Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68136
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนีย์ มัลลิกะมาลย์-
dc.contributor.authorชัยวุฒิ วิชาพูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-09-24T04:37:49Z-
dc.date.available2020-09-24T04:37:49Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743325204-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68136-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541-
dc.description.abstractจุดมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อให้ให้ทราบถึงข้อบกพร่องหรือจำกัดของกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางโบราณคดี โบราณสถาน และโบราณวัตถุ ที่อาจได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนปัญหาและอุปสรรคขององค์กรที่ บังคับใช้กฎหมาย มาตรการทางกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีความเหมาะสมที่จะนำไปบังคับใช้ เพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางโบราณคดี ที่อาจได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน ตามหลักการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมสมัยใหม่ ให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์เพียงใด จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้โบราณสถาน โบราณวัตถุ แหล่งโบราณคดี ที่อยู่ในพื้นที่โครงการสร้างเขื่อน ส่วนมากถูกทำลายไปนั้น คือ มาตรการทางกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน 2 ฉบับ ที่กำหนดมาตรการไว้ไม่เหมาะสม และสอคคล้องกับสภาพของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนอยู่หลายประการ กฎหมายฉบับที่หนึ่ง คือ พระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 มาตรา 7 กำหนดให้กรมศิลปากร ซึ่งเป็นองค์กร ภาครัฐเพียงหน่วยงานเดียวดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์ และคุ้มครอง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แหล่งโบราณคดี มีหน้าที่บังคับการให้เป็นไปตามมาตรการทางกฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒธรรมของชาติ ไม่อาจดำเนินการได้ทั่วถึงครบทุกพื้นที่ส่งผลให้หน่วยงานเจ้าของโครงการสร้างเขื่อนขาดข้อมูล เกี่ยวกับแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน ที่อยู่ในพื้นที่โครงการ รวมทั้งส่วนที่ฝังจมอยู่ใต้ดิน ที่จะนำไปกำหนดมาตรการป้องกันแก้ไขและจดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อรัฐอนุญาตให้มีการสร้างเขื่อน และกฎหมายฉบับที่สอง คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 มาตรา 46 ประกอบกับประกาศกระทรวงวิทยาคาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กำหนดขนาดโครงการของเขื่อนที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (FIA) ไว้ไม่เหมาะสม กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทาง การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไว้ไม่ชัดเจนและเหมาะสม และนอกจากนี้คณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตาม มาตรา 12 องค์ประกอบของคณะกรรมการ มีสัดส่วนที่ไม่ เหมาะสม อาจเป็นผลให้การปฏิบัติหน้าที่ขาดความเป็นอิสระ และเป็นกลาง ส่งผลให้รายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านการพิจารณาขององค์กรนี้ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะให้ปรับปรุง และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายที่ยังบกพร่องอยู่เพื่อ ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักการอนุรักษ์มรดกทางวัฒธรรมสมัยใหม่ ปรับปรุงบทบาทขององค์กรที่ เกี่ยวข้องให้เหมาะสมกับสภาพสังคม การเมืองการปกครอง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักกายกับหลักการกระจายอำนาจ และให้สิทธิประชาชน ชุมชน องค์กรต่าง ๆ เข้าไปมีส่วนร่วมรับฟังความคิดเห็นโดยวิธีประชาพิจารณ์ ก็จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ โบราณสถาน โบราณวัตถุ แหล่งโบราณคดี ในพื้นที่โครงการสร้างเขื่อนถูกทำลายน้อยที่สุด-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study are to determine loopholes or restrictions of laws concerning conservation and protection of archaeological environment, ancient buildings, curios which may be affected by construction of dan, problems and difficulties encountered by organizations enforcing the laws, whether the laws presently in force are effective enough to efficiently conserve and protect in accordance with the modern time conservation of cultural heritage the archaeological environment which may be affected by construction of dan. The study reveals that the major factor contributing to the destruction of ancient buildings, curios, and archaeological resources is the legal neasures provided in two laws. The provisions of which do not conform with be circumstances under which dan is to be constructed. The first one is the Ancient Buildings, Curios, objetsd" Art, and National Museum, B.E.2504 (A.D. 1961) as amended in B.E.2535 (A.D. 1992). The provision of Section 7 of the said law provides that the Department, of Fine Arts is the enforcing agency conserving and protecting ancient building, curios, and archaeological resources, especially the registration of national cultural heritage. Since it is the only agency engaging in such activities, its coverage is rather limited and therefore depriving the dam construction project owners from necessary information regarding archaeological resources and ancient buildings in the project area including the underground archaeological sites to enable then to formulate efficient preventive measures to reduce the impact when the project is approved by the government. The second enactment is the provision of section 46 of the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act, B.E.2535 (A.D .1992) and the Ministerial Notifications of the Ministry of Science, Technology, and Environment by which the prescription of the size of the dam the construction of which requires Environmental Impact Assessment report vas not suitable as well as unclear and unsuitable criteria and directions of such report. In addition, the inappropriate ratio of members of the National Environment Board under Section 12 shows lack of independence and may render partiality in the consideration of the Environmental Impact Assessment report. It is therefore proposed that the existing laws be amended to conform with the modern principle of cultural heritage conservation. And the roles of concerned agencies be improved to suit social, political and government conditions in conform with the principle of decentralization of power. The people, communities, and various organizations should be entitled to participate by means of public hearing.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโบราณวัตถุ -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา-
dc.subjectโบราณสถาน -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา-
dc.subjectเขื่อน-
dc.subjectการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม-
dc.titleการใช้กฎหมายเป็นกลไกในการคุ้มครองโบราณสถานโบราณวัตถุซึ่งเป็นผลกระทบจากการสร้างเขื่อน-
dc.title.alternativeThe application of law as a mechanism for the conservation of Thai cultural heritage from dam construction-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaiyawut_vi_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.08 MBAdobe PDFView/Open
Chaiyawut_vi_ch1_p.pdfบทที่ 11.93 MBAdobe PDFView/Open
Chaiyawut_vi_ch2_p.pdfบทที่ 24.07 MBAdobe PDFView/Open
Chaiyawut_vi_ch3_p.pdfบทที่ 33.98 MBAdobe PDFView/Open
Chaiyawut_vi_ch4_p.pdfบทที่ 42.37 MBAdobe PDFView/Open
Chaiyawut_vi_ch5_p.pdfบทที่ 5943.91 kBAdobe PDFView/Open
Chaiyawut_vi_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.