Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68772
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยพร วิชชาวุธ-
dc.contributor.authorปิยะนุสรณ์ ศิริสุข-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-10-27T08:38:32Z-
dc.date.available2020-10-27T08:38:32Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9746396382-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68772-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการยืนยันในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง ในบุคคลที่มี การปะทะสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียน นิสิตนักศึกษา ข้าราชการและบุคคลที่ประกอบอาชีพอื่น ๆ เป็นคนไทย อาศัยอยู่ในประเทศไทย 170 คน คนอเมริกัน อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกา 155 คน คนไทย อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกา75 คน และคนอเมริกัน อาศัยอยู่ในประเทศไทย 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่า 1. เมื่อเปรียบเทียบกับคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยแล้ว คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกา จะมองตนเองว่ามีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมปทัสถานไทยมากกว่าคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมองตนเอง และในทำนองเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกับคนอเมริกันที่อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกาแล้ว คนอเมริกันที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย จะมองตนเองว่ามีความคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมปทัสถานอเมริกันมากกว่าคนอเมริกันที่อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกามองตนเอง 2. เมื่อเปรียบเทียบกับคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยแล้ว คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกา จะประเมินกลุ่มวัฒนธรรมปทัสถานไทยไปในทางบวกน้อยกว่าคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยประเมินกลุ่มวัฒนธรรมปทัสถานไทย และในทำนองเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกับคนอเมริกันที่อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกาแล้ว คนอเมริกันที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย จะประเมินกลุ่มวัฒนธรรมปทัสถานอเมริกันไปในทางบวกน้อยกว่าคนอเมริกันที่อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกาประเมินกลุ่มวัฒนธรรมปทัสถานอเมริกัน 3. เมื่อเปรียบเทียบกับคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยแล้ว คนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกามีการรับวัฒนธรรมปทัสถานไทยกับวัฒนธรรมปทัสถานอเมริกันว่ามีความคล้ายคลึงกันมากกว่าการรับรู้ของคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยและในทำนองเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกับคนอเมริกันที่อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกาแล้วคนอเมริกันที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย จะมีการรับรู้วัฒนธรรมปทัสถานอเมริกันกับวัฒนธรรมปทัสถานไทยว่ามีความคล้ายคลึงกันมากกว่าการรับรู้ของคนอเมริกันที่อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกา-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the reaffirmation of cultural identity in cross-cultural encounters. The subjects were 170 Thais in Thailand, 155 Americans in America, 75 Thais in America, and 75 Americans in Thailand The instrument in this research was cultural identity questionnaire The results are as follows : 1. Compared with Thais in Thailand, Thais in America see themselves as more similar to Thai cultural norm than Thais in Thailand Similarly, when compared with Americans in America, Americans in Thailand see themselves as more similar to American cultural norm than Americans in America 2. Compared with Thais in Thailand, Thais in America evaluate their Thai cultural norm less favorably. Similarly, when compared with Americans in America, Americans in Thailand evaluate their American cultural norm less favorably. 3. Compared with Thais in Thailand, Thais in America perceive the Thai cultural norm and non-Thai cultural norm as more similar to each other Similarly, when compared with Americans in America, Americans in Thailand perceive the American cultural norm and non-American cultural norm as more similar to each other.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเอกลักษณ์ชาติพันธุ์en_US
dc.subjectบุคลิกภาพกับวัฒนธรรมen_US
dc.subjectเอกลักษณ์ทางสังคมen_US
dc.subjectการสังสรรค์ทางวัฒนธรรมen_US
dc.subjectEthnicityen_US
dc.subjectPersonality and cultureen_US
dc.subjectGroup identityen_US
dc.subjectAcculturationen_US
dc.titleการยืนยันในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง ในบุคคลที่มีการปะทะสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมen_US
dc.title.alternativeReaffirmation of cultural identity in cross-cultural envountersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาสังคมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChaiyaporn.W@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyanusorn_si_front_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Piyanusorn_si_ch1_p.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Piyanusorn_si_ch2_p.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Piyanusorn_si_ch3_p.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Piyanusorn_si_ch4_p.pdf769 kBAdobe PDFView/Open
Piyanusorn_si_ch5_p.pdf905.62 kBAdobe PDFView/Open
Piyanusorn_si_back_p.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.