Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69491
Title: การศึกษาการตรวจคัดกรองโรคโกเชร์อย่างเป็นระบบในผู้ป่วยที่มีม้ามโต และ/หรือ เกล็ดเลือดต่ำ
Other Titles: Systematic Screening for Gaucher disease in patients with splenomegaly and/or thrombocytopenia
Authors: ปิยะพร ชื่นกลิ่น
Advisors: พลภัทร โรจน์นครินทร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาและความสำคัญ: โรคโกเชร์ (Gaucher disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ของยีนเบต้ากลูโคสิเดส ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่มักจะมาด้วยม้ามโต และ/หรือเกล็ดเลือดต่ำ แต่จากการที่เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก  การวินิจฉัยโรคโกเชร์จึงอาจจะพลาดไป ถ้าไม่ได้มีการตรวจคัดกรองอย่างเป็นระบบ การศึกษาจากประเทศอิตาลีพบความชุกร้อยละ 3.6 ในผู้ป่วย 196 รายที่มาด้วยม้ามโตและ/หรือเกล็ดเลือดต่ำ อย่างไรก็ตาม ความชุกของโรคโกเชร์ในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาอย่างชัดเจน วิธีการ : ศึกษาวิเคราะห์แบบตัดขวาง (cross-sectional study) เพื่อประเมินความชุกของโรคโกเชร์ในผู้ป่วยที่มีม้ามโต และ/หรือ เกล็ดเลือดต่ำ โดยใช้การตรวจคัดกรองอย่างเป็นระบบ ด้วยวิธี dry blood spot enzyme assay (DBS) และตรวจยืนยันผลด้วยการตรวจเอ็นไซม์และยีน ในกรณีที่ผลการตรวจคัดกรองเป็นบวก นอกจากนี้ยังศึกษาลักษณะต่างๆทางคลินิกที่ช่วยในการบ่งชี้การวินิจฉัยสุดท้ายแต่ละอย่าง ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยที่มาด้วยม้ามโต และ/หรือเกล็ดเลือดต่ำ จำนวนทั้งสิ้น 195 ราย เข้าร่วมในงานวิจัย อายุเฉลี่ยเท่ากับ 49.5 ปี (15-91 ปี) เป็นเพศหญิง 122 ราย (ร้อยละ 62.5) ผู้ป่วย 26 ราย มีม้ามโตและเกล็ดเลือดต่ำ โดยในกลุ่มนี้วินิจฉัยว่าเป็นตับแข็งจำนวน 14 ราย (ร้อยละ 53.8) วินิจฉัยว่าเป็นธาลัสซีเมีย 6 ราย (ร้อยละ 23) และเป็นกลุ่มโรคมะเร็งทางโลหิต 3 ราย (ร้อยละ 11.5) ผู้ป่วยจำนวน 56 รายมีม้ามโต โดยไม่มีเกล็ดเลือดต่ำ พบเป็นธาลัสซีเมียร้อยละ 71.4 พบเป็นมะเร็งทางโลหิต ร้อยละ 21.4 และ ตับแข็ง ร้อยละ 1.79 กลุ่มที่มีเกล็ดเลือดต่ำมีจำนวน 113 ราย โดยการวินิจฉัยที่พบมากที่สุดคือ immune thrombocytopenia (ITP) พบร้อยละ 51.3 วินิจฉัย myelodysplastic syndrome (MDS) ร้อยละ 17 กลุ่มมะเร็งโลหิตอื่นๆ และตับแข็ง อย่างละร้อยละ 7 จากผู้ป่วย 195 ราย มีผู้ป่วย 2 รายที่ตรวจพบมีเบต้ากลูโคสิเดสเอนไซม์ต่ำจาก DBS โดยเป็นผู้ป่วยที่มีม้ามโตและเกล็ดเลือดต่ำ แต่จากการตรวจยืนยันผลไม่พบความผิดปกติ โดยผู้ป่วยทั้งสองราย วินิจฉัยสุดท้ายเป็นตับแข็ง ในด้านการบ่งชี้การวินิจฉัยสุดท้าย โรคธาลัสซีเมียพบ ค่า Hb 10 ก/ดล โดยมี ความไว ร้อยละ 89.1 ความจำเพาะร้อยละ 71.1 ค่า MCV  80 fL โดยมีความไวร้อยละ  87 ความจำเพาะร้อยละ 81.9 ค่า RDW  20% โดยมีความไวร้อยละ 80.4 ความจำเพาะร้อยละ 91.3 และ ferritin ที่  800 mcg/L โดยมีความไวร้อยละ 80 ความจำเพาะร้อยละ 80.8 นอกจากนี้ค่า albumin 3.5 ก/ดล สัมพันธ์กับโรคตับแข็ง โดยมี Odds ratio 5.32 (95% confidence interval 2.13 - 13.3) สรุป : ความชุกของโรคโกเชร์ในประเทศไทย (0/195) อาจต่ำกว่าที่เคยมีการศึกษาในยุโรป  นอกจากนี้พบว่าค่า Hemoglobin ดัชนีเม็ดเลือดแดง albumin และ ferritin มีประโยชน์ในการวินิจฉัยผู้ป่วยไทยที่มีม้ามโต และเกล็ดเลือดต่ำ
