Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73255
Title: ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: Educational inequality of student with special needs in office of the basic education commission school
Authors: ณปภัช บรรณาการ
Advisors: สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ความเสมอภาคทางการศึกษา
การศึกษาพิเศษ
Educational equalization
Special education
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม ระหว่างผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษกับนักเรียนทั่วไปในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาปัจจัยนำเข้าสำหรับการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษและระบบช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) วิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนอันเนื่องมาจากภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม ปัจจัยนำเข้าสำหรับการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ และระบบช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยนี้เก็บรวบรวมข้อมูลจาก 2 แหล่งประกอบด้วย 1) ข้อมูลปฐมภูมิจากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2 ทั้งหมด 43 โรงเรียน 2) แหล่งข้อมูลทุติยภูมิโดยใช้ฐานข้อมูลของผู้สอบ O-NET รายบุคคล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ศึกษาในโรงเรียนสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปีการศึกษา 2560 ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2 จำนวน 39 โรงเรียน และนักเรียนจำนวน 11,534 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์กลุ่มแฝง (latent class analysis) และการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำ (Inequality Index) ด้วยโปรแกรม R ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษกับนักเรียนทั่วไปไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ .05 (ꭓ2df = 2 = 2.408, p = 0.300) 2) ผลการศึกษาปัจจัยนำเข้าของการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ ด้านความเพียงพอและคุณภาพครู พบว่าอัตราส่วนระหว่างจำนวนผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษต่อจำนวนครูที่รับผิดชอบงานการศึกษาพิเศษในโรงเรียน มีค่าเท่ากับ 3.77 (SD = 5.27) ค่าเฉลี่ยร้อยละของครูการศึกษาพิเศษเมื่อเปรียบเทียบกับครูที่รับผิดชอบงานการศึกษาพิเศษในโรงเรียนมีค่าเท่ากับ 16.89 (SD = 30.97) จะเห็นว่าโรงเรียนส่วนใหญ่มีครูที่รับผิดชอบงานการศึกษาพิเศษที่เพียงพอต่อความต้องการ แต่อย่างไรก็ตามครูที่รับผิดชอบงานการศึกษาพิเศษของโรงเรียนดังกล่าวนั้นมีส่วนน้อยที่มีวุฒิการศึกษาพิเศษโดยตรงซึ่งสะท้อนความขาดแคลนคุณภาพของปัจจัยนำเข้าด้านบุคลากรครูที่รับผิดชอบงานการศึกษาพิเศษของโรงเรียน นอกจากนี้ยังพบว่าสิ่งอำนวยความสะดวกและวัสดุในการผลิตสื่อของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษไม่เพียงพอ สื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูและอุปกรณ์นันทนาการเพียงพอระดับน้อย ด้านระบบช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษมีผลการประเมินดังนี้ ด้านการวางแผนการจัดการศึกษา (plan), การปฏิบัติแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (do) และ ด้านการวิเคราะห์และการตรวจสอบผลการจัดการเรียนรู้ (check) ปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ ส่วนด้านการปรับปรุงแผนและการปฏิบัติงาน (act) ปฏิบัติเป็นบางครั้ง 3) ผลการวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ พบว่า โรงเรียนในสพม.1 ( Aԑ = 0.22) มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ มากกว่าโรงเรียนในสพม.2 ( Aԑ = 0.13) และเมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็ก ( Aԑ = 0.18) มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ มากที่สุด รองลงมาคือโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ( Aԑ = 0.17) และโรงเรียนขนาดใหญ่ ( Aԑ = 0.04) ตามลำดับ
Other Abstract: This research aimed to 1) compare the socioeconomics background between students with special needs and general students in the schools under the office of the basic education commission, 2) study the input factors for providing learning to students with special needs and helping system for students with special needs in the schools under the office of the basic education commission and 3) analyze the inequality of students with special needs due to the socioeconomics background and input factors for providing learning to students with special needs and helping system for students with special needs in the schools under the office of the basic education commission. The data were collected from 2 sources which were 1) primary source from 43 schools under the secondary educational service area office 1 and 2, and 2) secondary source using ONET examiners database of grade 9 students in the schools under the office of the basic education commission in 2017 academic year from the National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). The samples used in this research were 39 schools under the secondary educational service area office 1 and 2 and 11,534 students. The data were analyzed using descriptive statistics, latent class analysis and analyzing the inequality index using program R. The results can be summarized as follows: 1) There is no statistically significant difference in the socioeconomics background between students with special needs and general students at confident interval of 0.05. (X²df = 2 = 2.408, p = 0.300) 2) The ratio between the numbers of students with special needs per teachers who responsible for special education in schools equaled 3.77 (SD = 5.27). The percentage mean of special education teachers comparing to teachers who responsible for special education in schools equaled 16.89 (SD = 30.97). It can be seen that the most of schools had sufficient number of teachers who responsible for special education. However, a small portion of those teachers earned the degree in special education which reflected the lack of quality of input factors in the aspect of teachers who responsible for special education in schools. Moreover, it was found that the facilities, and the materials used to produce the learning media for students with special needs were not sufficient. In addition, the teaching and learning media and the recreational equipments and music instruments used in occupational therapy activities were sufficient in the low level. For the helping system of students with special needs, the individual educational planning (plan), action (do), verifying (check) scores were often done, while improving plan and act (act) was sometimes done. 3) The results from analyzing the inequality of students with special needs were found that the educational inequality of students with special needs of schools under the secondary educational service area office 1 (Aԑ = 0.22) was higher than schools under the secondary educational service area office 2 (Aԑ = 0.13). Besides, when classified by school sizes, the results revealed that the educational inequality of students with special needs from medium and small schools (Aԑ = 0.18) was in the highest level, followed by extra large schools (Aԑ = 0.17) and large schools (Aԑ = 0.04), respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73255
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1414
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1414
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Edu_5983412827_Napapach Ba.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.