Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73149
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดรุณวรรณ สุขสม-
dc.contributor.advisorนภัสกร ชื่นศิริ-
dc.contributor.authorวิรังรอง นวลเพชร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2021-04-21T09:00:33Z-
dc.date.available2021-04-21T09:00:33Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73149-
dc.identifier.uri10.58837/CHULA.THE.2018.1122-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมด้วยการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวต่อความสามารถทางกีฬาจักรยานของนักกีฬาจักรยานไทม์ไทรอัลระดับเยาวชนชาย อาสาสมัครเป็นนักกีฬาจักรยานประเภทไทม์ไทรอัลระดับเยาวชนชาย อายุเฉลี่ย 16±2 ปี คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากนั้นเรียงลำดับตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกจักรยาน จำนวน 13 คน และกลุ่มฝึกจักรยานเสริมด้วยการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว จำนวน 12 คน ทั้งสองกลุ่มทำการฝึกโปรแกรมการฝึกจักรยาน คือ ปั่นจักรยานที่ความหนัก 65 – 80 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ระยะเวลา 120 นาทีต่อวัน จำนวน 2 วันต่อสัปดาห์ และปั่นจักรยานที่ความหนัก 80 – 90 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด ระยะเวลา 75 – 90 นาทีต่อวัน จำนวน 4 วันต่อสัปดาห์ กลุ่มฝึกจักรยานเสริมด้วยการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว จะทำการฝึกเพิ่มเติมด้วยเอกเซอร์ไซด์บอล และเครื่องกำหนดแรงต้านที่ความหนัก 75% 1RM จำนวน 2 วันต่อสัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรด้านต่างๆ ก่อนและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ ได้แก่ ด้านสรีรวิทยา ด้านความสามารถทางกีฬาจักรยาน ประกอบด้วยการปั่นจักรยานไทม์ไทรอัล 20 กิโลเมตร ความสามารถในการทรงตัว ระยะเวลาที่ทนต่อความเมื่อยล้า และด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำและเปรียบเทียบความแตกต่างแบบรายคู่โดยใช้วิธีการทดสอบแอลเอสดี ผลการวิจัย ภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ ทั้ง 2 กลุ่มมีความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุดเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มฝึกจักรยานเสริมด้วยการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวมีการใช้ระยะเวลาในการปั่นจักรยานไทม์ไทรอัล 20 กิโลเมตรลดลง รวมถึงเวลาที่ทนต่อความเมื่อยล้า ความสามารถในการทรงตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกจักรยานเสริมด้วยการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวสามารถพัฒนาความสามารถทางกีฬาจักรยานในด้านการเพิ่มความสามารถในการทรงตัว การทนต่อความเมื่อยล้า และลดระยะเวลาในการปั่นจักรยานไทม์ไทรอัล 20 กิโลเมตรได้ ในขณะที่การฝึกด้วยโปรแกรมปั่นจักรยานเพียงอย่างเดียวไม่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาดังกล่าวen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to determine the effects of additional core muscle training on cycling performance in youth male time trial cyclists. Youth male time trial cyclists, aged 16±2 years, were recruited. The purposive sampling by ranking core muscle strength was used to divide the participants into two groups: the cycling training group (n=13) and the cycling combined with core muscle training group (n=12). Both groups performed cycling training program at the intensity of 65 - 80 %HRmax for 120 min/day 2 days/week and 80 - 90 %HRmax for 75 - 90 min/day 4 days/week. The core muscle training group performed 2 additional core muscle training sessions per week using Swiss ball and weight machine at the intensity of 75 %1RM. Measurements including general physiological , cycling performance; time trial 20 km., cycling balance skill, time to fatigue as well as core muscle strength were determined before and after 8 week of intervention periods. The 2x2 (groups x times) ANOVA with repeated measures followed by LSD multiple comparisons were used to determine significant differences among all variables. Results: After 8 weeks of training, maximal oxygen consumption increased in both cycling training and cycling combined with core muscle training groups (all p< .05). The cycling combined with core muscle training groups had significantly decreased time trial 20 km. duration and increased time to fatigue, cycling balance skill and core muscle strength (all p< .05). Conclusion: The cycling combined with core muscle training improved cycling performance such as cycling balance skill, time to fatigue and time trial 20 km. duration while the cycling training only did not improve those cycling performances.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1122-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนักขี่จักรยาน-
dc.subjectความสามารถทางกีฬา-
dc.subjectกำลังกล้ามเนื้อ-
dc.subjectการฝึกกำลังกล้ามเนื้อ-
dc.subjectCyclists-
dc.subjectAthletic ability-
dc.subjectMuscle strength-
dc.subjectMuscle strength training-
dc.titleผลของการฝึกเสริมด้วยการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวต่อความสามารถทางกีฬาจักรยานของนักกีฬาจักรยานประเภทไทม์ไทรอัลระดับเยาวชนชายen_US
dc.title.alternativeEffects of additional core muscle training on cycling performance in youth male time trial cyclistsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisornapasakorn.c@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1122-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Spo_6078320439_Thesis_2018.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.