Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7065
Title: กระบวนการหมักอาซีโตน-บิวทานอล จากมันสำปะหลัง
Authors: จิรกานต์ เมืองนาโพธิ์
สุวัฒนา พวงเพิกศึก
วรพัฒน์ อรรถยุกติ
ชัยฤทธิ์ สัตยาประเสริฐ
Email: chirakarn.m@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
woraphat@kiasia.org
Chairit.S@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: มันสำปะหลัง
การหมัก
ตัวทำละลาย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: มันสำปะหลังจัดเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งของประเทศไทย ปัญหามันสำปะหลังล้นตลาด ทำให้ภาครัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาพืชเศรษฐกิจภายในประเทศไปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบิวทานอลเป็นเคมีภัณฑ์อย่างหนึ่งที่ผลิตได้จากกระบวนการหมักโดยใช้มันสำปะหลัง ปัจจุบันเราใช้บิวทานอลเป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมต่างๆ และมีแนวโน้มที่จะนำบิวทานอลมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ทั้งในเครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซล ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการผลิตตัวทำละลาย (บิวทานอล-อาซิโตน-เอทานอล) จากการหมักแบบไม่ต่อเนื่องและแบบต่อเนื่อง โดยใช้แป้งมันสำปะหลังและมันสดเป็นวัตถุดิบ ขั้นแรกแป้งมันสำปะหลังและมันสดถูกไฮโดรไลส์ไปเป็นน้ำตาลกลูโคส หลังจากนั้นจึงทำการหมักน้ำตาลกลูโคสที่ได้โดยใช้แบคทีเรีย Cl butylicum NRRL B592 จากการทดลองเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของการหมักแบบไม่ต่อเนื่องของแป้งมันสำปะหลังและมันสด พบว่า ที่อุณหภูมิ 30 – 35 องศาเซลเซียส ph 5.5-6.5 และความเข้มข้นของน้ำตาลกลูโคสที่ใช้ในการหมัก 50 กรัม/ลิตร ให้ความเข้มข้นรวมของตัวทำละลายเท่ากับ 12.56, 14.64 กรัม/ลิตร ตามลำดับ อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะและอัตราการสร้างตัวทำละลายจำเพาะของแป้งมันสำปะหลังและมันสดเท่ากับ 0.247, 0.174 ชั่วโมง [superscript -1] และ 0.09 x 10[superscript -12], 0.032 x 10 [superscript -12] กรัม/จำนวนเซล-ชั่วโมง ตามลำดับ และยังพบว่า การหมักแบบต่อเนื่องให้ความเข้มข้นรวมของตัวทำละลาย 2.9 กรัม/ลิตร ด้วยอัตราการผลิต 0.44 กรัม/ลิตร-ชั่วโมง ซึ่งมีค่าสูงกว่าอัตราการผลิตแบบไม่ต่อเนื่อง 2.2 เท่า ที่สภาวะการหมักเดียวกัน
Other Abstract: Cassava is one of the economical agricultural feedstocks in Thailand. The problem of the surplus raw cassava initiated the Thai Government to change the policy of sending raw material aboard to urge producing industrial products instead. Butanol is one of the chemical products which can be obtained by the fermentation of cassava. Now a day, butanal is broadly used as the solvent in many chemical processes, and the tendency of using with gasoline or diesel engine seems promising. In our research, the production of solvent (butanol-acetone-ethanol) by bath and continuous fermentation of cassava starch and raw cassava has been studied. Firstly, they were hydrolysed to yield glucose. Then the hydrolyzed glucose was fermented by Cl butylicum NRRL B592. The experimental results for defining the optimum conditions in batch fermentation of cassava starch and raw cassava have showed that the temperature range of 30-35 degree Celsius range of 5.5-6.5 and initial glucose concentration of 50g/l was optimal. Yielding solvent concentration were 12.56, 14.64 g/l respectively. Specific growth rate and specific rate of solvent formation of cassava starch and raw cassava were 0.247, 0.174 hr[superscript -1] and 0.09 x 10[superscript -12], 0.032 x 10 [superscript -12] g/cell-hr. respectively. It also has been found that the solvent productively from continuous fermentation were 2.2 time greater than that of the batch fermentation at the same optimum condition (i.e. 2.9 g/l of solvent concentration, 0.44 g/l-hr of productively).
Description: โครงการวิจัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยและพัฒนาของคณะวิศวกรรมศาสตร์) : เลขที่ 91-IR-2527
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7065
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirakarn_butanol.pdf10.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.