Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67936
Title: นโยบายของรัฐกับการแก้ไขปัญหากลุ่มผลประโยชน์ : ศึกษากรณีสมัชชาคนจน
Other Titles: Public policy and problem solving of interest groups : a case study of "the Assembly of the Poor"
Authors: นันทวรรณ ชื่นศิริ
Advisors: พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สมัชชาคนจน
กลุ่มอิทธิพล
การจัดการป่าไม้
การนำนโยบายไปปฏิบัติ
ป่าไม้และการป่าไม้
ที่ดิน
คนจนในชนบท -- กิจกรรมทางการเมือง
นโยบายสาธารณะ
การเจรจาต่อรอง
Pressure groups
Forest management
Policy implementation
Forests and forestry
Land use
Public policy
Negotiation
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ ศึกษาระบบการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับป่าไม้และที่ดินของรัฐบาลโดยนำมติคณะรัฐมนตรี ที่เป็นผลจากการเจรจาต่อรองของสมัชชาคนจนกับรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา และรัฐบาล พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ระหว่างปี พ.ศ.2539-2540 มาเป็นกรณีศึกษา เพื่อวิเคราะห์ว่า กรณีที่ตัวแทนของรัฐบาลเจรจาต่อรองกับกลุ่มผลประโยชน์ กดดันในฐานะเสมอภาคเท่าเทียมกัน หรือกรณีที่รัฐบาลให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาของกลุ่มตนอย่างเต็มที่ ผลแห่งนโยบายที่ได้จะมีลักษณะอย่างไร แตกต่างจากนโยบายที่กำหนดในระบบปกติหรือไม่ รวมทั้งเมื่อนำไปปฏิบัติจะสามารถบรรลุเป้าหมายและบังเกิดผลจริงจังได้เพียงใด โดยใช้ทฤษฎีกลุ่มผลประโยชน์และ ทฤษฎีการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาโดยสรุปพบว่า การกดดันเรียกร้องให้มีการเจรจาโดยเสมอภาคเท่าเทียมกันระหว่างตัวแทน ภาครัฐบาลและตัวแทนสมัชชาคนจนไม่สามารถจะได้ข้อสรุปที่มีความสมบูรณ์ในสาระ เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติที่จะนำไปใช้ปฏิบัติงานอย่างราบรื่นได้ เนื่องจากพื้นฐานความเข้าใจในประเด็นข้อเท็จจริง ของปัญหาในพื้นที่ รวมทั้งปัญหากฎ ระเบียบ และวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องของราชการแตกต่างกันระหว่างตัวแทนภาครัฐบาล และตัวแทนสมัชชาคนจน ดังนั้น แม้จะมีข้อตกลง มีคณะกรรมการประสานงานคอยเร่งรัดแก้ปัญหา แต่การดำเนินงานก็ประสบปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ อยู่เสมอ ทั้งในระดับพื้นที่และระดับส่วนกลาง ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาคือ การกำหนดนโยบายร่วมกันของกลุ่มผลประโยชน์และตัวแทนภาครัฐ ในระบบการเจรจาต่อรอง จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือ และเต็มใจอย่างเต็มที่จากทั้ง 3 ฝ่าย คือ นักการเมือง ข้าราชการประจำและผู้แทนองค์กรประชาชนในการร่วมกันคิดร่วมกันแก้ไขปัญหาในระดับ พหุภาคี และปฏิบัติการในแนวทางของประชาสังคม (civil society) รวมทั้งต้องมีระบบข้อมูลและการประสานงานที่สมบูรณ์ทั้งในระดับส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องที่ปัญหา สำหรับการแก้ปัญหาในระยะยาวนั้น จำเป็นที่จะต้องปฏิรูประบบราชการ การกระจายอำนาจ และการปรับทัศนคติทั้งฝ่ายประชาชน และภาคราชการให้ยึดหลักการมีส่วนร่วมอย่างเสมอเท่าเทียมกันของทุกฝ่ายอันเป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างระบบการทำงานร่วมกันที่ราบรื่นในอนาคต
Other Abstract: This study examines the process of the government policy formulation on forestry and the land use by taking the ministerial resolution resulting from the negotiations between the Assembly of the Poor and the government under the Banham Silapa-archa and Gen. Chavalit Yongchaiyudh’s Administration from 1996-1997 as the case study. The objectives of the study are to analyse the policies originated from the talks between the government and the presssure group or between the government and the participation of people; to analyse the difference between the policies originated from the talks between government and the pressure group or between the government and the participation of people and the regular processed policies; and to examine the effects of these policies when put into use. The findings are the effort of the Assembly of the Poor to pressure the government for the talks on an equal status basis fails to bring about the constructive conclusions, conditions and procedures for further sound implementation. This is due to the difference of understanding between both parties on the core problems in the inflicted areas and on official rules and regulations. Though, there is agreement and co-ordinating committee to effect the problem solving, the implementation is always facing obstacles both in the areas and the central part. The recommendations from the study are that the policy formulation needs full tripartite cooperation namely the politicians, the officials and the representatives of the communities. Secondly, the procedures require multilateral and implementation in the civil society manner. Thirdly, there should be information and database and co-ordination system in the central, regional level and in the trouble some areas. Fourthly, for long term plan, the bureaucratic reform and decentralization are required. Lastly, the attitude of the people and the public sector to adhere to the principle of equal participation should be forested as it is the ground for smooth co-working system in future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67936
ISBN: 9746396749
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nantawan_ch_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ942.63 kBAdobe PDFView/Open
Nantawan_ch_ch1_p.pdfบทที่ 11.17 MBAdobe PDFView/Open
Nantawan_ch_ch2_p.pdfบทที่ 22.47 MBAdobe PDFView/Open
Nantawan_ch_ch3_p.pdfบทที่ 33.86 MBAdobe PDFView/Open
Nantawan_ch_ch4_p.pdfบทที่ 44.35 MBAdobe PDFView/Open
Nantawan_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.02 MBAdobe PDFView/Open
Nantawan_ch_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก880.68 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.