Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69505
Title: บทแหล่เทศน์มหาชาติในสังคมไทยร่วมสมัย: บทบาทและความสำคัญในฐานะวรรณคดีประกอบพิธีกรรม
Other Titles: Bot lae thet mahachat in contemporary Thai society: roles and significance as ritual literature
Authors: ทศพล ศรีพุ่ม
Advisors: ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Cholada.R@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาบทบาทและความสำคัญของบทแหล่เทศน์มหาชาติในฐานะวรรณคดีประกอบพิธีกรรมในสังคมไทยร่วมสมัย โดยศึกษาจากข้อมูลวีดิทัศน์มหาชาติในภาคกลางจำนวน 300 ชุด เป็นวีดิทัศน์การเทศน์แบบเรียงกัณฑ์ทั้ง 13 กัณฑ์ จำนวน 260 ชุด และเป็นวิดิทัศน์การเทศน์มหาชาติประยุกต์ซึ่งเล่าเรื่องสรุปความจำนวน 40 ชุด นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลภาคสนามจากการเทศน์มหาชาติในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 10 ครั้ง ระหว่าง พ.ศ. 2559-2562 ผลการศึกษาพบว่าการเทศน์มหาชาติในปัจจุบันยังคงสืบทอดคติความเชื่อเรื่องคาถาพัน และมุ่งถ่ายทอดเวสสันดรชาดกเพื่อนำเสนอแนวคิดเรื่องทานบารมี แต่องค์ประกอบสำคัญของพิธีกรรมมีความเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ ระยะเวลาการจัดเทศน์ลดลง โอกาสในการจัดเทศน์มีความหลากหลายมากขึ้น และเกิดผู้ฟังกลุ่มใหม่ซึ่งมาจากหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ความเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้พระนักเทศน์มหาชาติต้องลดเนื้อหาที่นำมาเทศน์ โดยจะเลือกเฉพาะเนื้อหาตอนเด่นมาถ่ายทอด มีทั้งตอนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทานบารมี เช่น การบำเพ็ญทาน การแสดงความเศร้าโศก และการพรรณนาเครื่องทาน และตอนที่เป็นรายละเอียดซึ่งเน้นสร้างสีสันและเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ทำบุญ เช่น การพรรณนาธรรมชาติ การแสดงอารมณ์ขัน การให้พร ตัวบทที่ใช้มีทั้งบทแหล่ในซึ่งแต่งเป็นร่ายยาว และบทแหล่นอกซึ่งแต่งเป็นกลอนประกอบกัน โดยมีตัวบทสำคัญคือร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ลักษณะเช่นนี้สะท้อนว่าวิธีการถ่ายทอดแบบมุขปาฐะและขั้นตอนในพิธีกรรมมีส่วนกำกับการถ่ายทอดบทแหล่เทศน์มหาชาติ ในการถ่ายทอดบทแหล่เทศน์ มีการประสานวรรณศิลป์กับศิลปะ 3 ประเภท ได้แก่ คีตศิลป์ ศิลปะการสื่อสารการแสดง และวาทศิลป์ การประสานศิลป์เหล่านี้ช่วยให้เล่าเรื่องได้อย่างราบรื่น เน้นเนื้อหาตอนเด่น และช่วยเสริมบรรยากาศของพิธีกรรมให้สอดคล้องกับอารมณ์ในเรื่อง เอื้อให้เทศน์ได้สอดคล้องกับระยะเวลา และเปิดโอกาสให้พระผู้เทศน์อธิบายเนื้อความของเวสสันดรชาดกให้เข้ากับประเด็นต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคมร่วมสมัย การใช้บทแหล่เทศน์มหาชาติข้างต้นสะท้อนให้เห็นบทบาทและความสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ บทบาทที่มีต่อพระพุทธศาสนา คือช่วยให้เผยแผ่เวสสันดรชาดกได้อย่างกว้างขวาง สร้างศรัทธาอย่างลึกซึ้ง และถ่ายทอดคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างมีสุนทรียะ บทบาทที่มีต่อวรรณคดีไทยและขนบวรรณคดีไทย คือช่วยเผยแพร่วรรณคดีไทยเป็นบทแหล่นอก และใช้ขนบวรรณคดีไทยผ่านการสร้างสรรค์บทแหล่ใหม่ ๆ และคำบรรยายร้อยแก้ว และบทบาทที่มีต่อการอนุรักษ์วัฒนธรรมและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่สังคม กล่าวได้ว่าบทแหล่เทศน์มหาชาติเป็นมรดกวัฒนธรรมที่สืบทอดมาจากอดีตและยังดำรงอยู่ในสังคมไทยร่วมสมัยอย่างน่าสนใจ
Other Abstract: This dissertation aims to study the roles and significance of Bot Lae Thet Mahachat as ritual literature through 300 digital recordings of Thet Mahachat. 260 recordings are from the traditional recitation (Thet Riang Kan) and 40 recordings are from the abridged recitation (Thet Prayuk).  This dissertation also collects data from ten field surveys in Bangkok and its vicinity during 2016-2019. The result shows that, nowadays, Thet Mahachat still transmits the belief of ‘one-thousand katha’ and conveys Vessantara Jataka’s theme of the perfection of giving. However, there are changes which occurred to the major ritual components. The ritual period has been shortened, the occasion to hold the ritual has become more varied, and a new group of audience came from governmental and private institutes has grown larger. These changes made the monk reciters omit some parts of the texts. Only popular episodes are recited, including the crucial parts of the story, such as the act of giving, the lamentation, and the description of gift, along with the detailed parts, such as the description of nature, the humor, and the blessings. The recited episodes are selected from Bot Lae Nai, composed in Rai, and Lae Nork, composed in Klon, among which the most important text is Rai Yao Maha Vessandon Chadok. These features imply that the orality and ritual scheme play a part in shaping the recitation of Bot Lae Thet Mahachat text. In the recitation of Bot Lae Thet, moreover, there is a combination between literary art in the text and other kinds of arts: singing, performing, and oratory. The combination of these arts supports the narration, highlights the popular episodes, and cultivates the mood of the ritual to be in accord with the mood of the episode being recited. The use of Bot Lae Thet Mahachat as discussed above reveals three kinds of roles and significance. The first role is one toward Buddhism. It helps promote Vessantara Jataka widely, create faith profoundly, and convey Buddhist teaching aesthetically. The second role is one toward Thai literature and literary convention. It helps promote Thai literature through Bot Lae Nork and uses Thai literary convention to compose new Bot Lae and to narrate in prose. The third role is one toward the promotion of the conservation of Thai culture and the strengthening of the morale of Thai society. Thus, Bot Lae Thet Mahachat is a cultural heritage derived from the past and still lives vividly in contemporary Thai society.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69505
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1053
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.1053
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5780505822.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.