Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71318
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะ-
dc.contributor.advisorศิริชัย กาญจนวาสี-
dc.contributor.authorสุภาภรณ์ คงทวี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-12-07T07:08:51Z-
dc.date.available2020-12-07T07:08:51Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743315357-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71318-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพี่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการปรับเทียบระหว่างวิธีอิควิเปอร์เซ็นไตล์, เชิงเส้นตรง และ ไออาร์ที ในการปรับแต้มเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนิสิต/นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2540 ซึ่งจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 บริบูรณ์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยวิเคราะห์แยกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ (แผนการสอบศิลป์) และ มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ (แผนการสอบวิทยาศาสตร์) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การปรับเทียบวิธีอิควิเปอร์เซ็นไตล์, วิธีเชิงเส้นตรง และ วิธีไออาร์ที การวิเคราะห์การทดถอยอย่างง่าย และสถิติทดสอบที (t-test) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป MULTILOG, BILOG และ SPSS/PC+ ข้อค้นพบที่สำคัญมีดังนี้ 1. แต้มเฉลี่ยสะสมพี่ปรับแล้วด้วยวิธีอิควิเปอร์เซ็นไตล์, แต้มเฉลี่ยสะสมที่ปรับแล้วด้วยวิธีเชิงเส้นตรง และค่าพารามิเตอร์ความสามารถพี่ปรับแล้วด้วยวิธีไออาร์ที มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. ผลการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นปีที 1 พบว่า 2.1 แต้มเฉลี่ยสะสมที่ปรับแล้วด้วยวิธีอิควิเปอร์เซ็นไตส์, แต้มเฉลี่ยสะสมที่ปรับแล้วด้วยวิธีเชิงเส้นตรง และค่าพารามิเตอร์ ความสามารถที่ปรับแล้วด้วยวิธีไออาร์ที สามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นปีที่ 1 ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2 เมื่อเปรียบเทียบกับผลการพยากรณ์ด้วยแต้มเฉลี่ยสะสมเดิมและค่าพารามิเตอร์ความสามารถเดิม พบว่าในกลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์แต้มเฉลี่ยสะสมที่ปรับแล้วด้วยวิธีอิควิเปอร์เซ็นไตล์, วิธีเชิงเส้นตรง และค่าพารามิเตอร์ความสามารถที่ปรับแล้วด้วยวิธีไออาร์ที มีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ดีกว่าแต้มเฉลี่ยสะสมเดิมและค่าพารามิเตอร์ความสามารถเดิม พี่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 ส่วนในกลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์กับกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ (แผนการสอบวิทยาศาสตร์) เฉพาะค่าพารามิเตอร์ความสามารถที่ปรับแล้วด้วยวิธี ไออาร์ทีเท่านั้นพี่มิประสิทธิภาพในการพยากรณ์ดีกว่าค่าพารามิเตอร์ความสามารถเดิม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ขณะที่ในกลุ่มสาขาวิชาอื่น ๆ แต้มเฉลี่ยสะสมและค่าพารามิเตอร์ความสามารถเดิมกับแต้มเฉลี่ยสะสมและค่าพารามิเตอร์ความสามารถที่ปรับแล้วมีประสิทธิภาพ ในการพยากรณ์ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่แต้มเฉลี่ยสะสมเดิมมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ดีกว่าแต้มเฉลี่ยสะสม ที่ปรับแล้วด้วยวิธีเชิงเส้นตรง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.3 ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการปรับเทียบระหว่างวิธีอิควิเปอร์เซ็นไตล์, เชิงเส้นตรง และไออาร์ที ผลปรากฎว่า ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ วิธีเชิงเส้นตรงมีประสิทธิภาพดิกว่าวิธีอิควิเปอร์เซ็นไตล์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ วิธีอิควิเปอร์เซ็นไตล์ และ วิธีไออาร์ที มีประสิทธิภาพดีกว่าวิธีเชิงเส้นตรง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนในกลุ่มสาขาวิชาอื่น ๆ วิธีการปรับเทียบ 3 วิธี ให้ประสิทธิภาพที่ไม่แตกต่างกัน-
dc.description.abstractalternativeThe main purpose of this study was to compare the effectiveness of equipercentile, linear and IRT equating methods in high school cumulative grade point average adjusted with university entrance examination scores. The sample of this study was the first year students in the 1998 academic year of the public universities, i.e. Chulalongkorn, Thamasat, Kasetsart, Silpakom and Srinakarinwirot. The sample was divided into science, engineering, architecture, commerce and accountancy, humanities and social sciences (art program), humanities and social sciences (science program) groups. The data were analyzed by descriptive statistics, equipercentile, linear and IRT equating methods, simple regression analysis and t-test through MULTILOG, BILOG and SPSS/PC+ program. The important findings were 1. The cumulative grade point average adjusted by equipercentile, linear and the ability parameter adjusted by IRT equating method correlated with the first year students' achievement significantly at .001 statistical level. 2. The prediction results of the first year students' achievement were as follows: 2.1 The cumulative grade point average adjusted by equipercentile, linear and the ability parameter adjusted by IRT equatmg method could predict the first year students' achievement significantly at .01 statistical level. 2.2 The comparison of the predictions by the former cumulative grade point average, the former ability parameter and the adjusted ones showed that the cumulative grade point average adjusted by equipercentile, linear and the ability parameter adjusted by IRT equatmg method had higher coefficient of determination than the former cumulative grade point average and the former ability parameter significantly at .01 statistical level in science group. For engineering and humanities and social sciences (science program) groups, only the ability parameter adjusted by IRT equating method had higher coefficient of determination than the former ability parameter significantly at .05 statistical level. But for the other groups, there was no difference in coefficient of determination between the former cumulative grade point average, the former ability parameter and the adjusted ones except the engineering group that it was found the former cumulative grade point average had higher coefficient of determination than the adjusted cumulative grade point average by linear equatmg method significantly at .01 statistical level. 2.3 The comparison of the effectiveness among equipercentile, linear and IRT equating methods in science group found that the linear was more effective than the equipercentile equatmg methods. For engineering group, the equipercentile and the IRT equating methods were more effective than the linear equating method significantly at .01 statistical level. For the rest groups, the three equating methods were not different in their effectiveness.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- การสอบคัดเลือกen_US
dc.subjectสถิติทดสอบทีen_US
dc.subjectUniversities and colleges -- Entrance examinationsen_US
dc.subjectt-test (Statistics)en_US
dc.titleการปรับแต้มเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัย : การเปรียบเทียบระหว่างวิธีการปรับเทียบแบบอิควิเปอร์เซ็นไตล์ เชิงเส้นตรงและไออาร์ทีen_US
dc.title.alternativeHigh school cumulative grade point average adjustment with university entrance examination scores : a comparison among equipercentile, linear and IRT equating methodsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiridej.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSirichai.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_ko_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.64 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_ko_ch1_p.pdfบทที่ 11.15 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_ko_ch2_p.pdfบทที่ 23.84 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_ko_ch3_p.pdfบทที่ 31.09 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_ko_ch4_p.pdfบทที่ 49.58 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_ko_ch5_p.pdfบทที่ 51.24 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_ko_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.