Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68903
Title: ผลของสารสีอัลตรามารีนบลูและฟแทโลไซยานีนบลูต่อการเกิดผลึกของพอลิโพรพิลีน
Other Titles: Effects of ultramarine blue and phthalocyanine blue pigments on crystallization of polypropylene
Authors: กชกร กีรติจิรัฐิติกาล
Advisors: อรอุษา สรวารี
วรรณี ฉินศิริกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: โพลิโพรพิลีน
การตกผลึก
Polypropylene
Crystallization
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของสารสีอัลตรามารีนบลูและสารสีฟแทโลไซยานีนบลูต่อการเกิดผลึกของพอลิโพรพิลีน โดยนำสารสีอัลตรามารีนบลูหรือฟแทโลไซยานีนบลูปริมาณร้อยละ 0.0001-0.1 โดยน้ำหนัก ผสมกับพอลิโพรพิลีนด้วยเครื่องอัดรีดสกรูเดี่ยว ทำให้ได้เม็ดพอลิโพรพิลีนผสมสารสี แล้วนำเม็ดพอลิโพรพิลีนผสมสารสีที่เตรียมได้ไปตรวจสอบพฤติกรรมการเกิดผลึกด้วยเทคนิคดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิงคาลอริเมทรี พบว่า อุณหภูมิการเกิดผลึกของพอลิโพรพิลีนค่อนข้างคงที่เมื่อปริมาณ อัลตรามารีนบลูและฟแทโลไซยานีนบลูสูงกว่าร้อยละ 0.002 และ 0.01 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ จึงนำพอลิโพรพิลีนผสมอัลตรามารีนบลู (ร้อยละ 0.0001-0.002 โดยน้ำหนัก) และผสมฟแทโลไซยานีนบลู (ร้อยละ 0.0001-0.02 โดยน้ำหนัก) มาขึ้นรูปเป็นชิ้นงานด้วยเครื่องอัดรีดแผ่นสกรูเดี่ยว จากนั้น นำชิ้นงานไปตรวจสอบพฤติกรรมการเกิดผลึก ขนาดผลึกสเฟียรูไลต์ โครงสร้างผลึก ความต้านแรงดึง และความใส โดยเปรียบเทียบผลการตรวจสอบทั้งหมดกับพอลิโพรพิลีนที่ไม่ได้ใส่สารสี จากการทดลองพบว่า การใส่สารสีอัลตรามารีนบลูหรือสารสีฟแทโลไซยานีนบลูที่ปริมาณเล็กน้อย มีผลทำให้พอลิโพรพิลีนมีอุณหภูมิการเกิดผลึกและดีกรีความเป็นผลึกเพิ่มขึ้น รวมทั้งทำให้ สเฟียรูไลต์ขนาดเล็กลง แสดงให้เห็นว่า ทั้งสารสีอัลตรามารีนบลูและฟแทโลไซยานีนบลูสามารถทำหน้าที่เป็นสารก่อนิวเคลียสผลึกของพอลิโพรพิลีนได้ โดยฟแทโลไซยานีนบลูเป็นสารก่อนิวเคลียสผลึกที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะสามารถทำให้อุณหภูมิการเกิดผลึกของพอลิโพรพิลีนเพิ่มขึ้นถึง 15 องศาเซลเซียส จากเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกโตแกรมแสดงให้เห็นว่า การใส่สารสีทั้ง 2 ชนิดไม่มีผลต่อรูปผลึกของพอลิโพรพิลีน ผลการทดสอบความต้านแรงดึงและสมบัติทางแสง พบว่า การใส่อัลตรามารีนบลูและ ฟแทโลไซยานีนบลู สามารถปรับปรุงความต้านแรงดึงและความใสของพอลิโพรพิลีนได้
Other Abstract: In this research, effects of ultramarine blue (ULT) and phthalocyanine blue (PHT) pigments on crystallization of polypropylene (PP) were investigated. Either ULT pigment or PHT pigment at the amount of 0.0001-0.1 wt% was melt mixed with PP in a single screw extruder. The obtained extrudates were pelletized and then examined for their crystallization behaviors using differential scanning calorimetry (DSC) technique. It was observed that the crystallization temperature of PP was nearly constant when the ULT and PHT concentrations were increased from 0.002 wt% and 0.01 wt%, respectively. Thus, the series of PP filled with various concentrations of ULT (0.0001-0.002 wt%) and PHT (0.0001-0.02 wt%) pigments were consequently fabricated into thin sheets using a single screw plastic sheet extruder. The PP/pigment samples were characterized for their crystallization behavior, size of spherulites, crystal structure, tensile strength, and clarity. Overall results were compared with those of the neat PP. It was found that the addition of even a very small amount of ULT or PHT into PP resulted in a higher crystallization temperature, a higher degree of crystallinity, and a smaller spherulite size. This indicated that both ULT and PHT are able to nucleate PP, in which PHT is a very efficient nucleating agent, increasing the crystallization temperature of PP by 15°C. X-ray diffraction patterns revealed that the addition of both pigments did not affect the crystal structure of PP. The results of tensile and optical tests showed that the tensile strength and clarity of PP were improved with the ULT and PHT addition.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68903
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5272690423.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.