | - |
dc.contributor.author | พรพรรณ อุตมัง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2020-07-01T06:31:00Z | - |
dc.date.available | 2020-07-01T06:31:00Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9745326844 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66750 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en_US |
dc.description.abstract | การพยากรณ์สภาวะอุตุนิยมวิทยาด้วยแบบจำลอง MM5 ได้กำหนดพื้นที่การคำนาณเป็น 3 โดเมนซ้อนกัน โดยมีขนาดของกริดเป็น 36, 12 และ 4 กิโลเมตร ตามลำดับ โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษานำมาจากโดเมนที่ 3 ที่ครอบคลุมพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการศึกษาความสามารถในการประเมินการใช้ที่ดินด้วยแบบจำลอง MM5 พบว่า แบบจำลองสามารถประเมินการใช้ที่ดินได้ตรงกับการใช้ที่ดินจริง 60.7 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานคร จากกรมพัฒนาที่ดิน ในปี พ.ศ. 2544 โดยให้ผลการประเมินการใช้ที่ดินในรูปแบบเมืองน้อยกว่าข้อมูลจริง 28.6 เปอร์เซ็นต์ ในการกำหนดปัจจัยการคำนวณในแบบจำลอง MM5 ต่อการพยากรณ์สภาวะทางอุตุนิยมวิทยาและความคงตัวบรรยากาศพบว่า แบบจำลอง MM5 สามารถพยากรณ์อุณหภูมิ, ความเร็วลม, ทิศทางลม,ความร้อนที่ใช้ในการเผาผลาญอากาศและความเร็วเสียดทานในเวลากลางคืน ได้ใกล้เคียงกับข้อมูลการตรวจวัดมากขึ้น เมื่อมีการปรับแก้ค่าการใช้ที่ดินให้ใกล้เคียงกับการใช้ที่ดินจริง และการเลือกค่า ISHALLO มีแนวโน้มที่จะทำให้ผลการพยากรณ์ในฤดูฝนดีขี้นแต่ไม่สามารถสรุปค่า ISHALLO ต่อผลการพยากรณ์ได้อย่างชัดเจน แต่ในการพยากรณ์ความเร็วเสียดทานในเวลากลางวันและความคงตัวบรรยากาศพบว่า แบบจำลองให้ผลการพยากรณ์ที่แตกต่างกับข้อมูลการตรวจวัดมากขึ้นเมื่อมีการปรับแก้ค่าการใช้ที่ดินให้ใกล้เคียงกับการใช้ที่ดินจริง เมื่อทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการคำนวณความคงตัวบรรยากาศที่ได้จากการพยากรณ์จากแบบจำลอง MM5 กับผลการคำนวณด้วยโปรแกรม GAMMA-MET และ GMMA-MET ที่มีการปรับค่าความขรุขระพื้นผิวที่ได้จากวิธีของ Counihan พบว่า แบบจำลอง MM5 ยังคงมีประสิทธิภาพในการคำนวณความคงตัวบรรยากาศได้ใกล้เคียงกับข้อมูลการตรวจวัดมากกว่าผลจากการคำนาณจากโปรแกรม GMMA-MET ทั้ง 2 กรณี ดังนี้แบบจำลอง MM5 จึงมีความเหมาะสมสำหรับการจัดทำระบบเตือนภัยล่วงหน้าทางด้านมลภาวะทางอากาศ อย่างไรก็ดี เนื่องจากแบบจำลอง MM5 มีความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์สภาพความคงตัวบรรยากาศ จึงควรนำค่า PBL Height มาร่วมในการจัดทำระบบเตือนภัยล่วงหน้าด้วย โดยสภาพบรรยากาศที่ต้องจัดทำการเตือนภัยล่วงหน้า ได้แก่ กลุ่มบรรยากาศแบบคงตัว, แบบเป็นกลางและสภาพที่ BBL Height ต่ำ | - |
dc.description.abstractalternative | The application of mesoscale meteorological model on air pollution warning system was performed on three nested domains with horizontal grid dimensions of 36, 12 and 4 km., respectively. The data were from the third domain only, which covers Bangkok metropolitan and Bangkok vicinity area. The comparisons between MM5 land use simulations and Bangkok land use patterns in 2001 show 60.7% of MM5 land use simulations was close to land use patterns of Bangkok. The MM5 simulations show urban area was less than land use patterns in 2001 about 28.9%. The comparison between meteorological predictions from MM5 and observation data found that MM5 can predict temperature, wind speed, wind direction sensible heat and friction velocity at night close to observation data that used modified the land use pattern and used ISHALLO option. However, friction velocity at noon and atmospheric stability prediction were different from observation. The comparison of atmospheric stability between model predictions and observation data found 20.0-42.6% of model prediction close to observation and 30.2-55.1% of model prediction close to observation in stable condition. Furthermore, the comparison between atmospheric stability prediction from MM5, GAMMA-MET and GAMMA-MET with used on site surface roughness found MM5 show the best agreement to observation data. Thus MM5 was suitable to apply on air pollution warning system. However, there was error from the atmospheric stability prediction from MM5. Therefore, using the PBL height prediction for warning system with atmospheric stability prediction from MM5 will give a better result than using atmospheric stability prediction only. The atmospheric conditions that need to make a warning are stable condition, neutral condition and low PBL height. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อุตุนิยมวิทยา -- แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ | en_US |
dc.subject | มลพิษทางอากาศ | en_US |
dc.subject | Meteorology -- Mathematical models | en_US |
dc.subject | Air -- Pollution | en_US |
dc.title | การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ทางด้านอุตุนิยมวิทยาสำหรับระบบเตือนภัยล่วงหน้าทางด้านมลภาวะทางอากาศ | en_US |
dc.title.alternative | Application of mesoscale meteorological model on air pollution warning system | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Surat.B@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pornpan_ut_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pornpan_ut_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 671 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pornpan_ut_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pornpan_ut_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.76 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pornpan_ut_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Pornpan_ut_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 813.07 kB | Adobe PDF | View/Open |
Pornpan_ut_back_p.pdf | บรรณานุกรม และภาคผนวก | 5.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.