Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69460
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชัย สิทธิศรัณย์กุล-
dc.contributor.authorมรรษยุว์ อิงคภาสกร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-11-11T10:07:04Z-
dc.date.available2020-11-11T10:07:04Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69460-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตร MALS (Maritime and Aquatic Life Support) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เรียนจำนวน 328 คน ผู้สอนจำนวน 10 คน และผู้บังคับบัญชาจำนวน 15 คน คัดเลือกจากหน่วยงานที่มีผู้ผ่านการเรียนหลักสูตร MALS ในปี 2560 และ 2561 จำนวน 15 หน่วยงาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าหลังการอบรม เกินครึ่งหนึ่งของผู้เรียนไม่มีโอกาสนำไปปฏิบัติจริงในที่ทำงานเพราะยังเป็นนักเรียนนักศึกษาอยู่ โดยเป็นกลุ่ม Basic Course (B-MALS) 107 คน (ร้อยละ 51.4) และกลุ่ม Health Care Provider Course (MALS-HCP) 75 คน (ร้อยละ 62.5) ความรู้และการนำไปปฏิบัติเมื่อเทียบก่อนเข้ารับการอบรมและหลังการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติการฉุกเฉินทางน้ำและทะเล (MALS) มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 89.9 ในกลุ่ม B-MALS และร้อยละ 94.2 ในกลุ่ม MALS-HCP ความมั่นใจในการปฏิบัติงานหลังจบหลักสูตรในทั้งสองกลุ่มอยู่ที่ร้อยละ 50.0 ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ได้แก่ ควรกำหนดคุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร B-MALS และ MALS-HCP ให้ชัดเจน หลักสูตรการอบรมควรยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การจัดการเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับการนำไปปฏิบัติจริง เพิ่มศักยภาพครูผู้สอนและพัฒนาหลักสูตรการอบรมอย่างต่อเนื่อง-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research and development was to develop suggestions to improve the MALS (Maritime and Aquatic Life Support) curriculum. The samples consisted of 328 students, 10 teachers and 15 supervisors, selected from 15 agencies that completed the MALS courses in 2017 and 2018. The tools used to collect data included questionnaires and in-depth interviews validated by 3 experts. The data was analyzed by descriptive statistics. The results revealed that more than half of the trainees had no opportunity to practice in the workplace because they still were students: 107 (51.4%) of the Basic Course group (B-MALS), and 75 (62.5%) of the Health Care Provider Course group (MALS-HCP). Regarding knowledge, understanding and practice compared post-to-pre MALS training, the B-MALS group reported 89.9% higher knowledge and the MALS-HCP Group reported 94.2%. After training, half of each group were confident. Our suggestions included clear prerequisite qualifications of the trainees, trainee-centeredness, consistency with the future actual practice, increase teachers’ potentiality, and continuous improvement of the training courses.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.720-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleวิจัยและพัฒนาหลักสูตรการกู้ชีพและช่วยชีวิตทางน้ำ-
dc.title.alternativeResearch and development (R&D) of maritime and aquatic life support course-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.720-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6174021130.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.