Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73500
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช-
dc.contributor.advisorสุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม-
dc.contributor.authorเรขา ทองคุ้ม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-05-24T07:22:38Z-
dc.date.available2021-05-24T07:22:38Z-
dc.date.issued2537-
dc.identifier.issn9745843989-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73500-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อวิเคราะห์รูปแบบและเงื่อนไขของกระบวนการเรียนการสอนแบบสืบสอบ และศึกษาความสามารถทางการสืบสอบของนักเรียนในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร พื้นที่ศึกษา คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร 4 โรงเรียน การจัดเก็บข้อมูลใช้วิธีการสังเกตชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ 4 ห้องเรียน การสัมภาษณ์ผู้บริหาร 12 คน และครูวิทยาศาสตร์ 4 คนและการทดสอบนักเรียน 208 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ สภาพของรูปแบบของกระบวนการเรียนการสอนแบบสืบสอบที่ปรากฏมี 4 รูปแบบ จาก 6 รูปแบบที่กำหนดไว้ โดยที่ 2 รูปแบบเน้นบทบาทของครู และอีก 2 รูปแบบเน้นบทบาทของครูกับนักเรียนร่วมกัน ส่วนอีก 2 รูปแบบที่เน้นบทบาทของนักเรียนนั้นไม่ปรากฏ 1. เงื่อนไขของกระบวนการเรียนการสอนแบบสืบสอบที่ปรากฏทั้ง 3 ด้าน คือด้านโรงเรียนได้แก่ ความ พร้อมในการจัดหาอุปกรณ์การทดลอง และการจัดกิจกรรมพิเศษเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ของโรงเรียน ด้านครู ได้แก่ การที่ครูมีแนวคิดว่า นักเรียนจะเรียนรู้ได้ดีถ้าได้ปฏิบัติการทดลองและได้คิดเพื่อตอบคำถามด้วยตนเอง การที่ครูมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์หลักสูตรและการสอนวิทยาศาสตร์การวางแผนการสอนอย่างชัดเจน และเตรียมอุปกรณ์ทดลองให้นักเรียนใช้อย่างเพียงพอ ด้านนักเรียนได้แก่ความตั้งใจของนักเรียนที่จะศึกษาต่อในสาขาที่เรียนวิทยาศาสตร์ 2.ความสามารถทางการสืบสอบของนักเรียนมีความหลากหลาย ค่ามัชฌิมเลขคณิตอยู่ในช่วงร้อยละ 69.64 ถึง 81.18 โดยที่นักเรียนในชั้นเรียนที่มีการเรียนการสอนแบบสืบสอบที่เน้นบทบาทนักเรียนมีความสามารถทางการสืบสอบโดยเฉลี่ยสูงสุด-
dc.description.abstractalternativeThe study sites were four large secondary schools. The data were collected by observing four science classes, interviewing twelve school administrators and four science teachers and testing two hundred and eiqht students. Content and statistical analysis were used. The findings were as follows: 1.Four out of six classified models of inquiry instruction process were found, two of them focused on the roles of teachers in the process of inquiry and the others focused on the roles of teachers and students equally, while the models focused on the roles of students could not be found. 2. The conditions of inquiry instruction process could be classified into three aspects: school, teacher, and student. The school conditions consisted of well equipped experimental instruments and having extra curriculum activities in science. The teacher conditions consisted of teachers’ concept that students would learn well if they did the experiment and thought for the answers by themselves; teachers’ knowledge and experiences concerning science content, science curriculum, and science instruction; well instructional planning and the provision of sufficient laboratory instruments. The student condition was their expectation to continue studying in science area. 3.The students’ inquiry ability varies as range of the percent of arithmetic mean from 69.64 to 81.18. The students in the science class of inquiry instruction process focused on roles of students had highest inquiry ability by average.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสอนแบบสืบสอบen_US
dc.subjectวิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.titleการวิเคราะห์รูปแบบและเงื่อนไขของกระบวนการเรียนการสอน แบบสืบสอบในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร : การศึกษาพหุกรณีen_US
dc.title.alternativeAn analysis of models and Conditions of inquiry insturction process in science classes at the lower secondary education level, Bangkok Mmetropolis : multiple case studyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rekha_to_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.02 MBAdobe PDFView/Open
Rekha_to_ch1_p.pdfบทที่ 11.2 MBAdobe PDFView/Open
Rekha_to_ch2_p.pdfบทที่ 21.69 MBAdobe PDFView/Open
Rekha_to_ch3_p.pdfบทที่ 31.84 MBAdobe PDFView/Open
Rekha_to_ch4_p.pdfบทที่ 43.06 MBAdobe PDFView/Open
Rekha_to_ch5_p.pdfบทที่ 51.34 MBAdobe PDFView/Open
Rekha_to_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก4.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.