Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6740
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิลาสีนี พิพิธกุล | - |
dc.contributor.author | เอนก รัตนจิตบรรจง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2008-04-30T03:34:29Z | - |
dc.date.available | 2008-04-30T03:34:29Z | - |
dc.date.issued | 2548 | - |
dc.identifier.isbn | 9741749112 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6740 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณธรรมที่ถ่ายทอดสู่เด็กและเยาวชนผ่านทางเนื้อหาของหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นประเภทกีฬา และวิธีการ สื่อสารของหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นประเภทกีฬาในการเสริมสร้างธรรมให้กับเด็กและเยาวชน ตลอดจนแนวทางการใช้หนังสือการ์ตูนเป็นสื่อ เพื่อให้เกิดการเสริมสร้างคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชน ซึ่งวิธีการเก็บข้อมูลใช้การวิจัยเชิงคุณภาพกึ่งปริมาณ โดยการวิเคราะห์ เนื้อหาและ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่าคุณธรรมที่ ปรากฏผ่านทางเนื้อหาของหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นประเภทกีฬาที่เลือกมาศึกษานั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) คุณธรรทที่ปรากฏมาก ประกอบด้วย ความอุตสาหะ ความมีสติสัมปชัญญะ ความสามัคคี และความซื่อสัตว์ สุจริต ตามลำดับ 2) คุณธรรมที่ปรากฏปานกลางประกอบด้วย ความเมตตากรุณา ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ และความเสียสละ ตามลำดับ 3) คุณธรรมที่ปร่ากฎน้อย คือ ความยุติธรรม ด้านวิธีการสื่อสารของหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นประเภทกีฬาในการเสริมสร้างคุณธรรม ให้กับเด็กและเยาวชนพบว่านำเรื่องราวในชีวิตประจำวันของเด็กและเยาวชนที่อาจประสบพบเห็นได้ทั่วไปมาใช้เป็นโครงเรื่องเพื่อให้ผู้อ่าน ซึ่งอยู่ในวัยนี้เกิดความรู้สึกร่วม โดยใช้วิธีการสื่อสาร 3 วิธี คือ 1) แสดงให้เห็นถึงผลดีที่เกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่พึงประสงค์ 2) แสดงให้เห็นถึงผลเสียที่เกิดขึ้นจากการแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ 3) เปรียบเทียบผลดีของการแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์กับผลเสีย ของการแสดงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ ในสถานการณ์เดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน ในส่วนของแนวทางการใช้หนังสือการ์ตูนเป็นสื่อเพื่อให้ เกิดการเสริมสร้างคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชนนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกก็คือ การปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มองการ์ตูนแต่เพียงแง่ลบ ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน นอกจากนี้ องค์ประกอบที่ช่วยกระตุ้นส่งเสริมให้หนังสือการ์ตูนเสริมสร้างคุณธรรมถูกนำไปใช้ได้ อย่างเต็มประสิทธิภาพ มี 2 ส่วนหลัก ๆ คือ 1) เนื้อหาและวิธีการนำเสนอของหนังสือการ์ตูน 2) สถาบันทางสังคมต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยภาครัฐ โรงเรียนและสถาบันการศึกษา สื่อมวลชนแขนงต่างๆ และสถาบันครอบครัว | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research is to study the moral conveyed to youths by the content of sport Japanese comics, and the means of communication used in the comics to implant moral in their mind, including the way of using comics as a media for the moral-forming process. This research uses qualitative and quantitative method and content analysis and depth interview were used in data collection. As the result of researching, the moral in the content of the selected sport Japanese comics can be divided into three groups. The first one is the most frequently-expressed moral --- perseverance, conscience, concord, and honesty respectively. The second is the fairly-occurred moral kindness, discipline, responsibility, and sacrifice. The last group is the least-appeared moral - justice. The plots of sport Japanese comics are composed from daily-life incidents to stimulate common feeling in readers, resulting in the moral forming in their minds. There are three ways of communication in the comics --- 1) showing the advantage of desirable behavior. 2) showing the disadvantage of undesirable behavior 3) comparing the advantage and disadvantage in the same or similar situation. To use comics as a media in moral development for youths, the essential priority is that all who are concerned have to change their negative attitude toward comics. Furthermore, the comics content and presentation, and all social institutions, including mass media are major factors for the effective use of comics in the moral forming. | en |
dc.format.extent | 2160661 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การ์ตูน | en |
dc.subject | วรรณกรรมสำหรับเด็ก | en |
dc.title | บทบาทของหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นประเภทกีฬากับการเสริมสร้างคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชน | en |
dc.title.alternative | The roles of sport japanese comics in moral development for youths | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วารสารสนเทศ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.other | Wilasinee.P@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.