Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73018
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพันตรี เกิดโชค-
dc.contributor.authorจุฑาพร แต้ภักดี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-03-31T07:23:14Z-
dc.date.available2021-03-31T07:23:14Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73018-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross – sectional Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 716 คน ซึ่งถูกเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ของจิตราภรณ์ ทองกวด ซึ่งพัฒนามาจากทฤษฏีของโกลแมน และแบบวัดการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว Chulalongkorn Family Inventory (CFI) นำเสนอโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติ t-test , One way ANOVA และ Multiple Linear Regression โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.93 ในขณะที่การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวอยู่ในระดับดีพอสมควร ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.11 ความสัมพันธ์ระหว่างความเห็นอกเห็นใจและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p < 0.001) และมีความสัมพันธ์กับทุกด้านของการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวยกเว้นด้านการควบคุมพฤติกรรม และมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับปัจจัยเพศ ( p < 0.001) คะแนนเฉลี่ยสะสม ( p < 0.001) สถานะความสัมพันธ์ของบิดามารดา ( p = 0.03) และความสัมพันธ์ของนักเรียนกับมารดา ( p = 0.001) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นและการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวมีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นการช่วยให้ครอบครัวปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างแข็งแรงย่อมช่วยในการเสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นให้กับเด็กได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this cross-sectional descriptive study was to examine the association between empathy and family functioning in junior high school students at Benchama Maharat school in Ubonratchathani province. Through sample random sampling 716 students were recruited. All participants completed a questionnaire on a demographic information, the empathy measurement form of Jttraporn Thongguat which was developed from the theory of Goleman and Chulalongkorn Family Inventory (CFI) of the professor, doctor Umaporn Trangkasombat. Data were analyzed by descriptive statistical methods and inferential statistical methods including t-test, ANOVA, Multiple Linear Regression, with statistical significant level at 0.05. The results were as followed. The student has empathy in overall in high level with the average score 3.93. The family functioning in overall was in good level with the average score 3.11. From the study of association, it was found that the empathy can affect to the family functioning with statistical significant level at 0.000. Moreover, it can affect other factors; sex (p < 0.001), grade (p < 0.001), family status (p = 0.03), the relationship between student and mother (p = 0.001) The results of this study suggest that empathy and family functioning are related. Thus, helping them to function better play major roles in the development of adolescent’s empathy.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1419-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการร่วมรู้สึกในเด็ก-
dc.subjectความเห็นอกเห็นใจ-
dc.subjectEmpathy in children-
dc.subjectSympathy-
dc.titleความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอุบลราชธานี และความเกี่ยวข้อง ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัวen_US
dc.title.alternativeEmpathy in junior high school in Ubonratchathani Province and The Association between family functioningen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1419-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Med_6074006730_Thesis_2018.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.