Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73098
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ครรชิต ผิวนวล | - |
dc.contributor.author | วีรวัฒน์ อำพนนวรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-04-07T04:57:31Z | - |
dc.date.available | 2021-04-07T04:57:31Z | - |
dc.date.issued | 2525 | - |
dc.identifier.issn | 9745607061 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73098 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงระบบขนส่งมวลชนแบบ “ต้องการ-สนองตอบ” สำหรับเคหะชุมชน โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระบบขนส่งมวลชนแบบ “ต้องการ-สนองตอบ” (Demand-Responsive Transit System) ซึ่งได้เคยกระทำมาแล้วในต่างประเทศ รวมถึงศึกษาสมมุติฐานและความเหมาะสมเพื่อจะได้นำมาดัดแปลงใช้กับระบบในประเทศไทย โดยพื้นที่ที่ทำการศึกษาจะศึกษาเฉพาะเคหะชุมชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งสามารถวัดคุณลักษณะด้านเศรษฐกิจและสังคมของผู้อยู่อาศัยได้จำนวน 5 เคหะชุมชน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา (Simple Random Sampling) เคหะชุมชนทั้ง 5 แห่งที่ทำการศึกษาคือ หมู่บ้านเสนานิเวศน์ หมู่บ้านเสรี หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ 2 หมู่บ้านผาสุกนิเวศน์และหมู่บ้านสัมมากร การศึกษาได้ใช้วิธีการสำรวจเก็บข้อมูลที่บ้าน (Home Interview Survey) ได้ข้อมูลทั้งสิ้น 497 ชุด (จำนวนบ้าน 497 หน่วย) จากจำนวนบ้านทั้งหมด 6832 หน่วย ซึ่งเป็นจำนวนร้อยละ 7.3 ของจำนวนบ้านทั้งหมด ผลของการศึกษาแบ่งแยกออกได้ดังนี้คือ (1) พฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยในเคหะชุมชนเกี่ยวกับการเดินทางและความต้องการของการเดินทาง พบว่า จำนวนผู้เดินทางออกจากบ้านแยกตามจุดประสงค์ของการเดินทางได้ดังนี้ ทำงาน การศึกษา ธุรกิจส่วนตัว อื่น ๆ มีปริมาณเท่ากับร้อยละ 48.0, 44.9, 2.2 และ 4.9 ของจำนวนผู้เดินทางออกจากบ้านทั้งหมดตามลำดับ ครอบครัวที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวมีถึงร้อยละ 75.9 ของจำนวนบ้านที่ทำการสำรวจ ใช้รถโดยสารประจำทางเพียงร้อยละ 24.1 ของจำนวนบ้านที่ทำการสำรวจ สถานที่ไปกลับอันเป็นจุดหมายหลายทางของผู้เดินทางออกจากบ้านส่วนใหญ่เป็นที่เดิมไม่เปลี่ยนแปลง (2) คุณลักษณะทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละครอบครัว พบว่า จำนวนคนในครอบครัวโดยเฉลี่ย 5.3 คน/ครอบครัวและ 5.0 คน/ครอบครัว (เมื่อไม่รวมเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีที่ไม่ไปโรงเรียน) จำนวนรถยนต์ส่วนตัวในครอบครัวโดยเฉลี่ยมี 1.1 คัน/ครอบครัว รายได้ของครอบครัวโดยเฉลี่ย 15,110 บาท/ครอบครัว/เดือน จำนวนผู้มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ส่วนบุคคลเฉลี่ย 1.9 คน/ครอบครัว จำนวนครอบครัวที่มีโทรศัพท์คิดเป็นร้อยละ 56.1 ของจำนวนบ้านที่ทำการสำรวจ จำนวนผู้ทำงานโดยเฉลี่ย 2.4 คน/ครอบครัว (3) ค่านิยมของครอบครัวในเคหะชุมชนที่มีต่อระดับของการบริการในระบบขนส่งมวลชนแบบ “ต้องการ-สนองตอบ” พบว่า ค่านิยมของครอบครัวในเคหะชุมชนที่มีผลต่อระดับของการบริการในระบบเรียงจากมากไปน้อย คือ ความสะดวกสบายในการขึ้นลงจากรถและมีที่นั่งเสมอ ไม่มีการเปลี่ยนรถในระหว่างการเดินทาง ค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระดับของการบริการและระยะทางรถมารับและส่งถึงที่ เวลาที่ใช้ในการรอรถมารับและเวลาที่ใช้ในการเดินทางสั้น สามารถเลือกเวลาให้รถมารับได้ มีโทรศัพท์จำนวนมากติดตั้งในสถานที่สาธารณเพื่อเรียกใช้บริการของรถ รถต้องเป็นรถปรับอาการ มีการบริการภายในรถ เช่น กาแฟ, หนังสือพิมพ์, นิตยสาร มีผู้ตอบชอบมากและชอบคิดเป็นร้อยละของจำนวนครอบครัวที่ทำการสำรวจ คือ 90.5, 89.5, 81.1, 77.7, 77.7, 