Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7351
Title: การเปิดรับข่าวสารและการใช้การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ของพนักงานในกลุ่มบริษัท ล็อกซเลย์ จำกัด(มหาชน)
Other Titles: Media exposure and the adoption of Internet : a case study of staff members of Loxley Public Company Limited Group
Authors: อรัญญา ม้าลายทอง
Advisors: ปรมะ สตะเวทิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Parama.s@chula.ac.th
Subjects: บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด
อินเตอร์เน็ต
การยอมรับนวัตกรรม
การเปิดรับข่าวสาร
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของผู้ใช้ ลักษณะของการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารกับการยอมรับการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยศึกษาเฉพาะพนักงานในกลุ่มบริษัท ล็อกซเลย์ จำกัด (มหาชน) ที่ใช้การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้ตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าร้อยละ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ที-เทสต์ (T-test) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันซึ่งประมวลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSSx ผลการวิจัยพบว่า 1. เพศ ตำแหน่ง ลักษณะสายงาน และการเข้ารับและไม่เคยเข้ารับการสัมมนาอภิปราย หรืออบรมเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการยอมรับการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในขณะที่อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาที่ใช้การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และความถี่ในการเข้ารับการสัมมนาอภิปรายหรืออบรมเกี่ยวกับการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการยอมรับการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 2. ลักษณะของการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 3. พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากสื่อต่างๆ ได้แก่ สื่อมวลชน สื่อบุคคล และสื่อเฉพาะกิจ ผู้ใช้การสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารจากสื่อบุคคลประเภทเพื่อนร่วมงานมากที่สุด รองลงมาคือสื่อสารมวลชนประเภทนิตยสาร และสื่อเฉพาะกิจประเภทการจัดนิทรรศการ สำหรับความถี่ในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ก็มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
Other Abstract: This research aimed at examining the relationship between demographic characteristics of the users, characteristics of Internet and media exposure and the adoption of Internet. The number of the samples was 400. Questionnaires were used to collect the data. Percentage, One-way ANOVA, T-test and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient were employed for the analysis of the data. SPSSx Program was used for data processing. The results of the study were as follows : 1. Sex, position, field of work, attending seminar, discussion or trainning in Internet, were not significantly different in the adoption of Internet. Age, level of education, period of using Internet and frequency of attending seminar, discussion or trainning in Internet were significantly different in the adoption. 2. Characteristics of Internet positively correlated with the adoption of Internet. 3. Exposure to mass media, personal media and specialized media positively correlated with the adoption of Internet. The users were exposed tocolleagues, magazine and exhibition, respectively. The frequency of information exposure also positively correlated with the adoption.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7351
ISBN: 9746361708
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arunnya_Ma_front.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Arunnya_Ma_ch1.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Arunnya_Ma_ch2.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Arunnya_Ma_ch3.pdf935.43 kBAdobe PDFView/Open
Arunnya_Ma_ch4.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Arunnya_Ma_ch5.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Arunnya_Ma_back.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.