Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68960
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชโยดม สรรพศรี-
dc.contributor.authorธเนศ กิตติชีวเวช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2020-10-30T08:10:58Z-
dc.date.available2020-10-30T08:10:58Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743316442-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68960-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการทำวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่ต้องการศึกษาถึงลักษณะและทำการทดสอบความมีประสิทธิภาพของตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศของประเทศไทย โดยลักษณะตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศของประเทศไทยนั้นมีขนาดที่ค่อนข้างจะเล็ก เนื่องมาจากทางการได้อนุญาตให้แก่เฉพาะบุคคลหรือสถาบันที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศเท่านั้น ซึ่งได้แก่ ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก บริษัทหรือนักลงทุนที่มีทรัพย์สินหรือหนี้สินเป็นเงินตราต่างประเทศ นักลงทุนต่างประเทศในรูปบัญชีเงินบาท และธนาคารพาณิชย์โดยที่ตัวกลางในการทำการ ซื้อขายนั้นทางการได้อนุญาตให้เฉพาะแก่ ธนาคารพาณิชย์เท่านั้น และในการทดสอบความมีประสิทธิภาพตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศของประเทศไทยนั้น ได้พิจารณา ถึงผลของ ARCH effect เพี่อที่จะดูถึงความเปลี่ยนแปลงของความผันแปรทางด้านเวลาว่าจะมีผลต่อความมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยได้ใช้วิธี Cointegration และ Error Correction Model ในการทดสอบความมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้ทดสอบกับกรณีอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เงินเยนญี่ปุ่น และเงินมาร์คเยอรมัน โดยข้อมูลที่ใช้จะเป็นข้อมูลรายวันและ รายสัปดาห์ของอัตราแลกเปลี่ยนทันทีและอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ซึ่งได้แบ่งการทดสอบออกเป็น 2 ช่วงเวลาดังนี้คือ ช่วงของ การใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบผูกติดกับตระกร้าเงินในช่วงวันที่ 1 ก.ค. 2539 ถึง วันที่ 1 ก.ค. 2540 กับช่วงของการใช้ระบบ อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวในช่วงวันที่ 2 ก.ค. 2540 ถึง วันที่ 2 ก ค. 2541 ผลการทดสอบสรุปได้ว่าในระยะยาวในทุก ๆ กรณีตลาดยังไม่มีประสิทธิภาพ ส่วนในระยะสั้นกรณีอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวในส่วนของบาทต่อ 100 เยน สามารถสรุปความมีประสิทธิภาพของตลาดได้ ซึ่งผลสรุปที่ได้จากการวิเคราะห์ในครั้งนี้ได้คำนึงถึงการมี Risk Premium ไว้ในแบบจำลองด้วยทำให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นกว่าการทดสอบประสิทธิภาพในอดีต โดยที่สาเหตุของการไม่มีประสิทธิภาพก็เนื่องมาจากการเกิดมี Risk Premium เกิดขึ้นในตลาดและการคาดการณ์อย่างไม่มีเหตุผลของนักลงทุน และจากการที่ตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศของประเทศไทยไม่มีประสิทธิภาพเกิดขึ้น จึงได้มีการเสนอแนวนโยบายในการแก้ไขเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในตลาดรวมถึงการทำให้ตลาดมีการคาดการณ์ อย่างมีเหตุผลมากขึ้นเช่นนโยบาย เกี่ยวกับการป้องกันความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน การจัดองค์กรให้มีความเหมาะสมกับตลาดเงินตราต่างประเทศ และการทำให้เกิดความโปร่งไสในการจัดทำการเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชน ซึ่งจากนโยบายที่ได้นำเสนอมานี้จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศของประเทศไทยเกิดการมีประสิทธิภาพเกิดขึ้นได้ในอนาคต-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research are to study structure of Thailand foreign exchange market and to test its efficiency Thailand foreign exchange market is structurally small because government only allows some businesses involving with foreign currency to buy They are importer, exporter, company and business that have foreign currency assets or liabilities, foreign investor with baht account, and commercial bank. Commercial banks are also allowed to dealer. For this study ARCH effect was used to determine the efficiency of Thailand foreign exchange market to see the effect of time varying volatility. Then, the Cointegration and Error Correction Model was tested for the market efficiency. This research used daily data and weekly data of spot and forward exchange rate of US dollar, Japanese yen and Deutsche mark against baht. The data was divided into two time periods. The first period was from the period of basket exchange rate regime between 1July 1996 to 1 July 1997. The second period was from the period of managed float exchange rate regime between 2 July 1997 to 2 July 1998. It can be concluded from the results that in the long run Thailand foreign exchange market is not efficient in all cases but the in short run Thailand foreign exchange market is efficient only during the period of managed float exchange rate regime of B.100Y. This analysis includes the risk premium which was neglected in the previous model. The fact that inefficiency of Thailand foreign exchange market can be explained by the risk premium and irrational expectation of investors, the policies regarding reduced risk premium and rational expectation of investors in the foreign exchange market such as policies for prevention for volatile excahage rate, reconstructive organization, and transparency for disseminates data, are recommended as means of increasing the market efficiency in the future.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตลาดเงินตราต่างประเทศ -- ไทยen_US
dc.subjectปริวรรตเงินตรา -- ไทยen_US
dc.subjectอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าen_US
dc.subjectForeign exchange market -- Thailanden_US
dc.subjectForeign exchange -- Thailanden_US
dc.subjectForeign exchange futuresen_US
dc.titleประสิทธิภาพตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศของประเทศไทยโดยพิจารณาผลของ ARCH effecten_US
dc.title.alternativeEfficiency in Thai foreign exchange market : ARCH effect analysisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChayodom.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanet_ki_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ994.78 kBAdobe PDFView/Open
Thanet_ki_ch1_p.pdfบทที่ 11.02 MBAdobe PDFView/Open
Thanet_ki_ch2_p.pdfบทที่ 21.11 MBAdobe PDFView/Open
Thanet_ki_ch3_p.pdfบทที่ 31.61 MBAdobe PDFView/Open
Thanet_ki_ch4_p.pdfบทที่ 41.17 MBAdobe PDFView/Open
Thanet_ki_ch5_p.pdfบทที่ 53.01 MBAdobe PDFView/Open
Thanet_ki_ch6_p.pdfบทที่ 6901.1 kBAdobe PDFView/Open
Thanet_ki_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก728.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.