Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69469
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจของหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวและอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยหลังได้รับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านทางสายสวน
Other Titles: Baseline electrocardiographic left ventricular hypertrophy and survival after transcatheter aortic valve replacement
Authors: เฉลิมชัย โกเมนธรรมโสภณ
Advisors: สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาและความสำคัญ: การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านทางสายสวนเป็นการรักษามาตรฐานในผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบรุนแรงและมีอาการที่มีความเสี่ยงในการผ่าตัดสูง หัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวเป็นการปรับตัวตอบสนองต่อแรงต้านทานที่สูงจากลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบและอาจพบคลื่นไฟฟ้าหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวอย่างไรก็ดีผู้ป่วยบางรายอาจไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวเนื่องจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ภาวะผังผืดกล้ามเนื้อหัวใจ การศึกษานี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวกับอัตราการเสียชีวิตหลังเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านทางสายสวน ระเบียบวิธีวิจัย: ผู้ป่วยทุกรายที่เปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านทางสายสวนที่รพ.จุฬาลงกรณ์ในพุทธศักราช 2543-2562 ถูกคัดเข้าการศึกษา ใช้การวิเคราะห์ Kaplan-Meier analysis เปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตหลังเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านทางสายสวนระหว่างกลุ่มที่พบและไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวโดยเกณฑ์วินิจฉัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวของ Peguero-Lo Presti รวมถึงเปรียบเทียบอัตราการนอนโรงพยาบาลด้วยโรคหัวใจล้มเหลว อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางโรคหัวใจและหลอดเลือดรุนแรงระหว่างผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยทั้งหมด 156 รายที่ถูกคัดเข้าการศึกษา 22 รายถูกคัดออกเพราะภาวะการปิดกั้นทางเดินไฟฟ้าของหัวใจห้องล่างทางซ้ายหรือทางขวาอย่างสมบูรณ์(complete left/right bundle branch block)หรือขาดการตรวจติดตาม อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยทั้งหมดเท่ากับ 82.3 ปีและเป็นเพศชายร้อยละ 42.5 เป็นกลุ่มที่พบและไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัว 81 และ 53 รายตามลำดับ กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่พบภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวตามเกณฑ์ของ Peguero Lo-Presti สัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อัตราส่วนความเสี่ยงอันตราย(hazard ratio; HR) 2.029 ช่วงความเชื่อมัน 95% (95% CI) 1.122-3.670 (p-value = 0.019) และพบอัตราการนอนโรงพยาบาลด้วยโรคหัวใจล้มเหลวที่สูงกว่า (HR=2.14, 95%CI: 1.02-2.80, p = 0.017) และอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางโรคหัวใจและหลอดเลือดรุนแรงที่สูงกว่า (HR =1.79 , 95%CI=1.0-2.9, p = 0.023) สรุปผลการศึกษา: การไม่พบคลื่นไฟฟ้าหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวโดยเกณฑ์ Peguero Lo-Presti สัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของผู้ป่วยที่เป็นโรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบอย่างรุนแรงและมีอาการหลังได้รับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกเทียมผ่านทางสายสวน
Other Abstract: Background: Transcatheter aortic valve replacement (TAVR) has become the standard of care for patients with symptomatic severe aortic stenosis (AS) who are at intermediate or greater risk for surgical valve replacement. Electrocardiographic left ventricular hypertrophy (ECG-LVH) with strain pattern is considered a response to pressure load in severe AS. However, particular subset of patients with severe AS who underwent TAVR may not have ECG-LVH because of infiltrative cardiomyopathy, myocardial fibrosis, obesity, COPD. We aimed to assess the adverse prognosis associated with the absence of baseline ECG-LVH after TAVR. Materials and Methods: All patients who underwent TAVR at King Chulalongkorn Memorial Hospital during 2010-2019 were included. ECG-LVH were analyzed by Peguero–Lo Presti criteria. Mortality following TAVR procedures, using Kaplan-Meier method and Cox regression analysis, was compared between patients with vs without ECG-LVH. In addition, heart failure hospitalization, stroke and major adverse cardiovascular events (MACE) were also compared. Results: Total of 156 participants were included in this study, 22 patients were excluded due to complete right/left bundle branch block or loss to follow-up after TAVR. The mean age of the patients was 82.3 years, and 42.5% were men. The absence of ECG-LVH group (n= 53) had significantly higher mortality (HR 2.02 , 95%CI 1.12-3.67, p = 0.019), higher HF hospitalization (HR=2.14, 95%CI: 1.02-2.80, p = 0.017, and higher MACE (HR =1.79 , 95%CI=1.0-2.9, p = 0.023). Conclusion: Baseline absence of ECG-LVH by Peguero–Lo Presti criteria was significantly associated with higher mortality in severe symptomatic aortic stenosis patients who underwent TAVR.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69469
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1472
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1472
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6174045230.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.