Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70943
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจารุวรรณ ลิมปเสนีย์-
dc.contributor.authorอัญชฎา หรินทรเวช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialเชียงราย-
dc.date.accessioned2020-11-24T04:25:11Z-
dc.date.available2020-11-24T04:25:11Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743323708-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70943-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งปัญหาที่เกิดจากการ พัฒนาเมือง ศึกษาบทบาทและศักยภาพของพื้นที่ทั้งในด้านการค้าและการท่องเที่ยว เพื่อจะไค้ทราบถึงแนวโน้มการขยายตัว ของเมืองในอนาคต พร้อมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนา และแนวทางแก้ไขเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของเมือง และเหมาะสมกับพื้นที่ การศึกษาพบว่า การใช้ประโยชน์ที่ดินของสุขาภิบาลส่วนใหญ่เป็นที่พักอาศัย ชนบทเกษตรกรรมและการค้า พาณิชกรรม สำหรับสถานการณ์การค้าชายแดนและการท่องเที่ยวในช่วงปี 2535 - 2540 ถือได้ว่ามีส่วนสำคัญทำให้สภาพเศรษฐกิจ สังคมของสุขาภิบาลแม่สาย มีการขยายตัวในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิม กล่าวคือการค้าชายแดนมีสภาพดีขึ้นในแต่ละปีมีมูลค่าการค้าเกิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอดและต่อเนื่องทุกปี ในค้านการท่องเที่ยว พบว่าแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวที่ด่านการค้าชายแคนแม่สาย ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของสุขาภิบาลแม่สายในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี สร้างรายไค้ให้กับสุขาภิบาลแม่สายเป็นจำนวนมาก และคาดว่าสภาพการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวของสุขาภิบาลแม่สาย จะมีแนวโน้มที่ดีและเพิ่มสูงขึ้นต่อไปอีกในอนาคต ศักยภาพที่สำคัญซึ่งส่งผลให้สุขาภิบาล แม่สายมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ ศักยภาพด้านที่ตั้ง ด้านความมั่นคงของประเทศ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนและการท่องเที่ยว นอกจากเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดการขยายตัวทั้งด้านการค้าชายแดน และการท่องเที่ยวแล้ว ยังส่งผลให้สุขาภิบาลแม่สายมีโอกาสสำคัญ ๆ ได้แก่ โอกาสการเป็นศูนย์กลางคมนาคมระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นำโขงตอนบน การเป็นเมืองหน้าด่านประตูการค้าชายแดน การขยายการท่องเที่ยว การเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน การขยายฐานการผลิตด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกในอนาคตอีกด้วย การขยายตัวของสุขาภิบาลแม่สาย ได้ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมมีการกระจุกตัวในสุขาภิบาล เพิ่มมากขึ้น จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านกายภาพ สังคม วัฒนธรรม ตลอดจนความหนาแน่นของประชากร อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของเมืองทำให้เกิดปัญหามากมายในปัจจุบัน ที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการจราจรคับคั่ง ปัญหาการระบายนำทำให้เกิดนำท่วมขัง ปัญหาการกำกัดขยะมูลฝอย เป็นต้น ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่แนวทางการพัฒนาเมืองสุขาภิบาลแม่สาย ซึ่งประกอบด้วยแนวทาง การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและการค้าชายแดน ทั้งนี้เพื่อให้สุขาภิบาลแม่สายสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้คลี่คลายไปในทางที่ดี และต้องไม่เกิดปัญหาใหม่ตามมาด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเมืองที่สอดคล้องกับสภาพที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบันและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและโอกาสในค้านการพัฒนาสุขาภิบาลแม่สาย เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวระหว่างอนุภูมิภาคลุ่มแม่นำโขงตอนบนต่อไปในอนาคต-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to study the geographical, economic and social aspects of Amphoe Mae Sai and Mae Sai Sanitary district as well as the problems of urbanization and to study the roles and potentials of the area in term of trade and tourism in order to get the trends of future urbanization development and suggest the ways of development and problem solving suitable for the town environs. This study discovered that the majority of land use in the sanitary district was for living residential, agricultural and commercial area. During 1992-1997 trade and tourism in the border were vital driving force for the increase of economy along Mae Sai border, which had been several consecutive estimated over a billion baht annually for years. Tourism had also been continuously increased as the major income to the sanitary district. It was expected that trade and tourism would be increased and be taken a positive trend in the future. The potential driving Mae Sai sanitary district to a rapid increase was favorable location national security, good public infrastructure and prosperous border trade and tourism. Beside making the area a trade and tourism boom, these factors also pushed the sanitary district in other opportunities, such as, a communication center among the upper Mae Kong River sub-regional countries, a gateway for trace and tourism between neighbor countries and a base for export oriented agriculture and industries. The urbanization of the town resulted in the congestion of social and economic activities in the sanitary district. It lead to the accelerated development in physical , social and traditional aspects as well as population density. These unfavorable consequence are traffic congestion, poor drainage system and the problem in waste disposal management. The guidelines for solving some problems of Mae Sai Sanitary district are urbanized development which the means to develop the border trade and tourism in ways that they can solve the current problems, prevent new ones, and promote development area for appropriating in the present situations and future trends. Its potentials and open opportunities for the place to be developed as the center of the border trade and tourism in the upper Mae Kong River sub- region in the future.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาเมือง -- ไทย -- แม่สาย (เชียงราย)en_US
dc.subjectการใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- เชียงรายen_US
dc.subjectเมือง -- การเจริญเติบโตen_US
dc.subjectแม่สาย (เชียงราย) -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยวen_US
dc.subjectแม่สาย (เชียงราย) -- ภาวะสังคมen_US
dc.subjectแม่สาย (เชียงราย) -- ภาวะเศรษฐกิจen_US
dc.subjectUrban development -- Thailand -- Chiang Raien_US
dc.subjectLand use, Urban -- Thailand -- Chiang Raien_US
dc.subjectCities and towns -- Growthen_US
dc.subjectMae Sai (Chiang Rai) -- Description and travelen_US
dc.subjectMae Sai (Chiang Rai) -- Social conditionsen_US
dc.subjectMae Sai (Chiang Rai) -- Economic conditionsen_US
dc.titleแนวทางการพัฒนาเมืองท่องเที่ยวและการค้าชายแดน : กรณีศึกษาสุขาภิบาลแม่สายen_US
dc.title.alternativeThe development guidelines for tourism and commercial border town : a case study of Mae Sai Sanitary districten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางผังเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorCharuwan.L@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anchada_ha_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.2 MBAdobe PDFView/Open
Anchada_ha_ch1_p.pdfบทที่ 1839.82 kBAdobe PDFView/Open
Anchada_ha_ch2_p.pdfบทที่ 21.31 MBAdobe PDFView/Open
Anchada_ha_ch3_p.pdfบทที่ 36.57 MBAdobe PDFView/Open
Anchada_ha_ch4_p.pdfบทที่ 42.65 MBAdobe PDFView/Open
Anchada_ha_ch5_p.pdfบทที่ 53.11 MBAdobe PDFView/Open
Anchada_ha_ch6_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.