Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71184
Title: แรงจูงใจในการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของนักการเมืองไทย
Other Titles: Thai politicians' motivations to be members of house of representatives
Authors: ศรีศักดิ์ คัมภีรญาณ
Advisors: พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
การจูงใจ (จิตวิทยา)
นักการเมือง -- ไทย
Members of paliament
Motivation (Psychology)
Politicians -- Thailand
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้ มุ่งศึกษาแรงจูงใจในการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 จำนวน 104 คน ในการศึกษาเชิงปริมาณ และจำนวน 19 คน ในการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยมีสมมุติฐานว่า นักการเมืองระดับต่าง ๆ มีแรงจูงใจและความต้องการที่จะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวเนื่องกับผลประโยชน์ทางอำนาจ ชื่อ เสียง เกียรติยศ และแสดงออกซึ่งบทบาททางการเมือง เพื่อสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวให้เป็นที่รู้จักแก่สาธารณะต่อไป และบุคคลชั้นนำทางการเมืองมีส่วนต่อการเป็นแม่แบบทางบทบาทและบุคลิกภาพที่แสดงออกทางการเมือง ผลของการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกับตัวแปรเพศ และตัวแปรการประกอบธุรกิจส่วนตัวของนักการเมืองมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การศึกษาเชิงคุณภาพพบว่า นักการเมืองมีแรงจูงใจที่ต้องการเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยแรงจูงใจ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ จะช่วยเหลือสังคม และกระทำไปเพราะมีจิตสำนึกทางการเมือง กับอีกประเภทหนึ่ง เนื่องมาจากการรักษาผลประโยชน์ของตนเพื่อชื่อเสียง เกียรติยศ ซึ่งมีความสอดคล้องกับสมมติฐานข้อที่ 1 ด้านแรงจูงใจที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ให้กับตนเอง และกลุ่มของตน พบว่ากลุ่ม นักการเมืองที่มีแรงจูงใจดังกล่าวมีพื้นฐานอาชีพเป็นพ่อค้านักธุรกิจ และการเข้ามาสู่บทบาททางการเมืองของกลุ่มนี้ จะส่งผลกระทบต่อการเมืองและประเทศชาติ 2 ด้าน คือ ในด้านบวก พบว่ากลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจสามารถนำพาเศรษฐกิจ และการเมือง เพื่อการพัฒนาประเทศไปสู่ทิศทางที่ดีขึ้น มีศักยภาพในการสร้างเครือข่ายธุรกิจ ตลอดจนมีแนวคิดแบบเสรีนิยมโดยนำเอาความคิดที่ทันสมัยในระบบเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคาร เข้ามาบริหารประเทศ ในด้านลบ พบว่า อาจมีการสร้างระบบผูกขาดทางธุรกิจ และฐานอำนาจโดยมุ่งผลประโยชน์ส่วนตัว ทำงานฉ้อฉลใช้ตำแหน่งทางการเมืองเพื่อสร้างเกียรติและอำนาจ ตลอดจนการขาดอุดมการณ์ทางการเมืองในที่สุด เมื่อนักการเมืองได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้วส่วนใหญ่มีความต้องการสร้างบทบาททางการเมืองของตนให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยอาจยึดรูปแบบทางการเมืองของนักการเมือง ชั้นนำมาเป็นแนวทางซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 2
Other Abstract: The Study on Thai politicians’ motivations to be members of the House of Representatives is done by two methods : quantitative research and qualitative research. A quantitative research makes use of the sampling of 104 members of the House of Representatives elected on November 17, 1996 and that of qualitative research with in-depth interview of 19 members of the House of Representatives the research hypothesis are : (1) Politicians at any level elected as MPs, individualy, have their own motivation and desire which are also related to the power, interest, prestige, and social economic and political status. (2) As MPs, politicians are likely to play their role in order to create their own characteristics to be discerned by the public. Elite politicians will serve as role model for them. The quantitative research tells US there exists a significant relationship between motivation to be MP with sex and individual business undertaking at the level of .05. On the other hand, the result of qualitative research shows that politicians’ motivations to be MPs are of two reasons. First, to render service to society with political consciousness. Second, politicians want to safeguard their interest and to maintain their reputation which agree the first research hypothesis. As for motivation to take care of their interest, the result of the study shows that most of politicians with this kind of motivation, are basically businessmen and will impact an national politics in two ways, On positive side, their cleverness and wide vision will contribute to better economy, politics and national development, able to create business network, having liberal idea and bringing in new ideas in economics, finance and banking into administration. On the negative side, it can be that businessmen who are now MPs might create a business monopoly, establishing base of power, practise corruption and exercise their authority in order to accumulate prestige and power, and care less for ideology. As MPs, politicians are likely to create their political role by imitating the elite politican which agrees with the second research hypothesis. The influence of the elite politician and the imitation of elite politicians by the new MPs can lead them to distinctive role.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71184
ISSN: 9746379925
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srisak_ka_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ329.86 kBAdobe PDFView/Open
Srisak_ka_ch1.pdfบทที่ 1506.14 kBAdobe PDFView/Open
Srisak_ka_ch2.pdfบทที่ 22.33 MBAdobe PDFView/Open
Srisak_ka_ch3.pdfบทที่ 3523.73 kBAdobe PDFView/Open
Srisak_ka_ch4.pdfบทที่ 41.96 MBAdobe PDFView/Open
Srisak_ka_ch5.pdfบทที่ 5499.65 kBAdobe PDFView/Open
Srisak_ka_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก522.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.