Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67131
Title: Genome characterization, molecular evolution and antibody response against influenza a virus in Thailand
Other Titles: การศึกษาด้านลักษณะ วิวัฒนาการเชิงโมเลกุล และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ ในประเทศไทย
Authors: Jarika Makkoch
Advisors: Yong Poovorawan
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Subjects: Influenza A virus
Immune response
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ
การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
Issue Date: 2012
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The continuously sporadic outbreaks of influenza A virus in human and animal populations have impacts on public health problems and economic lost. Previous studies found that influenza virus has high mutation rates in antigenic drift process and antigenic shift process, which is the major cause of epidemic of influenza A virus worldwide. Epidemiological study, molecular evolution and immunological response in host cell against influenza A virus infection will be essential for evaluation and surveillance for being well-prepared and be able to control the current outbreak or future outbreaks. This study aimed to perform the genomic characterization, phylogenetic analysis, and mutational trend of influenza A virus circulated in Thailand, including the study of repid test efficiency used in influenza A detection and the study of antibody response against influenza virus infection in Thai population. The study found that the human pandemic influenza virus H1N1 is the major influenza A virus circulation in Thailand during 2009-2012, which expressed in 3 peaks with the continuous and gradual mutation, while each clade of virus expressed some significant mutation points, which may affect the virus pathogenesis and transmission process. The rapid test used in influenza virus infection should be evaluated for the accuracy due to the gradual mutation. This study also found that influenza A virus infection will cause the antibody response in human which can be detected by using Haemagglutination Inhibition Test (HI) or Microneutralization (MN) assay which should be assessed before perform the test.
Other Abstract: เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่เป็นเชื้อไวรัสสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในกลุ่ม Influenza-like illness (ILI) ในมนุษย์นอกจากนี้ยังพบการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ชนิดอื่นเช่นสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นสุกร แมว เสือหรือสุนัขเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการแพร่ระบาดของเชื้ออย่างต่อเนื่องทั้งในประชากรมนุษย์และสัตว์ก่อให้เกิดปัญหาแก่ระบบสาธารณสุขและความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมากมายจากการศึกษาพบว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีอัตราการกลายพันธุ์ที่รวดเร็วทั้งการเกิดกระบวนการกลายพันธุ์อย่างค่อยเป็นค่อยไปและจากการเกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนสารพันธุกรรมซึ่งมักเป็นที่มาของการเกิดการระบาดใหญ่ในแต่ละครั้งการศึกษาทางด้านระบาดวิทยาการหาลำดับวิวัฒนาการของไวรัสและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของเซลล์เจ้าบ้านต่อการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จึงล้วนมีความสำคัญในการหาทางควบคุมและการวางนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่กำลังมีการระบาดหรือกำลังจะเกิดการระบาดขึ้นในอนาคตการศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อการหาลำดับวิวัฒนาการและแนวโน้มการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ ที่มีการระบาดในประเทศไทยประสิทธิภาพของชุดเครื่องมือที่นำมาใช้ทดสอบการติดเชื้อรวมทั้งการศึกษาด้านการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของประชากรที่มีการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยจากการศึกษาพบว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่มีการระบาดในประเทศไทยในช่วงปี 2009-2012 เป็นจำนวนมากที่สุดได้แก่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งมีการแพร่ระบาดออกเป็น 3 ระลอกและมีแนวโน้มการกลายพันธุ์ที่ค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่องและไวรัสในแต่ละ clade ก็มีแนวโน้มที่จะมีการกลายพันธุ์ในบางจุดอย่างเฉพาะเจาะจงซึ่งอาจมีผลต่อรูปแบบการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคได้จากการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่องของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทำให้ชุดเครื่องมือที่นิยมนำมาตรวจสอบการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้แก่ชุดทดสอบชนิด rapid test ควรมีการตรวจสอบความถูกต้องและแม่นยำในการตรวจเป็นระยะนอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าภายหลังการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แล้วเจ้าบ้านยังมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโดยการสร้างแอนติบอดีที่เฉพาะเจาะจงที่สามารถตรวจสอบได้โดยวิธี Hemagglutination Inhibition Test (HI) หรือ Microneutralzation (MN) ที่จำเป็นจะต้องมีการทดสอบความแม่นยำในการหาระดับแอนติบอดีที่มีต่อการติดเชื้อในประชากรด้วย
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2012
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Biomedical Sciences
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67131
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jarika_ma_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ863.91 kBAdobe PDFView/Open
Jarika_ma_ch1_p.pdfบทที่ 11.72 MBAdobe PDFView/Open
Jarika_ma_ch2_p.pdfบทที่ 21.28 MBAdobe PDFView/Open
Jarika_ma_ch3_p.pdfบทที่ 3889.83 kBAdobe PDFView/Open
Jarika_ma_ch4_p.pdfบทที่ 41.04 MBAdobe PDFView/Open
Jarika_ma_ch5_p.pdfบทที่ 5968.18 kBAdobe PDFView/Open
Jarika_ma_ch6_p.pdfบทที่ 6798.92 kBAdobe PDFView/Open
Jarika_ma_ch7_p.pdfบทที่ 7834.53 kBAdobe PDFView/Open
Jarika_ma_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.