Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73606
Title: ตัวลดพลังงานแบบกะทะของทางระบายน้ำล้นจากแบบจำลองทางชลศาสตร์
Other Titles: Bucket type energy dissipators from a hydraulic model
Authors: บุญเลิศ รุ่งเรือง
Advisors: วรุณ คุณวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ทางระบายน้ำล้น
น้ำกระโดด
แบบจำลองทางชลศาสตร์
Spillway
Hydraulic jump
Hydraulic models
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เขื่อนและอาคารทางชลศาสตร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่โตเพื่อการกักเก็บและควบคุมปริมาณน้ำซึ่งอยู่ภายใต้ความดันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพลังงานจากการที่มวลน้ำไหลผ่านทางระบายน้ำล้น (Spillway) ด้วยความเร็วสูงสู่ท้ายน้ำด้านล่างนั้นจะเป็นสาเหตุให้เกิดวามเสียหายแก่อาคารทางชลศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เพื่อป้องกันการกัดเซาะที่จะเกิดขึ้นด้านหลังฐานเขื่อน จากสาเหตุอันนี้จำเป็นที่จะต้องลดพลังงานนี้ลงเสียบางส่วน วิธีหนึ่งในหลาย ๆ วิธีของการสลายพลังงานนี้คือการใช้ตัวลดพลังงานแบบกะทะ (Bucket) สลายพลังงานของมวลน้ำเสียส่วนหนึ่งก่อนที่จะปล่อยให้ไหลลงสู่ลำน้ำต่อไป การศึกษาถึงอัตราการสูญเสียของพลังงานเพื่อให้ได้รูปแบบที่สลายพลังงานได้ดีกว่าด้วยระบบดังกล่าวจากแบบจำลองทางชลศาสตร์ของทางระบายน้ำล้น (Spillway) ซึ่งย่อมาตราส่วน 1:25 ตามกฎเกณฑ์ความคล้ายคลึงกัน (Law of similitude) นี้ได้กำหนดอัตราการไหลสูงสุดในการทดลองจากสัมประสิทธิ์อัตราการไหลต่อหน่วยความกว้าง [สูตรสมการ] มีค่าตั้งแต่ 26 ลงมา ตามผลการทดลองที่สอดคล้องกันระหว่าง McPherson-Karr และ WES เพื่อนำมาซึ่งผลการทดลองเป็นมาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบกะทะรูปส่วนของวงกลมกับรูปส่วนของวงรีและรูปพาลาโบลา ด้วยการปล่อยให้น้ำไหลล้นผ่านทางระบายน้ำล้นจำลองสู่ตัวลดพลังงาน แต่ละชนิดแล้ววัดค่า y₁ และ Y₂) ด้วยเครื่องวัดระดับเฉพาะจุดและกระบอกพลาสติกใสตามลำดับ ก่อนที่จะเกิดสภาวะผืนน้ำพุ่ง (Free-jet) ในกะทะ โดยการควบคุมระดับน้ำท้ายน้ำด้วยบานประตูกั้นน้ำชนิดยกขึ้น ผลที่ได้นี้ถูกคำนวณหาอัตราส่วนของพลังงานที่สูญเสียต่อพลังงานก่อนถูกสลายที่ Fround number ต่าง ๆ โดยไม่คำนึงถึงแรงเสียดทานการกัดเซาะปลายกะทะและแรงตึงผิวที่เกิดขึ้น ผลจากการทดลองครั้งนี้พบว่า ตัวลดพลังงานรูปพาลาโบลาจะมีประสิทธิภาพในการสลายพลังงานได้ดีกว่าส่วนของวงกลมและวงรี เมื่อรูปแบบของการเกิดน้ำกระโดด (Hydraulic Jump) อยู่ในช่วงของ Strong Jump และอัตราส่วนของ h₁/a มีค่ามากกว่า นอกเหนือจากนี้แล้ว แบบส่วนของวงกลมยังมีประสิทธิภาพดีกว่าทั้งสองแบบ
Other Abstract: Nowaday, dams and hydraulic structures are constructed in immense size for keeping back and controlling large volume of water under high pressure. The discharge to the riverbed can damage related hydraulic structures, especially water energy when flow over the spillway with high velocity. This results the maintenance cost to prevent erosion in the base of the structures higher. Thus, it is necessary to reduce some excessive energy by means of the bucket type energy dissipator, one of the ways in dissipating energy before it reaches the channel bottom. The study ratio of energy loss for a better shape of energy dissipator by the above mentioned way in a hydraulic model of spillway uses the scale 1:25 in accordance with the law of similitude. The value of parameter [equation], is equal or less than 26. Furthermore, the similar outcome experimentation of McPherson-Karr and WES is studied and taken as standardize comparison between roller bucket, elliptical bucket and parabolical bucket. The discharge flow over the model spillway to each dissipator is valued y1 and y2 by point gage and transparent plastic well respectively before the surge will form a free-jet by lift gage control. The gatered values with be calculated to find out ratio of energy loss per energy before the jump on the various Froude number without considering effects of boundary friction, erosion and surface tension. The effect of this experimentation shows that parabolical energy dissipator has more efficiency in dissipating energy than roller bucket and elliptical bucket on condition that hydraulic jump is strong jump. However, the roller bucket will be better than the others if the hydraulic jump is steady jump.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73606
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1984.6
ISSN: 9745638382
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1984.6
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonlers_ro_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ12.38 MBAdobe PDFView/Open
Boonlers_ro_ch1.pdfบทที่ 110.98 MBAdobe PDFView/Open
Boonlers_ro_ch2.pdfบทที่ 216.57 MBAdobe PDFView/Open
Boonlers_ro_ch3.pdfบทที่ 322.58 MBAdobe PDFView/Open
Boonlers_ro_ch4.pdfบทที่ 47.72 MBAdobe PDFView/Open
Boonlers_ro_ch5.pdfบทที่ 513.27 MBAdobe PDFView/Open
Boonlers_ro_ch6.pdfบทที่ 61.82 MBAdobe PDFView/Open
Boonlers_ro_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก48.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.