Other Abstract: Introduction: Gaucher disease is caused by genetic mutations of the beta-glucosidase gene commonly presenting with splenomegaly and/or thrombocytopenia in adulthood. Due to the disease rarity, a large proportion of the patients might have been misdiagnosed without a systematic screening program. A previous study in Italy found 3.6% Gaucher disease in 196 patients presenting with splenomegaly and/or thrombocytopenia. However, the prevalence in Thailand remains to be determined. Methods: We conducted a cross-sectional study in patients with splenomegaly and/or thrombocytopenia using systematic screening. The Dry blood spot (DBS) enzyme assay was initially used followed by the confirmatory studies for positive screening. In addition, clinical characteristics that were related to each final diagnosis were identified. Results: The total of 195 patients with splenomegaly and/or thrombocytopenia were enrolled. The mean age was 49.5 (range 15-91) years old and 122 cases (62.5%) were female. Twenty-six cases presented with both splenomegaly and thrombocytopenia. Within this group, 14 (53.8%) patients were diagnosed as cirrhosis, 6 (23%) as thalassemia and 3 (11.5%) as hematologic malignancies. Fifty-six patients presented with only splenomegaly and were diagnosed as thalassemia (71.4%), hematologic malignancy (21.4%) and cirrhosis (1.79%). In the last group, 113 cases presented with thrombocytopenia and most common diagnoses were immune thrombocytopenia (ITP) (51.3%), myelodysplastic syndrome (17.7%), other hematologic malignancies (7%) and cirrhosis (7%). All patients underwent the DBS test. Two patients with splenomegaly and thrombocytopenia showed slightly low beta-glucosidase enzyme but the confirmatory test was negative. Both patients were finally diagnosed as cirrhosis. For the suggestive features of definitive diagnoses, thalassemia was significantly associated with Hb levels  10 g/dl (89.1% sensitivity and 71.1% specificity), MCV  80 fL (87% sensitivity 87% and 81.9% specificity), RDW  20% (80.4% sensitivity and 91.3% specificity) and ferritin levels  800 mcg/L (80% sensitivity and 80.8% specificity). The albumin 3.5 g/dl was significantly related to cirrhosis with the odds ratio of 5.32 (95% Confidence interval 2.13 - 13.3). Conclusion: The prevalence of Gaucher disease in Thailand (0/195) may be lower than those of Europe. In addition, Hb, red cell indices, albumin and ferritin levels are useful diagnostic tools in Thai patients with splenomegaly and/or thrombocytopenia.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69491
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1490
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1490
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6174082430.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.