Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67432
Title: การประเมินผลมาตรการปฏิรูประบบบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาล สังกัดกองโรงพยาบาลภูมิภาค กระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: Evaluation of the measures in drug management system reform in the hospitals under the Provincial Hospitals Division, Ministry of Public Health
Authors: มังกร อังสนันท์
Advisors: อภิฤดี เหมะจุฑา
กิตติ พิทักษ์นิตินันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เวชภัณฑ์ -- การจัดการ
ยา -- การบริหาร
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลมาตรการปฏิรูประบบบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาล ตามแผนแม่บทการพัฒนาสุขภาพดีด้วยต้นทุนต่ำ (พ.ศ.2541) โดยศึกษาผลตามตัวชี้วัดผลการดำเนินการ 4 ประเด็นมาตรการ เมื่อนำมาตรการปฏิรูประบบบริหารเวชภัณฑ์ ไปปฏิบัติของโรงพยาบาล ในสังกัดกองโรงพยาบาลภูมิภาค กระทรวงสาธารณสุข โดยเปรียบเทียบผลการดำเนินการกับเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้ข้อมูลที่โรงพยาบาลได้รายงานส่งให้ กองโรงพยาบาลภูมิภาค และศึกษาผลกระทบของมาตรการดังกล่าว โดยใช้แบบการประเมินผลเป็นแบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างและทดสอบแล้ว ผลการศึกษาจากแบบสอบถามที่ได้ดำเนินการจัดส่งให้หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาล 92 แห่ง ได้รับตอบกลับร้อยละ 89 พบว่าความเห็นที่เห็นด้วยมากได้แก่ 1)มาตรการจัดหายาต้องกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกเวชภัณฑ์ให้เหมาะสมชัดเจน 2).มาตรการให้มีการติดตามและประเมินผลการใช้ยาในโรงพยาบาลโดยเฉพาะกลุ่มยาที่มีราคาแพง หรือเสี่ยงต่อการเกิดพิษหรืออาการไม่พึงประสงค์ และให้ความคิดเห็นไม่เห็นด้วยมาก ได้แก่มาตรการให้โรงพยาบาลจัดหายาหลักแห่งชาติโดยใช้เงินบำรุง ส่วนมาตรการอื่น ๆ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความคิดเห็นไม่แน่ใจ ผลจากข้อมูลทุติยภูมิ หลังจากประกาศมาตรการแล้วประมาณ 6 เดือน พบว่า 1)มาตรการเรื่องจำนวนบัญชีรายการยา พบว่ามีโรงพยาบาลที่ดำเนินการได้ 86 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 93.4 2)สัดส่วนจำนวนรายการยาหลักแห่งชาติในบัญชีรายการยา ได้ 37 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 40.2 3)โรงพยาบาลที่ใช้เงินบำรุงจัดหายาหลักแห่งชาติตามเกณฑ์ที่กำหนดได้ 5 แห่งคิดเป็น ร้อยละ 10.0 4)มาตรการสำรองยามีโรงพยาบาลที่สามารถทำได้ 24 แห่งคิดเป็น ร้อยละ 64.8 (มีค่าเฉลี่ย 1.7 เดือน) และ 5)มาตรการจัดหายาร่วมไม่พบว่ามีโรงพยาบาลใดดำเนินการได้ตามตัวซี้วัด ผลดังกล่าว ผลลัพท์ของมาตรการปฏิรูประบบบริหารเวชภัณฑ์ในภาพรวมเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพิ่มมากขึ้นตามระยะเวลา และจากการประเมินผลกระทบที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับโดยตรงตอบเป็นคะแนนความคิดเห็นส่วนใหญ่ไม่แน่ใจ ควรที่จะให้ลำดับความสำคัญของมาตรการ และกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของแต่ละมาตรการให้ชัดเจน
Other Abstract: This descriptive cross-sectional mail survey was employed to evaluate the impact of measures of drug management system reform in hospitals under provincial division, ministry of public health. The measures were followed the master plan of good health at low cost. The study also investigated the outcome indicators of four measures by analyzing the progress reports from these hospitals. This research was done her ending the drug management system reform treasures in 1998. The responses rate was 89% (n 92). Research showed that in the opinion of head of pharmacy department strongly agree on two measures i.e. 1) drug selection criteria. 2) Monitoring and drug use evaluation and strongly disagree on the use of self-revenue ratio to purchase the essential drugs. The respondents felt reluctant to agree with the rest of the measures. They agreed that these measures could save the drug budget however, they were not certain that the measures would accomplished its purposes. From analyzing the secondary data, we found at the number of hospitals which could comply to the measures as shown by following outcome indicators. 1) 86 hospitals (93.4%) were able to follow the number of drugs on each individual’s list.2) 37 hospitals (40.2%) were able to flow the ED/NED radio on their drug lists. 3) 5 hospitals (10.0%) Self-revenue rate to purchase the essential drugs. 4)24 hospitals (64.8%) could maintain two-month drug inventory turnover (average 1.7 month). 5) None of them could follow group purchasing measure. Although the respondents did not agree to use measures, the result of analyzing the secondary data showed almost all of the could comply to most measures.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67432
ISBN: 9743331654
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mungkorn_au_front_p.pdf912 kBAdobe PDFView/Open
Mungkorn_au_ch1_p.pdf914.58 kBAdobe PDFView/Open
Mungkorn_au_ch2_p.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Mungkorn_au_ch3_p.pdf948.42 kBAdobe PDFView/Open
Mungkorn_au_ch4_p.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Mungkorn_au_ch5_p.pdf732.22 kBAdobe PDFView/Open
Mungkorn_au_back_p.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.