Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67087
Title: | ความกลัวปกติของเด็กและวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Normal fears of children and adolescents in the Bangkok metropolis |
Authors: | โสภิดา นันทพรภิรมย์ |
Advisors: | พรรณระพี สุทธิวรรณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | cpanrapee@yahoo.com |
Subjects: | ความกลัว -- ไทย -- กรุงเทพฯ จิตวิทยาวัยรุ่น |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความกลัวปกติ รวมทั้งทำการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความ กลัวปกติในด้านต่าง ๆ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและวัยรุ่นที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร มีอายุ 7 – 18 ปี จำนวน 915 คน และแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่มอายุ คือ เด็กเล็ก เด็กโต และวัยรุ่น ทำการวิจัยโดยใช้ “แบบสำรวจความกลัวสำหรับเด็กและวัยรุ่นไทย” วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด โดยใช้สถิติ Factor Analysis, Two – Way ANOVA, Discriminant Analysis, และ Frequency Distribution ผลการวิจัย พบว่า 1.ความกลัวปกติของเด็กและวัยรุ่นไทยกรุงเทพมหานครจัดเป็นกลุ่มความกลัวได้ 5 กลุ่ม คือ “การกลัว ความตาย และสิ่งที่อาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต” “การกลัวคน สัตว์ หรือสิ่งที่ไม่น่าไว้ใจ” “การกลัวผี สิ่งที่ทำให้เกิดความหวาดกลัว หวาดเสียว หรือไม่สบายใจ” “การกลัวภาวะกดดันทางจิตใจ การไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม และความล้มเหลวพ่ายแพ้” และ “การกลัวการถูกตำหนิติเตียน หรือลงโทษ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคนในครอบครัว” 2.เด็กหญิงรายงานว่า มีระดับความกลัว และจำนวนสิ่งที่กลัวมากกว่าเด็กชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ส่วนใหญ่กลุ่มอายุโดยรวมแล้ว พบว่า ปริมาณความกลัวลดลงในกลุ่มที่อายุเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<.05) และไม่พบอิทธิพลร่วมระหว่างเพศและกลุ่มอายุ 3.ความกลัวเฉพาะเด็กหญิง ที่เด็กชายมักไม่ค่อยกลัวมี 11 อย่าง อันดับที่ 1 คือ “คนโรคจิต คนบ้า กาม พวกที่ชอบลวนลามร่างกายผู้อื่น พวกถ้ำมอง” ส่วนความกลัวเฉพาะเด็กเล็กที่วัยรุ่นมักไม่ค่อยกลัวมี 3 อย่าง โดยอันดับที่ 1 คือ “การที่ตนเองพลัดหลงในฝูงชน” 4.ความกลัวที่พบมากที่สุด ในกลุ่มตัวอย่างโดยรวม และในกลุ่มย่อย พบว่า อันดับที 1 คือ “การที่ ตนเองต้องสูญเสียอวัยวะ พิการ อัมพาต ช่วยเหลือตนเองไม่ได้” ยกเว้นในกลุ่มเด็กเล็กที่กลัว “น้ำท่วมโลก ดวงอาทิตย์ดับ อุกกาบาตพุ่งชนโลก โลกแตก” เป็นอันดับที่ 1 |
Other Abstract: | The purposes of this research study were to investigate normal fears of children and adolescents in the Bangkok Metropolis, and to examine in different dimensions. Participants were 915 school students in Bangkok whose age ranged from 7-18 years. The participants were divided into 3 age-groups: 1) younger children, 2) older children, and 3) adolescents, and were administered “The Fear Survey Schedule for Thai Schedule and Adolescents. “Data were analyzed in 4 dimensions using factor analysis, two-way ANOVA, discriminant analysis, and frequency distributions, Findings were as follows: 1.Five factors of normal fears reported were “Fear of Death and Severe Danger”, “Fear of Untrustable Person, Animals, and Thing”, “Fear of Ghosts or Thrilling or Discomfortable things”, “Fear of Psychic Stress, Social evaluation, and Failure” and “Fear of Criticism or Punishment and Fear Related to Family” 2.Girls obtained significantly higher - tear-intensity scores and fear-prevalence scores than boys did (p< ,05). In general, fear intensity and prevalence decreased with age (p< .05). However, no interaction effects between sex and age-group were found. 3.Sex differences in fear content were found and the best discriminating fear stimulus was “Perverted persons or peepers”. Girls obtained higher fear scores on this item and the remaining 10 fear stimuli than boys. The type of fear that best discriminated younger children and adolescents was “Getting lost in a crowd”. Younger children obtained higher fear scores on this item and the remaining 12 fear stimuli than adolescents. 4.The first ranked common fear for the overall sample and the sub-groups of participants were “Lost of organ, physical disability or helplessness”, with the exception of the younger-children group who reported “End of the world” as the first ranked common fear. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67087 |
ISBN: | 9741432798 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sopida_na_front_p.pdf | 877.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sopida_na_ch1_p.pdf | 2.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sopida_na_ch2_p.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sopida_na_ch3_p.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sopida_na_ch4_p.pdf | 2.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sopida_na_ch5_p.pdf | 860.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Sopida_na_back_p.pdf | 2.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.