Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69376
Title: ผลฉับพลันของการหายใจแบบโยคะที่มีต่อความเครียดและคลื่นไฟฟ้าสมองในบุคคลวัยก่อนเกษียณ
Other Titles: The acute effects of yoga breathing on stress and brainwaves in pre-retirement age persons
Authors: อานนท์ อุส่าห์เพียร
Advisors: วรรณพร ทองตะโก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Wannaporn.To@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของการหายใจแบบโยคะที่มีต่อ ความเครียดและคลื่นไฟฟ้าสมองในบุคคลวัยก่อนเกษียณ กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลวัยก่อนเกษียณ อายุระหว่าง 55 – 59 ปี เพศชายและเพศหญิง มีระดับความเครียด 24 – 61 คะแนน จากแบบวัดความเครียดสวนปรุง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 16 คน คือ กลุ่มหายใจแบบโยคะโดยใช้เดอกะปราณายามะเป็นเวลา 10 นาที และกลุ่มหายใจแบบปกติ ได้รับการหายใจแบบปกติเป็นเวลา 10 นาที โดยเก็บข้อมูลตัวแปรค่าความแปรปรวนอัตราการเต้นหัวใจและตัวแปรด้านคลื่นไฟฟ้าสมอง วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองด้วยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่า ทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย  พบว่าหลังการทดลองกลุ่มหายใจแบบโยคะมีค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก อัตราการหายใจขณะพัก ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่ต่ำ (LF)  และอัตราส่วนระหว่างความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่ต่ำต่อความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่สูง (LF/HF ratio) มีค่าลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่ค่าเฉลี่ยคลื่นสมองเบต้า คลื่นสมองอัลฟ่า และความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่สูงมีค่าเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับกลุ่มหายใจแบบปกติ พบว่ามีค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก คลื่นสมองอัลฟ่า และความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่สูง (HF) มีค่าลดลงแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่ค่าเฉลี่ยความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่ต่ำ (LF)  มีค่าเพิ่มขึ้นแตกต่างกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่ากลุ่มหายใจแบบโยคะมีค่าเฉลี่ยความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจความถี่ต่ำ (LF) ลดลงแตกต่างกับกลุ่มหายใจแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05. การหายใจแบบโยคะโดยใช้เดอกะปราณายามะส่งผลดีต่อตัวแปรด้านความเครียดและคลื่นไฟฟ้าสมอง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการช่วยลดความเครียดในบุคคลวัยก่อนเกษียณได้
Other Abstract: The purpose of this research was to determine the acute effects of yoga breathing on stress and brainwaves in pre-retirement age persons. Thirty - two male and female in pre-retirement aged 55 – 59 years old who have stress scores 24 – 61 points from SPST – divided into 2 groups; yoga breathing group (YG; n=16) and control groups (CON; n=16). The YG group was administered to complete Dirgha breathing for 10 minutes and the CON group asked to perform quiet breathing for 10 minutes. Physiological data, heart rate variability variables and brainwaves variables were analyzed during Pre- and Post-test. The dependent variables between pre-test and post-test were analyzed by a paired t-test. Independent t-test was used to compare the variables between groups. Differences were considered to be significant at p < .05. After the experiment, the YG group decreased heart rate, respiratory rate, LF, and LF/HF ratio when compared to pre-test (p<.05). Moreover, the YG group increased beta brainwave, alpha brainwave, and HF when compared to pre-test (p<.05). The CON group decreased heart rate, alpha brainwave, and HF when compared to pre-test (p<.05). The CON group increased LF when compared to pre-test (p<.05). In addition, the YG group decreased LF when compared to CON group (p<.05). The present findings demonstrated that yoga breathing using Dirgha Pranayama has a positive effect on stress parameters and the EEG  in pre-retirement persons.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69376
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1121
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1121
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6178420639.pdf7.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.