Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71093
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต-
dc.contributor.advisorศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์-
dc.contributor.authorสมบัติ อินทร์คง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-11-27T08:34:51Z-
dc.date.available2020-11-27T08:34:51Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746343963-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71093-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องนี้ได้ตรวจวัดอัตราการใช้ออกซิเจนของจุลชีพในดินตะกอน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เป็นเครื่องชี้บอกภาวะมลพิษอันเนื่องมาจากการปนเปื้อนของสารอินทรีย์ในแหล่งน้ำ โดยศึกษาปัจจัยคุณภาพ น้ำและคุณภาพดินตะกอนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบสภาพที่แท้จริงประกอบกัน และเปรียบเทียบความสัมพันธ์กับอัตราการใช้ออกซิเจนของจุลชีพในดินตะกอน ได้เลือกเก็บตัวอย่างบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย จำนวน 10 สถานี ตลอดระยะเวลา 1 รอบปี ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2537 ถึงเดือนมิถุนายน 2538 ผลการศึกษาพบว่า ค่าอัตราการใช้ออกซิเจนของจุลชีพในดินตะกอน ของสถานีต่าง ๆ อยู่ในช่วง 0.0389-0.1418 มิลลิกรัม ออกซิเจน/กรัม น้ำหนักเปียก ดินตะกอน/วัน โดยสามารถจัดเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจาก มากไปหาน้อยได้ดังนี้คือ สถานีศรีราชา ชลบุรี ระยอง เกาะสีชัง บ้านเพ พัทยา แหลมฉบัง บางเสร่ บางแสน และ มาบตาพุด โดยแต่ละสถานีมีค่าอยู่ในช่วง 0.0945-0.1418, 0.1009-0.1393, 0.0850-0.1253, 0.0648-0.1333, 0.0602 -0.1039, 0.0621-0.1001, 0.0549-0.0837, 0.0511-0.0902, 0.0514-0.0766 และ 0.0389-0.0609 มิลลิกรัม ออกซิเจน/ กรัม น้ำหนักเปียก ดินตะกอน/วัน ตามลำดับ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางสถิติ พบว่า ค่าที่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) ระหว่างสถานีเก็บตัวอย่าง แต่ไม่มีความแตกต่าง (p>0.05) ในแต่ละช่วงเดือนที่เก็บตัวอย่าง การศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราการใช้ออกซิเจนของจุลชีพในดินตะกอน กับปัจจัยคุณภาพน้ำและคุณภาพดินตะกอนที่เกี่ยวข้อง พบว่า อัตราการใช้ออกซิเจนของจุลชีพในดินตะกอน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับค่า บีโอดีและปริมาณซัลไฟด์ในน้ำ รวมถึงปริมาณสารอินทรีย์ และปริมาณแบคทีเรียในตะกอน โดยสัมพันธ์ในทางกลับกันกับปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำและความเป็นกรด-ด่างของน้ำ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับขนาดดินตะกอน และความเค็มของน้ำ จากลักษณะดังกล่าวทำให้สามารถตัดสินใจได้ว่า มีความเป็นไปได้มากในที่จะใช้อัตราการใช้ออกซิเจนของจุลชีพในดินตะกอนเป็นเครื่องชี้บอกภาวะมลพิษของแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากการปนเปื้อนของสาร อินทรีย์ โดยบริเวณที่มีค่าสูงแสดงถึงมีการปนเปื้อนของสารมลพิษมาก และเกิดการย่อยสลายของสารอินทรีย์โดยจุลชีพต่าง ๆ สูง มีโอกาสเกิดมลพิษทางน้ำที่รุนแรงกว่าบริเวณที่มีค่าตํ่า-
dc.description.abstractalternativeOxygen consumption rate (OCR) of sediment microbe was studied for the use as organic waste pollution in the coastal environment. The interaction among water and sediment qualities and the oxygen consumption rate of the sediments were evaluated. Ten stations in the east coast of the upper Gulf of Thailand were carefully assigned. The study period was one year starting in August 1994. Oxygen consumption rate of sediment microbe from all stations ranged from 0.0389 to 0.1418 milligram O2/gram (wet weight of sediment)/day. The average OCR at Sriracha, Cholburi, Rayong, Sichang Island, Banpae, Pattaya, Laemchabang, Bangsarae, Bangsaen and Mabtapud were 0.0945-0.1418, 0.1009-0.1393, 0.0850-0.1253, 0.0648-0.1333, 0.0602-0.1039, 0.0621-0.1001, 0.0549-0.0837, 0.0511-0.0902 0.0514-0.0766 and 0.0389-0.0609 milligram O2/gram (wet weight of sediment)/day, respectively. ANOVA showed highly significant diference among stations (p<0.01) but not significant monthly at each sampling stations (p>0.05). OCR of sediment microbe directly related to BOD and sulphide in water and also oxidizable organic matter as well as die amount of bacteria in the sediments; whereas, OCR reversely related to pH and dissolved oxygen in water. There was no relationship with sediment grain size and salinity. This study showed that OCR of sediment microbe was feasible to be used as pollution indicator in the coastal environment.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectมลพิษ -- การวัด-
dc.subjectน้ำ -- ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ-
dc.subjectPollution -- Measurement-
dc.subjectWater -- Dissolved oxygen-
dc.titleอัตราการใช้ออกซิเจนของจุลชีพในตะกอน เพื่อเป็นเครื่องชี้บอกภาวะมลพิษ-
dc.title.alternativeOxygen consumption rate of sediment microbe as a pollution indicator-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์ทางทะเล-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sombat_ink_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ898.21 kBAdobe PDFView/Open
Sombat_ink_ch1_p.pdfบทที่ 11.7 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_ink_ch2_p.pdfบทที่ 2977.58 kBAdobe PDFView/Open
Sombat_ink_ch3_p.pdfบทที่ 32.11 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_ink_ch4_p.pdfบทที่ 4794.51 kBAdobe PDFView/Open
Sombat_ink_ch5_p.pdfบทที่ 5763.12 kBAdobe PDFView/Open
Sombat_ink_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.