Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69965
Title: | การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
Other Titles: | Development of economic learning activity package sing scenario-based learning to promote financial literacy นf lower secondary school students |
Authors: | กมลชนก สกนธวัฒน์ |
Advisors: | ชาริณี ตรีวรัญญู |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและ 2) ศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มเป้าหมายวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเพิ่มเติมที่มีสาระเกี่ยวกับการวางแผนและจัดการการเงินในชีวิตประจำวัน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยดำเนินการจัดการเรียนการสอนด้วยตนเองโดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 11 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความฉลาดรู้การเงิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีหลักการสำคัญ ได้แก่ (1) การมุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการนำทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ (2) การกำหนดฉากทัศน์ที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือใกล้เคียงชีวิตจริงที่จูงใจให้นักเรียนได้ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการคิดที่หลากหลาย (3) การมุ่งเน้นให้นักเรียนใช้กระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาและการตัดสินใจโดยไม่ถูกตัดสินว่าถูกหรือผิด และ (4) การให้นักเรียนได้เรียนรู้จากความผิดพลาดในการตัดสินใจ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้มีเนื้อหาครอบคลุมความรู้ทางการเงินและความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วยกิจกรรมจำนวน 11 กิจกรรม เรียงลำดับกิจกรรมตามหลักการวางแผนและจัดการการเงิน แต่ละกิจกรรมมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นรับประสบการณ์ (2) ขั้นแสดงบทบาทสมมติ (3) ขั้นเผชิญภาวะวิกฤต และ (4) ขั้นสะท้อนผล มีการวัดและประเมินผลของกิจกรรมโดยใช้แบบวัดความฉลาดรู้การเงิน สมุดบันทึกการเรียนรู้ และการสะสมคะแนนโบนัสทางการเงิน เมื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนการสอนผ่านชุดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับดีมาก 2. ผลของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานที่มีต่อความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่านักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้การเงินหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาแยกตามองค์ประกอบของความฉลาดรู้การเงินพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านความรู้และทักษะทางการเงิน ด้านพฤติกรรมทางการเงิน และด้านเจตคติทางการเงินตามลำดับ |
Other Abstract: | The purposes of this Research and Development were to 1) develop the economic learning activity package using scenario-based learning to promote financial literacy of lower secondary school students and 2) study the results of using the economic learning activity package. The samples were 29 of 9th-grade secondary school students who registered in the elective course related to financial planning and management in daily life in the second semester of the academic year 2019 at the demonstration secondary school under the Office of the Higher Education Commission, Bangkok. Participants were selected through a purposive sampling method. The samples were taught for 11 weeks by the researcher. The research tool was the financial literacy test. The data were analyzed using mean, standard deviation, and t-test. The results of the research were as follows 1. The principles of the economic learning activity package using scenario-based learning to promote the financial literacy of lower secondary school students are: (1) focus on bringing theory to practice, (2) set the scenarios related to real-life to encourage students to use various financial skills, (3) emphasis on the use of problem-solving thinking and decision-making skill without being judged as right or wrong, and (4) learn through wrong financial decisions. The content in the package covers financial knowledge and basic knowledge of economics. The learning activity package includes 11 activities sequenced by the principles of financial planning and management. Each activity includes four steps, which are (1) Experiencing, (2) Role-Playing, (3) Facing on a climax scene, and (4) Reflecting. The assessments of the activities are the financial literacy test, learning log, and accumulated financial bonus points. The results of the student satisfaction towards the learning were at a very good level. 2. Students’ overall mean of the post-test scores on the financial literacy after using the learning activity packages was statistically significantly higher than the pre-test score (Significant at .05 level) and when considered separately by the components of financial literacy, it was found that there is the highest mean change in financial knowledge and skills, financial behavior, and financial attitude respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | หลักสูตรและการสอน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69965 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1437 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.1437 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5983301827.pdf | 13.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.