Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6735
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุวัฒนา เอี่ยมอรพรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-04-29T08:37:34Z-
dc.date.available2008-04-29T08:37:34Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741328451-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6735-
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายโดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้คือ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหมวดวิชาต่างๆ ของนิสิตของกลุ่มที่ผ่านการสอบคัดเลือกโดยวิธีพิเศษและกลุ่มที่ผ่านการสอบคัดเลือกโดยวิธีปกติและ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระหว่างกลุ่มที่ผ่านการสอบคัดเลือกโดยวิธีพิเศษและกลุ่มที่ผ่านการสอบคัดเลือกโดยวิธีปกติ ตัวอย่างประชากร คือนิสิตโครงการเร่งรัดการผลิตและพัฒนาบัณฑิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคณิตศาสตร์ของประเทศ (รพค.) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2542 และเป็นผู้สำเร็จการศึกษาภายใน 4 ปีคือสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2545 โดยแบ่งเป็นสองกลุ่มคือกลุ่มที่สอบคัดเลือกโดยวิธีพิเศษจำนวน 14 คน และกลุ่มที่สอบคัดเลือกโดยวิธีปกติ จำนวน 40 คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้แบบกรอกข้อมูลประกอบด้วยชื่อนิสิต วิชาที่เรียนพร้อมผลการเรียน จำแนกตามหมวดวิชาและภาคการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตโดยการหาค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. จากการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตพบว่า 1.1 ลำดับของค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตกลุ่มที่สอบคัดเลือกโดยวิธีพิเศษโดยเรียงจากมากไปน้อยเป็นดังนี้ คือหมวดวิชาเลือกเสรี วิชาครู วิชาเอก (คณิตศาสตร์) และหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และลำดับของค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตกลุ่มที่สอบคัดเลือกโดยวิธีปกติโดยเรียงจากมากไปน้อยเป็นดังนี้ คือหมวดวิชาเลือกเสรี วิชาครู หมวดวิชาศึกษาทั่วไป และวิชาเอก (คณิตศาสตร์) 1.2 ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของคะแนนเฉลี่ยสะสมของนิสิต กลุ่มที่สอบคัดเลือกโดยวิธีพิเศษคือ 3.23 และค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของคะแนนเฉลี่ยสะสมของนิสิตกลุ่มที่สอบคัดเลือกโดยวิธีปกติคือ 2.95 2. จากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตระหว่างกลุ่มที่สอบคัดเลือกโดยวิธีพิเศษและกลุ่มที่สอบคัดเลือกโดยวิธีปกติพบว่า 2.1 ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่สอบคัดเลือกโดยวิธีพิเศษและกลุ่มที่สอบคัดเลือกโดยวิธีปกติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป วิชาครู และหมวดวิชาเลือกเสรี 2.2 ค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่สอบคัดเลือกโดยวิธีพิเศษ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่สอบคัดเลือกโดยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในวิชาเอก (คณิตศาสตร์) และคะแนนเฉลี่ยสะสมen
dc.description.sponsorshipทุนเพื่อการวิจัยคณะครุศาสตร์ ปี 2545en
dc.format.extent3613066 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์--การสอบคัดเลือกen
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.subjectโครงการเร่งรัดการผลิตและพัฒนาบัณฑิตระดับปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์ของประเทศen
dc.titleการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตโครงการ รพค. ที่ผ่านการสอบคัดเลือกด้วยวิธีต่างกัน : รายงานการวิจัยen
dc.title.alternativeComparison of learning achievements of students being accepted to the national project : acceleration program for production and development of mathematics undergraduates with different methodsen
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorusuwattana@chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwatana(Learning).pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.