Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68774
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์-
dc.contributor.advisorสมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล-
dc.contributor.authorเจนจิรา แก้วรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-10-27T08:44:12Z-
dc.date.available2020-10-27T08:44:12Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9746396706-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68774-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการศึกษาความสามารถของโกงกางใบเล็กเพื่อบำบัดน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้ง เน้นศึกษาการลดปริมาณไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยแบ่งโกงกางใบเล็กเป็น 3 ขนาดตามมวลชีวภาพเริ่มต้นคือ 160.3, 122.4 และ 82.5 กรัมต่อต้น และแต่ละขนาดแบ่งเป็น 3 กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มทดลองที่ได้รับน้ำทะเล น้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้ง และ Hoagland solution พบว่าโกงกางใบเล็กที่ได้รับ Hoagland solution มีอัตราการดูดซับไนโตรเจน และฟอสฟอรัสสูงสุดเฉลี่ยเท่ากับ 925.7 และ 143.4 กิโลกรัมต่อเฮกแตร์ต่อปีตามลำดับ โดยไม่มีความแตกต่างทางสถิติในทุกขนาดมวลชีวภาพเริ่มต้นที่ศึกษา (p>0.05) ส่วนโกงกางใบเล็กที่ได้รับน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้ง มีอัตราการดูดซับไนโตรเจน และฟอสฟอรัสเฉลี่ยเท่ากับ 148.1 และ 16.0 กิโลกรัมต่อเฮกแตร์ต่อปีตามลำดับ และจากการวิจัยยังพบว่าโกงกางใบเล็กที่ได้รับน้ำทะเลมีการปลดปล่อยไนโตรเจนและฟอสฟอรัสออกมา ส่วนมวลชีวภาพที่เพิ่มขึ้นพบว่าโกงกางใบเล็กที่ได้รับ Hoagland solution น้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้ง และน้ำทะเลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ซึ่งโกงกางใบเล็กที่ได้รับ Hoagland solution มีมวลชีวภาพเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยที่มวลชีวภาพเริ่มต้น 160.3, 122.4 และ 82.5 กรัมต่อต้น มีมวลชีวภาพเพิ่มขึ้นเท่ากับ 20.9, 41.4 และ 36.0 ต้นต่อเฮกแตร์ต่อปีตามลำดับ ส่วนโกงกางใบเล็กที่ได้รับน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งมีมวลชีวภาพเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11.2 ต้นต่อเฮกแตร์ต่อปี โดยไม่แตกต่างกันในทุกขนาดที่ศึกษา และโกงกางใบเล็กที่ได้รับน้ำทะเลมีมวลชีวภาพเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่สุด 6.2 ตันต่อเฮกแตร์ต่อปี นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณไนโตรเจน และฟอสฟอรัสที่ถูกดูดซับกับมวลชีวภาพที่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าสามารถใช้โกงกางใบเล็กในการบำบัดจากการเลี้ยงกุ้งได้ดี และมีประสิทธิภาพ ใกล้เคียงกันในทุกขนาดที่ศึกษา ซึ่งโกงกางใบเล็กมีประสิทธิภาพการลดปริมาณไนโตรเจน และฟอสฟอรัสในน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งได้ประมาณ 80% ส่วนในกรณีที่มีปริมาณธาตุอาหารมากใน Hoagland solution โกงกางใบเล็กมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณไนโตรเจน และฟอสฟอรัสประมาณ 90%-
dc.description.abstractalternativeThe efficiency of Rhizophora apiculata on nitrogen and phosphorus reduction of shrimp culture effluent was designed using 3 mangrove initial biomass (160.3 ,122.4 and 82 .5 g /stem) and 3 effluent sources (seawater, water effluent from shrimp culture and Hoagland solution). The results indicated that R. apiculata cultured in different effluent sources had significant differences in nitrogen and phophorus uptake rates (p< 0.05). R. apiculata grown in Hoagland solution showed the highest uptake rate of nitrogen and phosphorus at 925.7 and 143.4 kg /ha/yr respectively, and had no significant difference among initial biomass (p > 0 .05). For shrimp culture effluent, R. apiculata uptake rate of nitrogen and phosphorus was 148.1 and 16.0 kg/ha /yr, respectively. R. apiculata grown only in seawater showed no uptake of either nitrogen or phosphorus, but some nitrogen and phosphorus was released from the system to the water. For mangrove production, R. apiculata cultured in different effluent sources had significant differences in biomass production (p< 0.05). R. apiculata grown in Hoagland solution showed that its production varied by initial biomass (160.3, 122.4 and 8 2.5 g/stem) at 20.9, 41.4 and 36.0 ton/ha/yr, respectively. Production of R. apiculata grown in shrimp culture effluent was 11.2 ton/ha/yr without any biomass effect. There was only a small gain in mangrove grow n in seawater, at 6.2 ton/ha/yr. Reduction of nitrogen and phosphorus from the effluent water was significantly correlated to mangrove production. The results indicate that shrimp farm effluent can be treated by R. apiculata. Comparison nitrogen and phosphorus uptake by plant, R. apiculata gave an efficiency of 90% when grown in Hoagland solution and 80 % when grown in shrimp culture effluent without any biomass effect.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไม้โกงกางen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัดen_US
dc.subjectกุ้ง -- การเลี้ยงen_US
dc.subjectป่าชายเลนen_US
dc.subjectRhizophoraen_US
dc.subjectSewage -- Purificationen_US
dc.subjectShrimp cultureen_US
dc.subjectMangrove forestsen_US
dc.titleความสามารถของโกงกางใบเล็ก Rhizophora apiculata เพื่อการบำบัดน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งen_US
dc.title.alternativeEfficiency of Rhizophora apiculata for treatment of shrimp farm effluenten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPipat.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSomkiat.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jenjira_ka_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ991.86 kBAdobe PDFView/Open
Jenjira_ka_ch1_p.pdfบทที่ 1685.76 kBAdobe PDFView/Open
Jenjira_ka_ch2_p.pdfบทที่ 21.41 MBAdobe PDFView/Open
Jenjira_ka_ch3_p.pdfบทที่ 31.53 MBAdobe PDFView/Open
Jenjira_ka_ch4_p.pdfบทที่ 41.88 MBAdobe PDFView/Open
Jenjira_ka_ch5_p.pdfบทที่ 51.04 MBAdobe PDFView/Open
Jenjira_ka_ch6_p.pdfบทที่ 6655.09 kBAdobe PDFView/Open
Jenjira_ka_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.