Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70088
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมนทกานต์ ฉิมมามี-
dc.contributor.authorสุกฤษฏ์ เฮงมี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-11T13:41:27Z-
dc.date.available2020-11-11T13:41:27Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70088-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกลับสู่ภาคเกษตรกรรมทางเลือกของคนประเภทต่าง ๆ ในบริบทสังคมสูงวัย รวมถึงศึกษาปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อกระบวนการกลับสู่ภาคเกษตรกรรมทางเลือก ทั้งนี้ โดยใช้แนวคิดเรื่องการกลับไปเป็นชาวไร่ชาวนา (Re-peasantization) ในการวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับเส้นทางการเปลี่ยนผ่านไปสู่ภาคเกษตรกรรมทางเลือกจากประวัติชีวิตของเกษตรกรทั้ง 3 รุ่น สำหรับระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลเป็นรายกรณีศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 9 ราย แบ่งเป็น 3 รุ่นปี ได้แก่ เกษตรกรเจเนอเรชั่นวาย เจเนอเรชั่นเอ็กซ์และรุ่นเบบี้บูมเมอร์ ผลการศึกษาเส้นทางการเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมทางเลือก พบว่าสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ (1) กลุ่มเกษตรกรดั้งเดิมที่ปรับตัวเข้าสู่เกษตรกรรมทางเลือก (Adapter) เป็นกลุ่มที่ไม่เคยออกจากภาคเกษตรกรรม และ (2) กลุ่มลูกหลานเกษตรกร หรือกลุ่มที่ออกจากภาคเกษตรกรรมไป และกลับสู่ภาคเกษตรกรรมทางเลือกอีกครั้ง (Return) ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทั้งสองกลุ่มนี้ตัดสินใจกลับเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมทางเลือกคือ ปัจจัยด้านความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านสุขภาพของคนในครอบครัวเป็นหลัก นอกจากนี้ ผลการศึกษาเปิดเผยให้เห็นถึงรูปแบบใหม่ของการทำเกษตรทางเลือกที่ทำกลุ่มเป้าหมายอยู่รอดได้ภายใต้บริบทเสรีนิยมใหม่ เกษตรกรทางเลือกพยายามใช้ประโยชน์จากทั้งการผลิตสินค้าเพื่อส่งขายในระบบตลาด ควบคู่ไปกับมุ่งเน้นความยั่งยืนของภาคเกษตร (ความมั่นคงทางอาหาร) ดังนั้น ผลการศึกษานี้มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการทำเกษตรทางเลือกในยุคสังคมสูงวัย โดยผู้สูงอายุที่มีศักยภาพเหมาะแก่การทำงานในภาคเกษตรไม่ควรเกินช่วงอายุผู้สูงอายุตอนต้น ต้องมีการพึ่งพากันระหว่างรุ่นในครอบครัวเกษตรกร รวมถึงมีการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย เพื่อให้สามารถอยู่ในภาคเกษตรกรรมได้อย่างยั่งยืนต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThis study aims to explore the process of returning to alternative agriculture in Thai aging society and the factors affecting that changing process. By applying the re-peasantization concept, the life history of three generation farmers were analyzed and discussed so as to get a comprehensive understanding of their transition pathways to alternative agriculture. Using an intensive qualitative approach through the case study method, the study has been carried out 9 respondents in 3 generations; Generation Y, Generation X and Baby Boomers. Based on the life-stage changes of the case studies, the farmers could be divided into two groups; (1) the conventional farmers who has relied heavily on chemical inputs and then change to alternative agricultural system (Adapter) and (2) the farmers' descendants or those who left the family farm to become alternative farmers (Return). The main factors that influenced on their decision-making were economic survival and family’s health conditions. Furthermore, these study revealed the new form of alternative agriculture practices in the context of neoliberalism. The alternative farmers tried to benefit from both market-led agricultural system and agricultural sustainability (Food security). These findings have important implications for how to support farmers’ and their farms in the ageing society. They should get an early starting an alternative farm, rely on intergenerational solidarity in the family and engaged in diverse economic activities, all of which will contribute to their sustainable survival strategies.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1038-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleกระบวนการเปลี่ยนไปสู่เกษตรกรรมทางเลือกในยุคสังคมสูงวัย-
dc.title.alternativeThe process of returning to alternative agriculture in aging society-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพัฒนามนุษย์และสังคม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1038-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5987294820.pdf5.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.