Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73671
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย ศิริกายะ-
dc.contributor.advisorกริช สืบสนธิ์-
dc.contributor.authorสุนันทนา มวลชุมพล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-06-02T04:34:18Z-
dc.date.available2021-06-02T04:34:18Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.issn9745640158-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73671-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเครือข่ายการแพร่กระจายข่าวสาร เรื่องนิสิตทุนจุฬาฯ – ชนบท ของประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา และศึกษาผลของเครือข่ายการแพร่กระจายข่าวสารที่มีต่อความมุ่งหวังเที่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของบุตรหลาน ตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้คือผู้ปกครองของนิสิตทุนจุฬาฯ – ชนบท รุ่นที่ ๒ จำนวน ๕ คน ซึ่งอยู่ใน ๔ อำเภอคือ อำเภอเมือง บางน้ำเปรี้ยว บางคล้า และบ้านโพธิ์ ๒ คน และทำการสุ่มตัวอย่างแบบเพิ่มพูน (Snowball) ทำให้ได้ประชากรที่ศึกษา จำนวน ๑๔๐ คน ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการสัมภาษณ์รายบุคคล โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้จัดทำขึ้น จากการทดสอบสมมติฐานของการวิจัยปรากฎผลดังนี้คือ สมมติฐานที่ ๑ การแพร่กระจายข่าวสารเรื่องนิสิตทุนจุฬาฯ – ชนบท จะมีลักษณะเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ส่วนบุคคลแบบกระจาย (radial personal network) มากกว่าที่จะเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ส่วนบุคคลแบบเกี่ยวซ้อนติดกัน (Interlocking personal network) สมมติฐานที่ ๒ พฤติกรรมการสื่อสารของบุคคลในเครือข่ายการแพร่กระจายข่าวสารเรื่องนิสิตทุนจุฬาฯ - ชนบท ทำกันในระหว่างบุคคลที่มีความเหมือนกัน (homophily) มากกว่าบุคคลที่มีความแตกต่างกัน (heterophily) สมมติฐานข้อนี้ไม่ได้รับการยืนยัน สมมติฐานที่ ๓ พฤติกรรมการสื่อสารของบุคคลในเครือข่ายการแพร่กระจายข่าวสารเรื่องนิสิตทุนจุฬาฯ – ชนบท ทำกันในระหว่างบุคคลที่มีความผูกพันต่อกันแบบสนิทสนมแน่นแฟ้น (strong tie) มากกว่าบุคคลที่มีความผูกพันต่อกันแบบผิวเผิน (weak tie) สมมติฐานข้อนี้ ได้รับการยืนยัน สมมติฐานที่ ๔ การแพร่กระจายข่าวสารภายในเครือข่ายทำให้ผู้ได้รับข่าวสารเกิดความมุ่งหวังเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทาง เศรษฐกิจและสังคมของบุตรหลานในด้านการศึกษา อาชีพ และมาตรฐานความเป็นอยู่ในระดับต่างกัน สมมติฐานข้อนี้ไม่ได้รับการยืนยัน สมมติฐานที่ ๕ โอกาสในการรับข่าวสารของประชาชนเรื่องนิสิตทุนจุฬาฯ – ชนบท นอกจากจะได้รับโดยตรงตัวต่อตัวแล้วยังได้รับจากข่าวลือด้วย สมมติฐานข้อนี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นจริง จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า การแพร่กระจายข่าวสารเรื่องนิสิตทุนจุฬาฯ - ชนบทจะเกิดเป็นเครือข่ายการสื่อสารขึ้น และบุคคลภายในเครือบ่ายที่ติดต่อสื่อสารกันนี้จะมีความผูกพันอย่างสนิทสนมแน่นแฟ้นต่อกัน การตั้งบ้านเรือนจะอยู่ในละแวก เดียวกัน และพบว่าอายุการศึกษา และรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับการแพร่กระจายข่าวสารเรื่องนิสิตทุนจุฬาฯ – ชนบท แต่อย่างใด และเมื่อข่าวสารการให้ทุนแพร่กระจายออกไป ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการที่มหาวิทยาลัยพยายามสนับสนุนให้คนยากจนได้มีโอกาส เรียนต่อ และเห็นความสำคัญและคุณค่าของการศึกษามากขึ้นกว่าเดิม-
dc.description.abstractalternativeThis particular research is an attempt to study the Communication Network of Information Diffusion by way of conducting a case study of the students from Chachoengsao Province under the Rural Student's Admission and Scholarships Project, Chulalongkorn University (RASP) for the academic year 1983. The study has been carried out in order to reveal the impact of the above - mentioned issue upon the expectation of the rural inhabitants in terms of socio-economic status change in their generation. The subjects used in the research include 5 parents of the university students who have been granted Rural - Chulalongkorn University Scholarships. Five of the subjects concerned have their homes within the four districts namely, Muang, Bang Nam Priao, Bangkla whereas the homes of the other two students are in Ban Po district. By means of employing the Snowball method of sampling, 140 subjects altogether have