Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72279
Title: การพัฒนาสูตรตำรับยาน้ำเชื่อมที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากขี้เหล็ก
Other Titles: Formulation of syrup contraining Cassia siamea Lamk. extract
Authors: ภัทรพรรณ ศิริปุณย์
Advisors: สุนทร บุญญาธิการ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Soontorn.B@Chula.ac.th
Subjects: ขี้เหล็ก (พืช)
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สมุนไพรบางชนิดมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการเซื่องซึม แต่ส่วนใหญ่มีความเป็นพิษสูงเมื่อใช้ในคน พบว่าสมุนไพรทั้งหลายที่นำมาศึกษานั้น ใบ และดอกขี้เหล็กมีพิษน้อยที่สุด สาระสำคัญจากใบขี้เหล็กคือบาราคอล ซึ่งมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยให้นอนหลับได้ดี ในการศึกษานี้ใบขี้เหล็กได้รับการสกัดโดยใช้เอทานอลความเข้มข้นต่างๆ กัน พบว่าเอทานอลร้อยละ 15 ในน้ำสามารถสกัดแอนไฮโดรบาราคอลได้มากที่สุด ระหว่างใบแก่, ใบอ่อน และดอก ใบอ่อนมีปริมาณแอนไฮโดรบาราคอลสูงมากกว่าดอก และใบแก่ตามลำดับ ตำรับยาน้ำเชื่อมเตรียมโดยใช้สารสกัดจากขี้เหล็กในความเข้มข้นร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก กลบรสขมและแต่งรสหวานโดยใช้น้ำเชื่อมโกโก้ปริมาณร้อยละ 65 ซอร์บิทอลร้อยละ 10 กลีเซอรีนร้อยละ 10 โดยน้ำหนักตำรับที่มีโพรพิล แกลเลท ร้อยละ 0.1 โดยน้ำหนักและตำรับที่มีบิวทิเลทเทด ไฮดรอกซีโทลูอีน ร้อยละ 0.02 โดยน้ำหนัก หลังจากผ่านฟริซ-ทอล์ ไซเคิล 6 รอบ มีความคงตัวทางเคมีดีกว่าตำรับอื่นๆ ทั้ง 2 ตำรับ เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75% เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และเก็บที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 4 เดือนพบว่าทั้ง 2 ตำรับ ไม่มีความคงตัวทั้งทางกายภาพและทางเคมี แต่มีความคงตัวเมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยมีปริมาณแอนไฮโดรบาราคอลคงเหลือในทั้ง 2 ตำรับ ร้อยละ 95 แต่อย่างไรก็ตามทั้ง 2 ตำรับเมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส นาน 4 เดือน ปริมาณแอนไฮโดรบาราคอลจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 80 และทั้ง 2 ตำรับได้ผ่านมาตรฐานการทดสอบการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ เมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องและในตู้เย็นเป็นเวลา 4 เดือน
Other Abstract: Some medicinal plants have pharmaceutical effect on the central nervous system which produce depressive symptom. But almost medicinal plants are too toxic to use for human being. Among these one found that the leaves and the flowers of Cassia siamea Lamk. have the lowest toxic. The active ingredient from Cassia siamea Lamk. leaves extract was barakol which gave depressant action upon the central nervous system to produce good sleepness. In this study Cassia siamea Lamk. leaves were extracted by various concentration of ethanol, 15 percent of ethanol in water could give highest extract of anhydrobarakol. Among old leaves, young leaves and flowers, young leaves gave higher content of anhydrobarakol than flowers and old leaves, respectively. Syrup containing Cassia siamea Lamk. extract were formulated with 7% w/w crude extract. The appropriate weights of 65% w/w cocoa syrup, 10% w/w sorbitol, 10% w/w glycerine were used as flavoring agent and sweetener. The formulations containing 0.1% w/w propyl gallate and 0.02% w/w butylated hydroxytoluene gave more stable than the others after passed 6 freeze & thaw cycles. Both formulations were physically and chemically unstable for two weeks at 45℃ and for four months at the ambient temperature but stable for two weeks at 4℃. The amounts of anhydrobarakol in both formulations are 95%. However, the both formulations when kept at 4℃ for four months the amount of anhydrobarakol was reduced to 80%. The both formulations were passed the standard microbiological test at the ambient and refrigerated temperature for four months.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72279
ISBN: 9746381172
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pattaraparn_si_front_p.pdf770.79 kBAdobe PDFView/Open
Pattaraparn_si_ch1_p.pdf333.34 kBAdobe PDFView/Open
Pattaraparn_si_ch2_p.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Pattaraparn_si_ch3_p.pdf793.86 kBAdobe PDFView/Open
Pattaraparn_si_ch4_p.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open
Pattaraparn_si_ch5_p.pdf292.1 kBAdobe PDFView/Open
Pattaraparn_si_back_p.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.