Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73778
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิษณุ เครืองาม-
dc.contributor.advisorสุวงศ์ ศาสตรวาหา-
dc.contributor.authorอุทิศ สุภาพ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-06-10T01:24:44Z-
dc.date.available2021-06-10T01:24:44Z-
dc.date.issued2534-
dc.identifier.isbn9745791253-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73778-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534-
dc.description.abstractโรคพิษสุนัขบ้าเป็นปัญหาสำคัญต่อประเทศไทย ทำให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินเป็นอันมาก มาตรการในการป้องกันและควบคุมจะต้องประกอบไปด้วยมาตรการที่สำคัญ เช่น มาตรการทางสาธารณสุข มาตรการทางกฎหมาย เป็นต้น สำหรับมาตรการทางกฎหมายนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะส่งผลให้การป้องกันและควบคุมโรคนี้สัมฤทธิผลลงได้ ซึ่งจะต้องมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดประสิทธิ ภาพในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงนโยบายของรัฐ มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในด้านเนื้อหา และการบังคับใช้ รวมทั้งแนวทางการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม สอดคล้องกับหลักวิชาการ การปฏิบัติงาน และใช้ทฤษฎีทางกฎหมายมาสนับสนุนด้วย ได้แก่ 1) ทฤษฎีอำนาจรัฐ 2) ทฤษฎีบริการสาธารณะ 3) ทฤษฎีการลงโทษ และ 4) ทฤษฎีการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อ ให้มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าได้ วิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยอกสาร เป็นหลักและการวิจัยภาคสนาม ได้แก่ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์มาสนับสนุนการวิจัยเอกสาร ผล การวิจัยพบว่า 1. มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ พ.ร.บ. ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2498 ยังมีเนื้อ หาบกพร่องไม่เหมาะสมสอดคล้องกับหลักวิชาการและแนวทางปฏิบัติ เช่น มีเนื้อหาแคบ ครอบคลุมเฉพาะ สุนัขบ้าเท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงสัตว์นำโรคอื่นด้วย การกำหนดหน้าที่ของเจ้าของในการฉีดวัคซีนป้องกันยังไม่ ชัดเจนเพราะไม่กำหนดอายุของสัตว์ที่จะต้องนำมาฉีดวัคซีนไว้ อำนาจเจ้าพนักงานไม่เพียงพอ ขาดมาตรการ ควบคุมภายหลังการรับเชื้อ บทกำหนดโทษน้อยเกินไป จึงสมควรปรับปรุงในด้านเนื้อหาให้ทันสมัยเหมาะสม และรัดกุม เกิดประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น 2. การบังคับใช้กฎหมายขาดประสิทธิภาพเนื่องจากตาม พ. ร. บ. ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2498 กำหนดให้มีหน่วยงานหลายหน่วยงานมาใช้กฎหมายร่วมกัน และยังมีกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกระจัดกระจายอยู่หลายฉบับซึ่งมีเนื้อหาไม่สอดคล้องกัน จึงส่งผลให้หน่วยงานขาดการประสานงานกัน ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน ต่างคนต่างทำ ไม่เป็นแนวเดียวกันและกระทำไม่ต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถที่จะป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าให้สงบลงได้ จึงสมควรที่จะยกเลิกกฎหมายต่าง ๆ เหล่านั้น แล้วนำมารวมไว้ฉบับเดียวกันและจัดตั้ง องค์กรเพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางการประสานงานระหว่างหน่วยงานในรูปแบบคณะกรรมการไว้ในกฎหมายโดยประกอบด้วยผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมบริหารกฎหมาย เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายและ การประสานงานระหว่างหน่วยงานดีขึ้น-
dc.description.abstractalternativeRabies is a major problem of Thailand causing a substantial loss of lives and property. The legal and public health measures should be used together for the prevention and control of Rabies. It is confident that the appropriate legal measures is in particular to make the Rabies prevention and control successful. The objective of this research is to study the government policies, the contents and the enforcement of legal measures related to Rabies control together with its possible ways of revision so as to make it be more in line with modern technique and current actual practices. The main conclusions of this study were as follows: 1. The revision of The Rabies Prevention Act 1955 is needed due to the inappropriate contents, namely the limited animal enforcement which covers only dogs but other carriers such as cats and livestocks are neglected, the unclear definition of dog owners’ duties because of the lack of dog’s age definition for obtaining Rabies vaccination, the insufficient power of officers in charge, the lack of infected animal control measures and the insufficiently slight punishment. 2. The enforcement of the above mentioned act is regarded ineffective since officers in charge defined to work under are from many agencies without the establishment of the central coordinating unit and the many other Rabies laws that contain conflicted contents have substantially caused problems of unintegration, unpursuance and duplication of law implementation. The Rabies Prevention Act 1955 and other conflicted Rabies laws must all be abolished and combined into a new integrated Rabies law with the establishment of central coordinating or executive unit. In order to obtain effective and unity of enforcement, the executive board should consist of representative from various related agencies concerned.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโรคพิษสุนัขบ้า -- การป้องกันและควบคุม-
dc.subjectโรคพิษสุนัขบ้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ-
dc.subjectRabies -- Prevention and control-
dc.subjectRabies -- Law and legislation-
dc.titleมาตรฐานทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า-
dc.title.alternativeLegal measures for the prevention and control of rabies-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Utid_su_front_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Utid_su_ch1_p.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Utid_su_ch2_p.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open
Utid_su_ch3_p.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open
Utid_su_ch4_p.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open
Utid_su_ch5_p.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open
Utid_su_ch6_p.pdf892.21 kBAdobe PDFView/Open
Utid_su_back_p.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.