Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72333
Title: การศึกษาพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุของนักศึกษาพยาบาลกรณีศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี ชัยนาท
Other Titles: Caring behaviors of nursing students for elderly patients : a case study of Boromarajonani College of Nursing, Chainat
Authors: ปริญดา ศรีธราพิพัฒน์
Advisors: พวงเพ็ญ ชุณหปราณ
พิชญาภรณ์ มูลศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Paungphen.C@Chula.ac.th
Pichayaporn.M@Chula.ac.th
Subjects: ผู้สูงอายุ
การจัดการดูแล
ผู้ป่วย
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท ตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลและผู้ป่วยสูงอายุ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 และผู้ป่วยสูงอายุ จำนวนกลุ่มละ 10 คน คัดเลือกจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามสถานภาพส่วนบุคคลของนักศึกษาพยาบาลและผู้ป่วยสูงอายุคู่มือและแบบสังเกตพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุของนักศึกษาพยาบาล แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกรายงานการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ และคู่มือการจัดสนทนากลุ่มนักศึกษาพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโดยรวมทั้งกลุ่มทุกสถานการณ์ อยู่ในระดับปานกลาง และพิจารณารายด้าน พบว่า พฤติกรรมด้านพันธะผูกพันในการปฏิบัติงานการดูแล ด้านความสามารถในการปฏิบัติงาน และด้านจิตสำนึกความถูกต้องทางศีลธรรมจริยธรรม อยู่ในระดับดี ส่วนพฤติกรรมด้านความเห็นอกเห็นใจ และด้านความเชื่อมั่นไว้ใจ อยู่ในระดับปานกลาง โดยพบว่า นักศึกษาพยาบาลที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสูงมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลดีกว่า ผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลาง นักศึกษาพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุเพศชายมีพฤติกรรมการดูแลดีกว่า ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุเพศหญิง นักศึกษาพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุในแผนกอายุรกรรมมีพฤติกรรมการดูแลดีกว่า ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุในแผนกศัลยกรรม และนักศึกษาพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไปมีพฤติกรรมการดูแลดีกว่า ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุต่ำกว่า 70 ปี 2. พฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ตามการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาพยาบาล และผู้ป่วยสูงอายุทุกราย มีความเห็นตรงกันว่า พฤติกรรมการดูแลมีองค์ประกอบ 8 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้สึกในฐานะความเป็นมนุษย์ด้านพันธะผูกพันในการปฏิบัติงานการดูแล ด้านความรู้ความสามารถในการดูแล ด้านความเห็นอกเห็นใจ ด้านความเชื่อมั่นไว้ใจ ด้านการให้ความเคารพนับถือ ด้านการให้คุณค่า ศักดิ์ศรีความเป็นบุคคล และด้านจิตสำนึกความถูกต้องทางศีลธรรมจริยธรรม ส่วนที่นักศึกษาพยาบาลมีการรับรู้แตกต่างจากผู้ป่วยสูงอายุ คือ การใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติงาน ให้ความเข้าใจ การให้ความรู้สึกร่วมเห็นใจ ไวต่อการรับรู้ความรู้สึก เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึกให้การยอมรับ การให้ข้อมูลและคำอธิบาย ความซื่อสัตย์และพูดบอกกล่าวความจริง 3. นักศึกษาพยาบาลที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสูง มีเจตคติทางบวกต่อผู้สูงอายุ มีบุคลิกภาพร่าเริง แจ่มใส ปรับตัวและควบคุมตนเองได้ มีผู้สูงอายุในครอบครัว มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยสูงอายุมาก่อนมีพฤติกรรมการดูแลดีกว่า ผู้ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปานกลาง มีเจตคติทางลบต่อผู้สูงอายุ บุคลิกภาพพูดน้อย เงียบขรึม ปรับตัวและควบคุมตนเองได้น้อย ไม่มีผู้สูงอายุในครอบครัว และไม่มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยสูงอายุมาก่อน และพบว่า ภาระงานที่ได้รับมอบหมายมากเกินไป ทำให้การปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุของนักศึกษาพยาบาลลดลง
Other Abstract: The purposes of this research were to study caring behaviors of nursing students for elderly patients and to compare of the perception’s of elderly patients and nursing students. The samples consisted of 10 junior nursing students of Boromarajonani Colleges of Nursing Chainat and 10 elderly patients who were admitted in medical and surgical department in Chainat Hospital and received of care by nursing students. Samples were selected by purposive sampling. The Research instruments used in collecting the data were demographic data of nursing students and elderly patients, caring behaviors observation check list and manual, indepth interviews guideline, caring record and manual of the focus groups discussion of nursing students, constructed by the researcher. The obtained data were analysed by arithmatic mean and standard deviation. Content analysis was used to analysed qualitative data. The major results of this research were as follows : 1. Nursing students had caring behaviors as a whole at moderate level, and in the aspects of competence, commitment and consciences were at good level but in the aspects of compassion and confidence were at moderate level. Caring behaviors of nursing students’ with high academic achievement were higher than those with moderate academic achievement, care for elderly patients in medical department were better than in surgical department, care for male elderly patients were better than female and care for elderly patients aged more than 70 years were better than those aged less than 70 years. 2. Caring behaviors perceived by nursing students and elderly patients were the same. Those were feeling as human being, commitment in caring, competencies, compassion, conscience, trust relationship, respectful, human dignity value. The difference perception of caring behaviors (sub aspect) between nursing students and elderly patients were application of nursing process, understanding, empathy, sensitivity of feeling, opportunity to ventilate one’s thought, accept, giving information and explaination, honesty and telling the truth. 3. Nursing students with high academic achievement, had positive attitude toward elderly, cheerful personality, capable in adapt and control oneself, had elderly in the family, had experience in caring of elderly, had better caring behaviors than those with moderate academic achievement, negative attitude, reserved personality, no elderly in the family and no experience in caring of elderly. Nursing students found that over assignments would inhibit caring behaviors.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72333
ISBN: 9746386751
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parinda_sr_front_p.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Parinda_sr_ch1_p.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Parinda_sr_ch2_p.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open
Parinda_sr_ch3_p.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Parinda_sr_ch4_p.pdf5.56 MBAdobe PDFView/Open
Parinda_sr_ch5_p.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open
Parinda_sr_back_p.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.