Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6784
Title: การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแนะแนวทางการยึดส่วนปลายของตะปูยึดกระดูกภายใน โดยวิเคราะห์จากภาพเอกซเรย์
Other Titles: Computer aided distal locking guidance of intramedullary nail by x-ray image analysis
Authors: กำธร สิมมามี
Advisors: นงลักษณ์ โควาวิสารัช
วิวัฒน์ วัฒนาวุฒิ
วิญญู รัตนไชย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: nongluk.c@chula.ac.th
wiwat@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: กระดูกหัก -- การรักษา
ระบบการสร้างภาพทางการแพทย์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาหาแนวทางและสร้างต้นแบบในการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแนะแนวทาง การยึดส่วนปลายของตะปูยึดกระดูกภายในโดยวิเคราะห์จากภาพเอกซเรย์ โดยวิธีที่นำเสนอในงานวิจัยประกอบด้วย 3 ส่วนหลักคือ การแก้ไขการเพี้ยนของภาพเอกซเรย์จากเครื่องฟลูออโรสโคป การคำนวณเพื่อปรับหมุนเครื่องฟลูออโรสโคป และการคำนวณเพื่อปรับเครื่องหาตำแหน่งส่วนปลาย งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการแก้ไขการเพี้ยนทางเรขาคณิต ของภาพเอกซเรย์จากเครื่องฟลูออโร-สโคป โดยใช้อุปกรณ์อ้างอิงตำแหน่งที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยหาตำแหน่งจุดอ้างอิงของอุปกรณ์จากภาพเอกซเรย์ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับตำแหน่งจริงในอุปกรณ์ เมื่อทดสอบกับภาพเอกซเรย์ของอุปกรณ์ทดสอบความถูกต้องที่ประดิษฐ์ขึ้น ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าทั้งอุปกรณ์และวิธีการที่ได้นำเสนอ มีความถูกต้องสูงโดยมีความคลาดเคลื่อนต่ำ ในการปรับหมุนเครื่องฟลูออโรสโคปให้เห็นตำแหน่ง รูยึดสกรูซ้อนทับกันเป็นวงกลมที่สมบูรณ์ งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการคำนวณหาระยะและทิศทาง การปรับหมุนเครื่องฟลูออโรสโคปโดยคำนวณเทียบจากตำแหน่งใน 3 มิติของรูยึดสกรูจากภาพเอกซเรย์ เริ่มจากการคำนวณหาตำแหน่งใน 3 มิติที่เป็นไปได้ทั้งหมดของรูยึดสกรู ที่อยู่ในขอบเขตที่กำหนดบนตะปู แล้วเลือกใช้ตำแหน่งที่มีค่าระยะทางพีชคณิตน้อยที่สุด จากการคำนวณตำแหน่งใน 3 มิติของรูยึดสกรูย้อนกลับไปหาตำแหน่งรูยึดสกรูในภาพเอกซเรย์ จากผลการทดลองปรับหมุนเครื่องฟลูออโรสโคปด้วยวิธีที่นำเสนอนี้ พบว่าการคำนวณและปรับหมุนจากการเพี้ยนใน 2 ระนาบจนเห็นรูยึดสกรูเป็นวงกลมที่สมบูรณ์ ทำได้ในจำนวนไม่เกิน 2 ครั้ง ส่วนการปรับเครื่องหาตำแหน่งส่วนปลายให้รูรูปทรงกระบอกตรงกับ รูยึดสกรูที่เห็นเป็นวงกลมที่สมบูรณ์นั้น ในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการคำนวณหาระยะและทิศทาง การปรับหมุนจุดปรับหมุนทั้ง 4 จุดโดยหาตำแหน่งใน 3 มิติของเครื่องหาตำแหน่งส่วนปลายจากภาพเอกซเรย์ โดยแทนโครงสร้างของแผ่นเล็งจากภาพเอกซเรย์ลงในภาพฉายแบบต่างๆ ที่เป็นไปได้และเลือกภาพฉายแบบที่ทำให้ระนาบทั้งสองใน 3 มิติของแผ่นเล็งขนานกันมากที่สุด เป็นคำตอบโดยคำนวณจากระยะคลาดเคลื่อนรวมน้อยที่สุด ของจุดที่ตรงกันระหว่างระนาบทั้งสอง ผลการทดลองพบว่าวิธีการที่นำเสนอ สามารถบอกทิศทางการปรับหมุนของจุดปรับหมุนทั้ง 4 จุดได้ดี แต่จำนวนรอบที่ต้องปรับหมุนยังคงมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง
Other Abstract: To find an approach and to develop a prototype of computer aided distal locking guidance of intramedullary nail by x-ray image analysis. The proposed method is composed of three parts which are a distortion correction of a fluoroscopic x-ray image, a calculation for fluoroscope rotation control adjustment and a calculation for distal target device control adjustment. This research proposes a geometric distortion correction method of a fluoroscopic x-ray image together with an invented device for position referencing. This method locates reference points from the device's x-ray image and compares them with their actual positions on the device. The results from our experiment on another invented testing device reveal that the positions after distortion correction are accurate with minute errors. In order to rotate the fluoroscope to the position that exposes the nail's holes as a perfect circle, this research proposes a calculation method to find the rotation angles and directions to adjust the fluoroscope based on the 3D positions of two holes on the nail. The method starts with computing all possible 3D positions of the 2 corresponding holes in a pre-defined nail region. The computed 3D positions are projected back to the x-ray images. The holes' best 3D positions are those that their projected circles result in the shortest algebraic distance. The experimental results of this proposed method reveal that, for the distortion within 2 planes, a perfect circle of the nail's holes can be achieved within 2 calculations. For distal target device adjustment to align the guiding cylinder with the achieved perfect circle, this research proposes a method to find the number of turns and directions of the device's 4 control points based on the 3D position of the device's guiding plate. This method compares the guiding plate in an x-ray image to all possible projections. The best projection is the one that the two planes of the guiding plate are most parallel. It can be indicated by the minimum sum of error distances between the coincident points of the two planes. The results from our experiment reveal that the proposed method gives correct direction guidance at all 4 control points and some errors for the number of turns.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6784
ISBN: 9741719043
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamthon.pdf5.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.