been involved within this project. In the process of collecting the relevant data, an interviewing technique based upon a questionnaire which was formulated by the researcher has been used. After the hypotheses have been tested, the outcomes are as follows:- First Hypothesis: The information diffusion relating to the previously - mentioned issue shows its characteristic as the Radial Personal Network, rather than the Interlocking Personal Network. Second Hypothesis: The communication behaviour of those in the communication network of infornation diffusion concerning the previous-mentioned issue has a homophily rather than heterophily pattern. This hypothesis is not supported by the research. Third Hypothesis: The communication network of information diffusion relating to the previously-mentioned issue tends to involve those with strong ties rather than those with weak ties. This hypothesis has been confirmed by the research. Fourth Hypothesis: The information diffusion within the communication network of the previously-stated issue result in those in the network having different levels of expectations in terms of socio-economic status change in their second generation. Such aspects include education, career and the standard of living. However, this hypothesis has not been supported by the research. Fifth Hypothesis: Apart from being informed man to man about the previous-stated issue, some people within the communication network may have heard of such the project through rumours. This hypothesis refuted by the research. In conclusion, this research indicates that the information diffusion of the Rural Student's Admission and Scholarships project, Chulalongkorn University, has caused the communication network among those with strong ties. Who tend to live in the same neighborhood. Furthermore, the components of age, educational background and income do not bear any relation towards the information diffusion of such a project. The impact of this project, when the details have reached the target subjects, is indicated by the fact that the majority of the rural people have valued education in a more significant light and thus, approve of the University's attempt in providing poor students with an opportunity to further their studies-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1984.9-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโครงการรับสมัครนักเรียนชนบทโดยให้ทุนอุดหนุนการศึกษาen_US
dc.subjectการเผยแพร่ข่าวสารen_US
dc.subjectการสื่อสารระหว่างบุคคลen_US
dc.subjectนักศึกษา -- วิจัยen_US
dc.subjectการเลื่อนฐานะทางสังคมen_US
dc.subjectPublicityen_US
dc.subjectInterpersonal communicationen_US
dc.subjectCollege students -- Researchen_US
dc.subjectSocial mobilityen_US
dc.titleเครือข่ายการแพร่กระจายข่าวสารที่มีต่อความมุ่งหวังของประชาชน ในชนบทเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางเศรษฐกิจ และสังคมของบุตรหลาน : ศึกษาเฉพาะกรณีนิสิตทุนจุฬาฯ-ชนบท จากจังหวัดฉะเชิงเทรา ปีการศึกษา 2526en_US
dc.title.alternativeCommunication network of information diffusion resulting in the expectation of the rural inhabitants in terms of Socio-Economic status change in their second generations : A case study of the students from chachoengsao province under the rural student's admission and scholarships project (RASP) Chulalongkorn University for the academic year 1983en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1984.9-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sunantana_ma_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ11.89 MBAdobe PDFView/Open
Sunantana_ma_ch1.pdfบทที่ 113.59 MBAdobe PDFView/Open
Sunantana_ma_ch2.pdfบทที่ 222.75 MBAdobe PDFView/Open
Sunantana_ma_ch3.pdfบทที่ 313.86 MBAdobe PDFView/Open
Sunantana_ma_ch4.pdfบทที่ 431.97 MBAdobe PDFView/Open
Sunantana_ma_ch5.pdfบทที่ 516.59 MBAdobe PDFView/Open
Sunantana_ma_ch6.pdfบทที่ 69.91 MBAdobe PDFView/Open
Sunantana_ma_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก33.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.