Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68347
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอภิฤดี เหมะจุฑา-
dc.contributor.authorชัยณรงค์ ก้องเกียรติงาม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-10-06T07:25:44Z-
dc.date.available2020-10-06T07:25:44Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9746396668-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68347-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541-
dc.description.abstractจุดประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนารูปแบบในการดำเนินการบริบาลทางเภสัชกรรมระดับต้น และรายงานผลการปฏิบัติงาน โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยรับใหม่ ณ หอผู้ป่วยอายุกรรมชาย โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2540 ถึง 31 พฤษภาคม 2541 การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานในแนวคิดที่เภสัชกรต้องบริการต่อผู้ป่วยโดยตรงในการบริบาลทาง เภสัชกรรมระดับต้น โดยดำเนินงานใน 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การรับผู้ป่วยใหม่ ขณะผู้ป่วยรับการรักษาพยาบาล ในโรงพยาบาล และก่อนผู้ป่วยกลับบ้านให้ครอบคลุมผู้ป่วยทุกรายในหอผู้ป่วยที่ศึกษา โดยการดูแลในแต่ละขั้นตอน จะเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาที่เด่นชัดเพียงบางลักษณะ ได้แก่ อาการไม่พึงประสงค์จากยา,อันตรกิริยา, การเลือกใช้ยาไม่เหมาะสมและการไม่ใช้ยาตามสั่ง หลังจากเริ่มดำเนินการตามรูปแบบที่กำหนดแล้ว 1 เดือน จึงเก็บข้อมูลปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาที่พบ การป้องกัน, แก้ไขหรือปัญหาที่ต้องติดตาม ผู้ป่วยจำนวน 210 ราย ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมระดับต้นจากเภสัชกร 1 ราย พบปัญหาเกี่ยวข้องกับการใช้ยาก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 159 ปัญหา ในผู้ป่วย 159 ราย ปัญหาที่พบบ่อย คือปัญหาการไม่ใช้ยาตามสั่งร้อยละ 54.3 รวมทั้งผู้ป่วยยังขาดความรู้-ความเข้าใจเกี่ยวกับยาที่ใช้เกือบทุกราย (ร้อยละ 97.1) ระหว่างรับการรักษาในโรงพยาบาลผู้ป่วย พบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา 167 ปัญหา ในผู้ป่วย 95 ราย เป็นปัญหาอาการไม่พึงประสงค์ 54 ปัญหา และใช้ยาซึ่งอาจเกิดอันตรกิริยาต่อกัน 71 ปัญหาการเลือก ใช้ยาไม่เหมาะสม 42 ปัญหา ดำเนินการแก้ปัญหาที่พบได้ 87 ปัญหา ป้องกันได้ 28 ปัญหา และยังต้องติดตาม ผู้ป่วยอีก 52 ปัญหา เมื่อให้บริการแนะนำให้ข้อมูลสำหรับยาที่ผู้ป่วยได้รับกลับบ้าน ยังพบปัญหาเกี่ยวข้องกับการใช้ยาอีก 18 ปัญหาในผู้ป่วย 18 ราย สามารถแก้ไขได้ 8 ปัญหาและยังต้องติดตามอีก 10 ปัญหา เมื่อ สอบถามความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติงานร่วมกับเภสัชกร และผู้ป่วยที่ได้รับบริการพบว่า มีความพึงพอใจและเห็นว่าควรปฏิบัติงานดังกล่าวต่อไป การให้บริการบริบาลทางเภสัชกรรมระดับต้นดำเนินการได้โดยให้เภสัชกรเข้าปฏิบัติงานแก่ผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์อื่น ๆ สามารถพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยาที่สำคัญ และทำการป้องกัน, แก้ไขได้ในผู้ป่วยจำนวนมากกว่าด้วยกระบวนการนี้-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to develop, implement and evaluate the primary pharmaceutical care process at Phramongkutklao hospital during December 1997- May 1998. The process was developed using the concepts of direct pharmacist-patient encounter as primary pharmaceutical care, 3 important steps of care which were upon-admission, during admission and upon discharged of a patient, were included to cover every patient in the study ward. Each step of care encompassed only some obvious drug-related problems: ADRs, DI, improper drug selection and medication non-compliance patient’s knowledge and understanding of the use of their medication were also studied. The process was implemented for 1 month, data were collected for DRPs found as well as the prevention, resolution or follow-up required. Over the study period, 210 patients, in a general medicine ward, received primary pharmaceutical care by one phamacist, 159 DRPs prior to admission was detected in 159 patients. The most commonly founds DRPs were non-compliance 54.3% most of the patients also lacked of knowledge and understanding of drug-used (97.1%) During hospital stay, 167 DRPs were found in 95 patients (45.2%). The 87 DRPs were resolved (52.1%), 28 DRPs (16.8%) were prevented and 52 DRPs (31.1%) required monitoring closedly. When the patients received medication-counseling upon discharged, 18 DRPs were found in 18 patients. 8 DRPs were resolved and 10 DRPs were to be followed up. All disciplines and the patients involved showed favorable attitudes toward the primary pharmaceutical care practice because the patients received better care. Thus the project should be continued in the future. The provision of primary pharmaceutical care for can be accomplished by having a pharmacist working with the patients and other health care professionals. The major DRPs can be found, prevented or resolved in relatively more patients through this process.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการใช้ยา-
dc.subjectการรักษาด้วยยา-
dc.subjectเภสัชกรรม-
dc.titleการบริบาลทางเภสัชกรรมระดับต้นในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า-
dc.title.alternativePrimary pharmaceutical care in Phramongkutklao Hospital-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเภสัชกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chainarong_ko_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ957.13 kBAdobe PDFView/Open
Chainarong_ko_ch1_p.pdfบทที่ 1946.2 kBAdobe PDFView/Open
Chainarong_ko_ch2_p.pdfบทที่ 2967.65 kBAdobe PDFView/Open
Chainarong_ko_ch3_p.pdfบทที่ 31 MBAdobe PDFView/Open
Chainarong_ko_ch4_p.pdfบทที่ 41.96 MBAdobe PDFView/Open
Chainarong_ko_ch5_p.pdfบทที่ 5905.51 kBAdobe PDFView/Open
Chainarong_ko_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.