Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7098
Title: รูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และ พฤติกรรมการบริโภคสินค้าของวัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Lifestyle, media exposure, and purchasing behavior of adolescence in Chiang Mai province
Authors: พรกมล รัชนาภรณ์
Advisors: ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Yubol.B@chula.ac.th
Subjects: บริโภคศึกษา
การดำเนินชีวิต
สังคมวิทยาชนบท
สังคมวิทยาเมือง
จิตวิทยาวัยรุ่น
การเปิดรับสื่อมวลชน
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและหาความสัมพันธ์ของ รูปแบบการดำเนินชีวิตพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้า ของวัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ และนำไปเปรียบเทียบกับรูปแบบการดำเนินชีวิต พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ และพฤติกรรมการบริโภคสินค้า ของเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานครที่ได้มีการศึกษาไว้ โดยทำการศึกษาเฉพาะนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 441 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า t-test การวิเคราะห์ปัจจัย และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS WINDOW ในการประมวลผล ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. รูปแบบการดำเนินชีวิตของวัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่สามารถแบ่งออกเป็น 11 กลุ่ม คือ กลุ่มชอบสินค้าใหม่ๆ กลุ่มชอบเล่นคอมพิวเตอร์ กลุ่มรักเรียน กลุ่มนักเที่ยว กลุ่มสนใจในศาสนา กลุ่มรักบ้าน กลุ่มรักเฮฮา กลุ่มนักอ่าน กลุ่มรักดนตรี กลุ่มไม่จริงจังกับชีวิต 2. พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของวัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่ามีการเปิดรับสื่อในระดับมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อโทรทัศน์ รองลงมาคือ สื่อวิทยุ สำหรับพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของวัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า นิยมบริโภคอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด นิยมเลือกซื้อเสื้อผ้าตามห้างสรรพสินค้า ประเภทเสื้อผ้าที่นิยม ได้แก่ ยีนส์ และเสื้อผ้าแนวกีฬา มีการใช้อุปกรณ์สื่อสารในปริมาณที่น้อย 3. วัยรุ่นในจังหวัดเชียงใหม่มีลักษณะของรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เหมือนกับเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร คือ ให้ความสนใจในเรื่องการเรียน เรื่องอนาคต การแต่งกาย ชอบเล่นกีฬา เปิดรับสื่อในระดับมาก ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์และการปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทย ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดและคิดว่าควรต่อต้าน มีความเห็นว่าการเมืองไทยเป็นเรื่องของผลประโยชน์และให้ความสำคัญกับครอบครัว
Other Abstract: The purposes of this research are to study lifestyle, media exposure and purchasing behavior of adolescence in Chiangmai province, and to compare to studies of lifestyle of generation Y in Bangkok. Questionnaires were used to collect data from total of 441 Chiangmai secondary students. Frequency, percentage, mean, factor analysis and Pearson's Product Moment Correlation Coefficients were used to analyze data through SPSS WINDOW. Results of the research are as follows: 1. Categories of adolescence in Chiangmai province are sport lovers, venture group, computer lovers, hard working student, travel lovers, religion concerns, homers group, pleasure lovers, reader group, music lovers, non-serious group. 2. Adolescence in Chiangmai highly expose to mass media, especially television and radio. For purchasing behavior, they like to have fast food, buying clothes from department stores. They like to wear jeans and sport wear. There are a few adolescence in Chiangmai who own mobile phone or pager. 3. Chiangmai adolescence's lifestyle is similar to generation Y in Bangkok, such as paying attention to studying, their future life and clothes. They are health conscious and like to play sports and highly expose to media. They concern for environmental issues and obviously aware of the consequences of using drugs.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา, 2542
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7098
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.286
ISBN: 9743339175
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.286
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pornkamol.pdf12.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.