72.2, 58.6, 38.6, 11.9 ตามลำดับ จำนวนครอบครัวที่ต้องการใช้บริการของระบบขนส่งมวลชนแบบ “ต้องการ-สนองตอบ” มีจำนวนร้อยละ 97.6 ของจำนวนครอบครัวที่ทำการสำรวจ (4) ลักษณะการเดินทางที่เกิดขึ้นและสมการการเดินทางที่เกิดขึ้น พบว่า จำนวนการเดินทางจากบ้านโดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 เที่ยว/ครอบครัว จำนวนการเดินทางทั้งหมดโดยเฉลี่ยเท่ากับ 10.6 เที่ยว/ครอบครัว สมการการเดินทางที่เกิดขึ้น คือ T = 1.441071 + 1.854038 P (multiple correlation coefficient เท่ากับ 0.86) ซึ่ง T คือ จำนวนการเดินทางที่เกิดขึ้นทั้งหมดในแต่ละครอบครัว (Total trip) P คือ จำนวนคนในครอบครัวโดยไม่รวมเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ไม่ไปโรงเรียน (5) แบบจำลองความต้องการ (Demand model) ระบบขนส่งมวลชนแบบ “ต้องการสนองตอบ” สำหรับเคหะชุมชน พบว่า มีสมการดังนี้ R = 0.588795 + 0.5398005 P (multiple correlation coefficient เท่ากับ 0.74) ซึ่ง R คือจำนวนการเดินทางที่เกิดขึ้นซึ่งต้องการใช้บริการขนส่งมวลชนแบบ “ต้องการ-สนองตอบ” ในแต่ละครอบครัว P คือ จำนวนคนในครอบครัวโดยไม่รวมเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ไม่โรงเรียน (6) ระบบขนส่งมวลชนแบบ “ต้องการ-สนองตอบ” สำหรับเคหะชุมชนที่เหมาะสมในสภาพการณ์ปัจจุบันและอนาคต คือ Peak-hour subscription bus Dial-a-bus และ Jitney (7) ระบบขนส่งมวลชนแบบ “ต้องการ-สนองตอบ” ที่จะจัดขึ้นนั้นมีเป้าหมายสำคัญ ๆ แตกต่างกับที่ได้กระทำในต่างประเทศอยู่บ้าน เช่น เน้นเพื่อการประหยัดเชื้อเพลิงโดยส่วนรวมแทนการจัดบริการสำหรับประชากรที่มีโอกาสสำหรับการเดินทางน้อย รวมไปถึงการลดปัญหาการจราจรคับคั่ง ลดปัญหาที่จอดรถในเมืองและลดมลอากาศเป็นพิษ | - |
dc.description.abstractalternative | This research is an indepth study of “Demand-Responsive” transit system for housing estate. The purpose of the study is to review the existing demand-responsive system in other countries together with its hypothesis and suitability to fit the prevailing condition in Thailand. Five housing estates in Bangkok where their socio-economic characteristics can be measured were selected namely Sena Nives, Seree Village, Huong Tong 2, Phasuk Nives and Summakorn. The total dwelling unit is 6832; home interview survey utilizing simple random sampling is employed to gather the data for 497 units which is about 7.3 percent of the total dwelling unit. The results of the study are as follows. 1. Concerning travel characteristics of the residents, the study shows that the percentage of trips stratify by purpose : working, education, personal business and others are 48.0%, 44.9%, 2.2% and 4.9% respectively. Percentage of dwelling unit using passenger cars and buses are about 75.9% and 24.1% respectively. 2. Concerning socio-economic characteristics, the study show that there are approximately 5.3 persons/unit and 5.0 persons/unit (excluding children under 5 year of ages that do not go to school) respectively. The number of passenger cars per household is about 1.1 cars. The average imcome of d.u. is 15,110 baht/month. The number of persons having driving license is about 1.9 persons/d.u.. Percentage of dwelling unit having telephone is 56.1% 3. Concerning the level of service of demand responsive transit system for housing estates, the study shows that the most suitable and suitable level of service are:- easier entry and exit from the vehicle, assurance of getting a seat, no