Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69459
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์-
dc.contributor.authorพิชญา วัฒนวิทูกูร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T10:07:03Z-
dc.date.available2020-11-11T10:07:03Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69459-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง  เพื่อศึกษาความชุกของความตั้งใจไม่มีบุตร และความเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพและการเผชิญปัญหา ในผู้ที่มาจดทะเบียนสมรสใหม่ ณ สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มาจดทะเบียนสมรสเพศชายและหญิงจำนวน 380 คน โดยใช้แบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบทดสอบบุคลิกภาพ MPI (The Maudsley Personality Inventory) และแบบวัดการเผชิญปัญหา ใช้ Univariate analysis (ได้แก่ T-Test และ Chi-Square) เพื่อทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจไม่มีบุตร และใช้ Multivariate Analysis เพื่อหาปัจจัยทำนายของความตั้งใจไม่มีบุตรในผู้มาจดทะเบียนสมรสกลุ่มนี้ ผลการศึกษาพบว่าความชุกของความตั้งใจไม่มีบุตรในผู้มาจดทะเบียนสมรสมีอัตราร้อยละ 13.7 เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่าบุคลิกภาพ มิติที่ 1 ด้านพฤติกรรม (Scale E – extraversion) มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจไม่มีบุตรอย่างมีนัยสำคัญ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัว (Introvert) มีความตั้งใจไม่มีบุตรสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะบุคลิกภาพแบบแสดงตัว (Extravert) นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหา (1.8 - การแสวงหาการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความตั้งใจไม่มีบุตรอย่างมีนัยสำคัญ และการใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี  การใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี (3.4 - การเก็บความรู้สึกไว้คนเดียว) และการใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี (3.2 - การไม่แสดงออกทางพฤติกรรม) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความตั้งใจไม่มีบุตรในผู้มาจดทะเบียนสมรสอย่างมีนัยสำคัญ-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this cross-sectional descriptive study was to examine the intention to have no children and association with personality and coping among those who come to get marriage registration at Bangrak District Office, Bangkok Metropolis. The study was conducted in 380 participants who come to get marriage registration at Bangrak District Office, Bangkok Metropolis. The data were collected by questionnaires including Demographic data questionnaire, the MPI (The Maudsley Personality Inventory), and Coping Questionnaire. The characteristics of the participants were presented as frequency and percentage. Inferential statistics were analyzed by chi-square, t-test, and logistic regression. The results revealed that the prevalence of intention to have no children was found 13.7%. Personality - Scale E (Extraversion) was found significantly associated with intention to have no children, which the participants with introverted personality tend to have higher intention to have no children than those with extraverted personality. Also those with the intention to have no children have significantly lower in problem focus coping (dimension - seek to belong), while having significantly higher in avoidance coping, avoidance coping (dimension - keep to self), and avoidance coping (dimension - behavioral disengagement).-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1412-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleความตั้งใจมีบุตร และความเกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพและการเผชิญปัญหาในผู้ที่มาจดทะเบียนสมรสใหม่ ณ สำนักงานเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร-
dc.title.alternativeIntention to Have Children and Association with Personality and Coping among Those Who Come to Get Marriage Registration at Bangrak District Office, Bangkok Metropolis.-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineสุขภาพจิต-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1412-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6174018330.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.