Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7176
Title: | การศึกษาการแพร่กระจายคลื่นวิทยุโดยอาศัยการสะท้อนรอยทางเดินของดาวตก : รายงานผลการวิจัย |
Other Titles: | Study of radiowave propagation by reflection from meteor trail |
Authors: | ฉัตรชัย ไวยาพัฒนกร |
Email: | Chatchai.W@chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | คลื่นวิทยุ ดาวตก รอยทางเดินของดาวตก |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เป็นที่ทราบกันดีว่ารอยทางเดินของดาวตกสามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้ ประเทศตะวันตก และประเทศที่มีความเจริญทางวิทยาการสูงได้ประยุกต์ใช้ความสามารถดังกล่าวในกิจการสื่อสาร และกู้ภัยมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ประเทศไทยเองซึ่งก็มีทรัพยากรดาวตกกลับยังคงชื่นชมกับทรัพยากรนี้เพียงเชิงสุนทรียะเท่านั้น โครงการนี้จึงดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจากการวิจัยก่อนหน้าของผู้วิจัยเพื่อการศึกษาธรรมชาติการแพร่กระจายคลื่นโดยอาศัยการสะท้อนรอยทางเดินของดาวตกในบริเวณน่านฟ้าประเทศไทย เช่น แบบจำลองรอยทางเดินที่เหมาะสม สถิติการแพร่กระจายในรูปความยาวนานของการปรากฏรอยทางเดิน อัตราการเกิดรอยทางเดิน ขนาดกำลังเหนือกำลังสัญญาณรบกวนพื้นหลัง เป็นต้น การศึกษานี้ทำโดยการจัดตั้งข่ายเชื่อมโยงและทดลองส่งคลื่นวิทยุสะท้อนรอยทางเดินของดาวตก ช่วยเชื่อมโยงที่จัดตั้งขึ้นมีสถานีส่งอยู่ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีรับอยู่ ณ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ใช้กำลังส่ง 200 W และเครื่องรับที่มีความไวได้ถึง -130 dBm การทดลองส่งคลื่นวิทยุกระทำ ณ ปลายสัปดาห์ที่สามของเดือนมีนาคม 2547 ถึง เดือน กันยายน 2547 ผลการวิเคราะห์สัญญาณรับที่ได้จากการทดลองส่งคลื่นแสดงให้เห็นความเหมาะสมของการใช้แบบจำลองรอยทางเดินชนิดทรงกระบอกเรียงซ้อน เนื่องจากผลการคำนวณรูปสัญญาณด้วยแบบจำลองนี้เทียบเคียงได้จากการตรวจวัดด้วยค่าสหพันธ์ ระหว่างผลการคำนวณและผลการตรวจวัดที่สูงกว่า 0.80 ผลการวิเคราะห์เชิงสถิติชี้ให้เห็นว่ามีรอยทางเดินประเภทความหนาแน่นต่ำปรากฏมากพอสมควร คิดเป็นสัดส่วนระหว่างรอยทางเดินความหนาแน่นต่ำและรอยทางเดินความหนาแน่นสูงประมาณ 2:3 ขนาดกำลังเหนือกำลังสัญญาณรบกวนพื้นหลังที่ตรวจวัดได้อยู่ในเกณฑ์ดีสามารถใช้ประโยชน์ในการสื่อสารได้โดยอาศัยกรรมวิธีเข้ารหัสและกล้ำสัญญาณที่เหมาะสมผลการศึกษาตามโครงการนี้เมื่อรวมกับผลการศึกษาก่อนหน้าโดยผู้วิจัยทำให้สามารถสร้างแบบจำลองเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งข่ายเชื่อมโยงการสื่อสารผ่านดาวตกได้ แบบจำลองที่ได้ยังคงไม่สมบูรณ์เพียงพอเนื่องจากจำนวนข้อมูลที่เกี่ยวข้องยังมีน้อยเกินไป ผลการทดสอบแบบจำลองในเบื้องตันแสดงให้เห็นศักยภาพของแบบจำลองในการออกแบบข่ายเชื่อมโยงการสื่อสารผ่านดาวตกได้อย่างน่าพอใจ |
Other Abstract: | It is well known that a meteor trail is capable of reflecting radiowaves. Countries in the west and those with advanced technology have applied this capability in communication services and rescue missions for quite some time. However Thailand with meteor resources still appreciates its own resource in only the aesthetic aspect. This project, a resumption of the author's previous work, aims to study the nature meteor scatter propagation within the airspace of Thailand. It is expected to obtain proper trail model, propagation statistics in terms of trail duration, rate of arrival, scattered signal peak amplitude and scattered signal power to background noise power ratio, etc. This study is carried on by setting up a radio link and transmiiting radiowave towards the meteor trail observe radio reflection from the trail. The radio link has is transmitting station at Faculty of Engineering, Chulalongkorn University in Bangkok. The receiving station is located in the city district of Yala province. The transmitting power is 200 W, while the receiver's sensitivity is -130 dBm. The radio transmission was regularly performed at the weekend of the third week of each month from March 2003 to September 2003. Results from analysis of the received signal confirm the suitability of the multi-layered cylinder trail model. This is because the calculated signal waveform is in good agreement with detected or measured signal waveform. The correlation coefficient the both waveforms is greater than 0.8. Results from statistical analysis show that there are a large number of low density meteor trails. The ratio of low density trail to high density rail is about 2:3. The signal power to background noise power ratio is of good quality. It is possible to serve communication purpose provided proper coding and modulation techniques are adopted. Results from this project together with previous work enable the author to construct a good model useful for setting up a meteor burst communication link. However the obtained model is still far from perfect. This is due to insufficient amount of data. The test of the model gives satisfactory result. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7176 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Eng - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chatchai.pdf | 6.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.