Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73982
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิพัฒน์ พัฒนผลไพบูลย์-
dc.contributor.authorราตรี ภารา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-06-22T06:52:43Z-
dc.date.available2021-06-22T06:52:43Z-
dc.date.issued2536-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73982-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en_US
dc.description.abstractศึกษาการกระจายความหนาแน่นของราก และลักษณะสมบัติบางประการของดินในสวนยางพาราบริเวณพื้นที่ลาดชัน 4 ระดับ คือพื้นที่ราบ พื้นที่ลาดชันน้อย พื้นที่ลาดชันปานกลาง และพื้นที่ลาดชันสูง ในอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ soil block ยางพาราเป็นไม้ยืนต้นที่มีระบบรากตื้น การกระจายของรากของรากยางพาราในแนวดิ่งพบว่า ความหนาแน่นของรากจะลดลงเมื่อพื้นที่มีความลาดชันสูงขึ้น โดยพื้นที่ราบมีความหนาแน่นของรากมากกว่าพื้นที่ลาดชันสูง การกระจายความหนาแน่นของรากในพื้นที่ราบจะมีค่ามาก ที่ระดับความลึก 0-40 เซนติเมตรจากผิวดิน แต่ในพื้นที่ลาดชันน้อย พื้นที่ลาดชันปานกลางและพื้นที่ลาดชันสูง รากส่วนใหญ่จะมีความหนาแน่นมากที่ระดับความลึก 20 เซนติเมตรจากผิวดิน ในทุกพื้นที่การกระจายความหนาแน่นของรากจะแตกต่างกันไปตามความลึกของดิน กล่าวคือ เมื่อความลึกเพิ่มขึ้นรากจะมีความหนาแน่นลดลง การกระจายของรากในแนวนอนพบว่ารากมีความหนาแน่นมากที่บริเวณโคนต้น และจะลดน้อยลงเมื่อระยะทางห่างออกไปจากโคนต้น โดยในพื้นที่ราบความหนาแน่นของรากจะค่อย ๆ ลดลงเมื่อระยะทางห่างจากโคนต้นเพิ่มขึ้นขึ้น ความหนาแน่นของรากนอกจากจะขึ้นกับความลึกและระยะทางห่างจากโคนต้นแล้ว ยังสัมพันธ์กับลักษณะสมบัติของดินคือความหนาแน่นของรากจะลดลงเมื่อความหนาแน่นรวมของดิน ปริมาณอนุภาคดินเหนียวความสามารถในการดูดยึดน้ำของดินสูงขึ้น และปริมาณอินทรียวัตถุในดินลดลง เมื่อพิจารณาถึงลักษณะสมบัติดินในพื้นที่ลาดชันทั้ง 4 ระดับจะเห็นได้ว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกันคือลักษณะเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนและดินร่วนเหนียว ความหนาแน่นรวมของดินจะเพิ่มขึ้นเมื่อระดับความลึกพิ่มขึ้น ความสามารถในการดูดยึดน้ำได้ของดินลดลงเมื่อระดับความลึกเพิ่มขึ้น ดินมีลักษณะเป็นกรดอ่อนในขณะที่ปริมาณอินทรียวัตถุในดินจะมากที่สุดบริเวณผิวดินและลดลงตามความลึกของดิน-
dc.description.abstractalternativeRoot density distribution and some soil properties on the rubber tree (Hevea brasiliensis) plantation were studied in four levels of slope; flat, gentle slope, moderate slope and steep slope, at Amphoe Phipun, Changwat Nakorn Si Thammarat by using soil block sampling technique. The rubber tree has shallow root system. Vertical distribution of root density decreased as the slope of area increased. The root density in flat area was higher than in steep slope area. The highest root concentration was found in flat area at 0-40 cm from soil surface. In gentle, moderate and steep slope area, the highest root density was at the depth of 20 cm from the surface. Furthermore, all areas the root distribution differed according to depth; the depth increased, the root density decreased. In the horizontal, distribution of roots was mostly dense at the bases of trunk and decreased with the distance from the bases. The root density in flat area gradually decreased as increasing distance from the bases and the depth of soil. When bulk density, clay content and water holing capacity increased or organic matter of soil decreased, the root density decreased. Soil properties of the four levels of slope were similar both in vertical and horizontal. Most of soil texture is loam and clay loam. The soil bulk density is higher with depth. The soil is weak acidity while organic matter is higher at the top of ground.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectต้นยาง -- รากen_US
dc.subjectต้นยาง -- ดินen_US
dc.subjectHevea brasiliensis -- Rootsen_US
dc.subjectHevea brasiliensis -- Soilsen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการกระจายความหนาแน่นของราก ความลาดชันและลักษณะสมบัติบางประการของดิน บริเวณพื้นที่สวนยางพาราen_US
dc.title.alternativeRelationships between root density distribution, slope and some soil properties in rubber tree (Hevea brasiliensis) plantation-
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ratree_pa_front_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Ratree_pa_ch1_p.pdf761.22 kBAdobe PDFView/Open
Ratree_pa_ch2_p.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open
Ratree_pa_ch3_p.pdf3.35 MBAdobe PDFView/Open
Ratree_pa_ch4_p.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Ratree_pa_ch5_p.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open
Ratree_pa_ch6_p.pdf766.54 kBAdobe PDFView/Open
Ratree_pa_back_p.pdf5.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.