transfer mode of vehicle during travel, fare depending on level of service and distance of travel, door-to-door service, short time spent during the journey in the vehicle and shorter time spent in waiting to be picked up, being able to select the time when to be picked up, more availability of the telephones in public area to call up the service, air conditioned vehicle; and availability of coffee, news paper, and magazines in the vehicle. The percentage of the above level of service are 90.5%, 89.5%, 81.1, 77.7%, 77.7%, 72.2, 58.6%, 38.6%, 11.9% respectively. The number of dwelling unit that prefer to use demand-responsive system is 97.6%. 4. Concerning trip characteristics and demand model, the study shows that average no of from home trip is 4.6 trips/d.u. and average no. of home-based trip is 10.6 trips/d.u. The regression equation for total no. of trips in the study area is T = 1.441071 + 1.854038 P (multiple correlation coefficient is 0.86) where T = total trips in dwelling units and P = total number of persons in dwelling unit excluding children under 5 year of ages. 5. The demand for responsive system model for housing estate is R = 0.588795 + 0.5398005 P (multiple correlation coefficient is 0.74) where R = total trips that will use demand responsive system for the dwelling units and P = total number of persons in dwelling unit excluding children under 5 year of ages. 6. The suitable demand-responsive transit system for housing estates at present and future are Peak hour subscription bus, Dial-a-bus and Jitney. 7. Purpose of the demand-responsive system recommended is somewhat difference from those in other countries: emphasize on saving fuel instead of service for low density area, including reduce traffic congestion, reduce parking congestion and reducing air pollution. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.1982.7 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การขนส่ง | en_US |
dc.subject | การขนส่งมวลชน | en_US |
dc.subject | การขนส่งมวลชน -- วิจัย | en_US |
dc.subject | Transportation | en_US |
dc.subject | Local transit | en_US |
dc.subject | Local transit -- Research | en_US |
dc.title | ระบบขนส่งมวลชนแบบ "ต้องการ-สนองตอบ" สำหรับเคหะชุมชน | en_US |
dc.title.alternative | Demand-responsive transit system for housing estate | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.1982.7 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Veerawatn_um_front.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 12.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Veerawatn_um_ch1.pdf | บทที่ 1 | 10.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Veerawatn_um_ch2.pdf | บทที่ 2 | 47.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Veerawatn_um_ch3.pdf | บทที่ 3 | 9.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Veerawatn_um_ch4.pdf | บทที่ 4 | 22.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Veerawatn_um_ch5.pdf | บทที่ 5 | 21.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Veerawatn_um_ch6.pdf | บทที่ 6 | 14.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Veerawatn_um_back.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 16.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.