Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70008
Title: | การพัฒนามาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Development of happiness learning scales of lower secondary school students in Bangkok metropolis |
Authors: | สิริกุล กิตติมงคลชัย |
Advisors: | ชุติมา สุรเศรษฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความหมายและองค์ประกอบความสุขในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) สร้างเกณฑ์ปกติของมาตรวัดความสุขในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น การวิจัยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 24 คน การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อพัฒนา ตรวจสอบ และสร้างเกณฑ์ปกติของมาตรวัดความสุขในการเรียนกับนักเรียน 240 คน จากโรงเรียนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสุขในการเรียนที่ได้จากการศึกษาเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 12 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน (2) การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครู (3) การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง (4) การมีสุขภาวะทางร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ (5) การเห็นคุณค่าในตนเอง (6) การเห็นคุณค่าในการเรียนรู้ (7) การมีเป้าหมายในการเรียนรู้ (8) การมีอารมณ์ทางบวกในการเรียนรู้ (9) การกำกับตนเองในการเรียนรู้ (10) ภาวะลื่นไหลในการเรียนรู้ (11) การได้เรียนในสิ่งที่ถนัดและสนใจ และ (12) การได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและเอื้อต่อการเรียนรู้ และ 2) มาตรวัดความสุขในการเรียนมีจำนวน 80 ข้อคำถาม ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้ (1) ความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง (2) ความตรงเชิงภาวะสันนิษฐานสร้างด้วยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด (t = 13.82, p < .05) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2=54.25, df =43, p = .117, χ2/df = 1.26, GFI=.964, RMSEA=.033, SRMR=.0329, CFI=.996, AGFI=.934) และ (3) ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคทั้งฉบับมีค่า .987 ผลการพัฒนาเกณฑ์ปกติในรูปแบบคะแนนทีปกติอยู่ในช่วง T17.16 – T74.78 |
Other Abstract: | This research aimed to 1) study the meaning and element of happiness learning of lower secondary school students. 2) develop and examine the quality of Happiness Learning Scales of lower secondary school students, and 3) establish the norm of Happiness Learning Scales of lower secondary school students. The first phase was a qualitative study by the synthesis of documents, relevant researchs and in-depth interviews with 24 purposively selected students. The second phase was a quantitative study involved scale development, assessment, and norm establishment of Happiness Learning Scales among 240 students from schools in Bangkok, derived via the multistage random sampling. The research results indicated that 1) the conceptual framework of happiness learning developed from qualitative data composed of 12 components: (1) good relationship with friend, (2) good relationship with teacher, (3) good relationship with parents, (4) good physical and mental well-being, (5) self-esteem, (6) value of learning, (7) goals of learning, (8) positive emotion in learning, (9) self-regulation, (10) learning flow, (11) learning things aptly and interested, and (12) living in suitable environment for learning; and 2) Happiness Learning Scales consisted of 80 items evaluated by the technical adequacies of (1) IOC (The Index of Item-Objective Congruence), (2) Construct validity was confirmed by the known-group technique (t = 13.82, p < .05) and the confirmatory factor analysis demonstrated that the model developed fitted with the empirical data (χ2=54.25, df =43, p = .117, χ2/df = 1.26, GFI=.964, RMSEA=.033, SRMR=.0329, CFI=.996, AGFI=.934) , and (3) the overall Cronbach’s alpha coefficient was at .987. The Scale norm development yielded the Normalized T-score range of T17.16 to T74.78 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยาการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70008 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.782 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.782 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6083361927.pdf | 7.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.