Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70798
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิรกานต์ เมืองนาโพธิ์-
dc.contributor.advisorวนิดา จันทรเทพเทวัญ-
dc.contributor.authorพิชัย ตั้งศรีสำเริง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-17T05:40:27Z-
dc.date.available2020-11-17T05:40:27Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746387502-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70798-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en_US
dc.description.abstractได้ทำการศึกษาผลของการสกัดสารบาราคอลออกจากใบขี้เหล็กและทำให้เข้มข้นขึ้นด้วย กระบวนการเพอร์เวเพอเรชัน จากผลการทดลองการสกัดสารบาราคอลด้วยตัวทำละลายเอธานอล 15 เปอร์เซนต์โดยปริมาตรในขวดเขย่าพบว่า ภาวะที่เหมาะสมในการสกัดคือใช้อัตราส่วนผงใบขี้เหล็กแห้ง 10 กรัมต่อตัวทำละลาย 100 มิลลิลิตร, ขนาดผงใบขี้เหล็กที่เหมาะสมในการสกัดมีขนาดเล็กกว่า 500 ไมโครเมตร และใช้เวลาในการสกัด 2 ชั่วโมง ที่เงื่อนไขเหล่านี้พบว่าสารบาราคอลในใบขี้เหล็กมีค่าคิดเป็นร้อยละ 0.8 ในการทำให้สารละลายบาราคอลในใบขี้เหล็กเข้มข้นขึ้นด้วยกระบวนการเพอร์เวเพอเรชัน เยื่อ แผ่นที่ใช้เป็นเยื่อแผนซิลิโคนแบบท่อมัด ตัวแปรที่ทำการศึกษาคือ อุณหภูมิสายป้อน 30, 40 และ 50 องศา เซลเซียส และความดันเพอร์มิเอท 2, 5 และ 10 ทอร์ จากการศึกษาพบว่า เพอร์มิเอชันฟลักซ์ของสารรวม แยกออกมาได้มากที่สุดเท่ากับ 33.172 กรัมต่อตารางเมตร-ชั่วโมง ที่อุณหภูมิสายป้อน 50 องศาเซลเซียส และความดันเพอร์มิเอท 2 ทอร์ ค่าเพอร์มิเอชันฟลักช์มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิมีค่าเพิ่มขึ้น และเพอร์มิเอชัน ฟลักซ์มีค่าลดลงเมื่อความดันเพอร์มิเอทเพิ่มขึ้น ค่าเพอร์มิเอบิลีตีของเอธานอลมีค่าสูงกว่าน้ำและสารบาราคอล แสดงว่าเยื่อแผ่นมีสมรรถนะของการแยกเอธานอลได้ดีกว่าน้ำและสารบาราคอล ตามลำดับ ค่าการเลือกผ่านเอธานอลของเยื่อแผ่นมีค่าสูงกว่าค่าการเลือกผ่านน้ำของเยื่อแผ่น สารละลายบาราคอลสามารถ ทำให้เข้มข้นขึ้นได้สูงสุดเท่ากับ 1.32 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ซึ่งเพิ่มขึ้นน้อยมากเนื่องมาจากพื้นที่ในการแยกน้อย ความเข้มข้นที่เพิ่มขึ้นมีผลมาจากการระเหยของเอธานอลในสายรีเทนเตทและเพอร์มิเอทของน้ำ และเอธานอล จากงานวิจัยนี้ยังพบว่าสารบาราคอลเกิดการสลายตัวได้ที่อุณหภูมิสูง-
dc.description.abstractalternativeThe effects of barakol extraction from Cassia siamea Lamk. and concentration by pervaporation were studied. The experimental results of barakol extraction with 15 %(v/v) ethanol solution in shake flasks showed that the suitable conditions were 10 grams of dried powder of Cassia siamea Lamk. leaves per 100 milliliters of ethanol solution, powder size smaller than 500 micrometers and extraction time of 2 hours. At these suitable conditions, the content of barakol in leaves is 0.8 %(w/w). The extracted solution containing barakol was concentrated by pervaporation process in tubular silicone module. The operating conditions were carried out at feed temperature of 30, 40, 50 °c and at permeation pressure of 2, 5, 10 torr. It was showed that total permeation flux was maximum of 33.172 g/m2.hr at feed temperature of 50 °c and permeation pressure of 2 torr. The permeation flux was increased with increasing feed temperature. And the permeation flux was decreased with increasing permeation pressure. The permeability of ethanol was higher than water and barakol. The result indicated that the performance of ethanol separation was better than water and barakol, respectively. The membrane selectivity of ethanol was higher than water. The barakol solution was concentrated at the maximum value of 1.32 %(w/w) which is too small due to the less of transfer area. The increase of concentration was resulted from ethanol vaporization and permeation of water and ethanol. It was also showed that the barakol is unstable at high temperature.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectขี้เหล็ก (พืช) -- วิเคราะห์และเคมีen_US
dc.subjectโครโมนen_US
dc.subjectบาราคอลen_US
dc.subjectเพอร์เวเพอเรชันen_US
dc.titleการสกัดสารบาราคอลขั้นต้นจากใบขี้เหล็กและทำให้เข้มข้นขึ้น ด้วยกระบวนการเพอร์เวเพอเรชันen_US
dc.title.alternativeThe preliminary extraction of barakol from Cassia siamea and concentration by pervaporationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมเคมีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChirakarn.M@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichai_ta_front_p.pdf967.3 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_ta_ch1_p.pdf656.62 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_ta_ch2_p.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_ta_ch3_p.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_ta_ch4_p.pdf971.89 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_ta_ch5_p.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Pichai_ta_back_p.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.